วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551

สุดยอดแห่งเหรียญพระสงฆ์ เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม


หากจะพูดถึงเหรียญพระสงฆ์ที่แพง ที่สุด ในประเทศไทย คนส่วนใหญ่จะนึกถึง เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ส่วนอันดับต่อไปคือ เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม ต. ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งจัดได้ว่าเป็นสุดยอดของเหรียญพระสงฆ์

พระอุปัชฌาย์ กลั่น ธมฺมโชติ หรือที่เรียกกัน ติดปากสั้นๆ ว่า หลวงพ่อกลั่น นั้น ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๐ ตรงกับปีมะแม ที่ ต.อรัญญิก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ทั้งพ่อและแม่มีฐานะยากจน

เมื่อสมัยเด็ก หลวงพ่อกลั่นต้องออกทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างทั่วไป เพื่อเลี้ยงชีพและส่งเสริมครอบครัวจนกระทั่งถึงวัยหนุ่ม ท่านใช้ชีวิตแบบตัวตนคนเดียว เร่ร่อน และรับจ้างทำงานไปเรื่อยๆ ทำให้หลวงพ่ออุปัชฌาย์ กลั่น กลายเป็นคนแข็งแรง บึกบึนและเด็ดเดี่ยว ต้องต่อสู้จนมีชื่อเสียงในหมู่นักเลงว่าหนังเหนียว จนกระทั่งอายุครบ ๒๗ ปี ประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๗ จึงตัดสินใจบวช ณ วัดประดู่ทรงธรรม ได้ฉายาว่า "ธมฺมโชติ" ซึ่งหมายความว่า "เป็นผู้สร้างในทางธรรมหรือเจริญรุ่งเรืองในธรรม"

หลวงพ่อกลั่น เป็นพระพูดน้อย สมถะ ได้ศึกษาวิชาอาคม จากสำนัก วัดประดู่ทรงธรรม และสำนักอื่นๆ กิตติคุณที่ปรากฏเล่าขานกันมากคือ หลวงพ่อมีความเมตตาสูง แม้แต่อีกาตาแวว สัตว์ที่ปราดเปรียวไม่เคยไว้วางใจ ใครยังเชื่อง และพากันมาอาศัย อยู่ภายในวัดนับสิบๆ ตัว ทุกเช้า-เพล จะมาคอยหลวงพ่อกลั่น รอความเมตตา จากหลวงพ่อท่านเป็นกิจวัตรประจำวัน

มีเรื่องกล่าวขานกันมากอีกเรื่องหนึ่งคือ วันหนึ่งชาวจีนมาขอน้ำมนต์ โดยนำไหใส่น้ำมาตั้งไว้ใกล้ๆ ตัว เพื่อจะมอบให้หลวงพ่อกลั่น คนจีนจึงตะโกนบอกว่า "อยากให้หลวงพ่อทำน้ำมนต์ให้" หลวงพ่อกลั่นจึงตอบกลับไปว่า "น้ำมนต์ทำให้แล้วอยู่ในไหนั่นไง" คนจีนคนนั้นชักฉุนจึงพูดทำนองว่า "ท่านอาจารย์ยังไม่ได้เป่าคาถา จุดเทียนหยดในน้ำจะบอกว่าทำน้ำมนต์ให้แล้วยังไง"

หลวงพ่อกลั่นจึงพูดลอยๆ ว่า "ไม่เชื่อก็ตามใจ"

คน จีนได้ยินดังกล่าวเกิดความไม่พอใจ โมโหมาก จึงลากลับ พอได้โอกาสจึง คว่ำไหที่เตรียมมาปรากฏว่า น้ำที่ใส่อยู่ในไหกลับไม่ยอมไหลออกมาจากไห คนจีนดังกล่าวเห็นดังนั้น จึงเข้าไปกราบขอขมากับ หลวงพ่อกลั่น นี่คือเหตุการณ์ที่ทำให้หลวงพ่ออุปัชฌาย์กลั่นยิ่งดังมากในยุคนั้น

ในการสร้างเหรียญหลวงพ่อกลั่น ทางวัดสร้างเพื่อนำปัจจัยไป ซ่อมแซมอุโบสถที่เก่าและชำรุดมากใน พ.ศ. ๒๔๖๙ ด้านหน้าระบุไว้ว่า "หลวงพ่ออุปัชฌาย์ กลั่น วัดพระญาติ" "พ.ศ. ๒๔๖๗" ด้านหลังระบุ "ที่รฤกในการปฏิสังขรณ์อุโบสถ"

ในการสร้างคราวนั้น มีการสร้างเนื้อพิเศษคือ เงินหน้าทอง ประมาณ ๑๒ เหรียญ เงินหน้านากประมาณ ๒๕ เหรียญ เงินประมาณ ๑๐๐ เหรียญ เหรียญทองแดงมีประมาณ ๓,๐๐๐ เหรียญ และในสมัยนั้นมีการจัดให้ทำบุญคือ เงินหน้าทองทำบุญ ๑๕ บาท ได้รับ ๑ เหรียญ และเงินหน้านากทำบุญ ๑๐ บาท ได้รับ ๑ เหรียญ เงินล้วนทำบุญ ๕ บาท ได้รับ ๑ เหรียญ ส่วนทองแดง ทำบุญ ๑ บาท ได้รับ ๑ เหรียญ เงินทำบุญทั้งหมดนำไปซ่อมแซมอุโบสถ

สำหรับจำนวนการสร้างเหรียญแต่ละชนิดนั้น มีอยู่ในบันทึกวัด พระญาติ โดยหลวงพ่ออั้น เจ้าอาวาสองค์ถัดมา ซึ่งหลวงพ่ออั้นเป็น ผู้ดำเนินการจัดสร้างให้หลวงพ่อกลั่นปลุกเสก

ค่านิยมในปัจจุบัน ในเหรียญเงินหน้าทองและ หน้านาก เท่านั้นพบเจอในวงการ การเปลี่ยนมือกันค่อนข้างน้อยแต่ที่แน่ๆ ในเหรียญสวยๆ ต้องมีราคาประมาณ ๓-๔ ล้านบาทอย่างแน่นอน ส่วนเหรียญเงินหากสวยๆ ก็ต้องมีเกือบ ๓ ล้านบาทเช่นกัน เพราะเดี๋ยวนี้ขนาดเหรียญ เมื่อทองแดง กะไหล่ทองสวยๆ ล่าสุดซื้อขายกันในราคาประมาณ ๒ ล้านกว่าบาท แล้วจะไม่ได้ชื่อว่าเป็น เหรียญที่แพงที่สุดใน ประเทศไทยได้อย่างไร และยังมีเหรียญที่ไม่ได้กะไหล่ทองอีกราคา ก็พอๆ กับเหรียญมีกะไหล่ทองเช่นกัน

เหรียญหลวงพ่อกลั่นจัดได้ว่าเป็นเหรียญ ที่มีค่านิยมมานานมาก แล้วจะไม่มีเก๊ได้อย่างไร การทำปลอมออกมาจึงเป็นเรื่องธรรมดา เหรียญหลวงพ่อกลั่นนี้น่าจะ มีการทำปลอมขึ้นมาไม่ต่ำกว่า ๒๐-๓๐ ปี การเช่าหาควรระวังเป็นพิเศษ ว่ากันว่าหากเจอเหรียญหลวงพ่อกลั่น ๑,๐๐๐ เหรียญ จะมีของแท้ เพียงแค่เหรียญเดียว หากคุณต้องการเหรียญหลวงพ่อกลั่นสักเหรียญ ควรปรึกษาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจะดีที่สุด

แหม...เกือบลืมบอกไป เหรียญที่นิยม เขาเรียกกันว่า รุ่น "ขอเบ็ด" เนื่องจากปลายยันต์ด้านหลัง มีลักษณะคล้ายๆ "ขอเบ็ดตกปลา" พบในเหรียญรุ่นแรก ซึ่งสร้างในปี ๒๔๖๙ เพียงรุ่นเดียว เหรียญรุ่นนี้มีการทำปลอมมากที่สุด ด้วยเหตุที่ราคาสูงถึง ๒-๓ ล้านบาท

ส่วนรุ่นถัดมานั้น ด้านหน้าใช้พิมพ์เดิมส่วนด้านหลังแกะพิมพ์ใหม่ มี ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์เสี้ยนตอง และพิมพ์หลังเรียบ เหรียญทั้ง ๒ รุ่นนี้ มีจุดสังเกตง่ายๆ คือ ด้านหน้ามีตุ่มก้อนที่เกิด จากการใช้บล็อกเดิมที่ขึ้นสนิม หรือที่วงการพระเครื่องเรียกว่า ขี้กลาก ทั้ง ๒ พิมพ์นี้สร้างหลังจาก ท่านมรณภาพไปแล้ว แต่ก็ยังได้รับความนิยม เหรียญในสภาพสวยๆ ราคาอาจจะสูงกว่า ๑ แสนบาท

พุทธคุณ แคล้วคลาด คงกระพันเมตตามหานิยม แต่ที่ดังสุดๆ ของท่านคือ ความเหนียว ที่เชื่อกันว่าของท่านดีจริงๆ

ที่มา : http://www.komchadluek.net/column/pra/2005/01/10/02.php

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

พระพุทธรูป ภ.ป.ร

พระพุทธรูป ภ.ป.ร. มีต้นกำเนิดมาจากพระพุทธรูปฉลองเจ็ดสิบสองปีศิริราช ที่สร้างขึ้นในโอกาสจัดงานฉลองครบรอบ 72 ปี ศิริราชพยาบาล เมื่อ พ.ศ. 2505 โดยมีพระธรรมจินดาภรณ์ วัดราชบพิตร ผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านพุทธศิลปและการสร้างพระพุทธรูปเป็นผู้ออกแบบร่วมกับ นายโต ขำเดช ช่างปั้นพระพุทธรูปประจำโรงงานหล่อพระของนางฟุ้ง อันเจริญ บ้านช่างหล่อ ย่านฝั่งธนบุรีซึ่งเป็นช่างหล่อ พระพุทธรูป ฝีมือดีคนหนึ่งในยุคนั้น

พระพุทธรูปฉลองเจ็ดสิบสองปีศิริราช จัดสร้างเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร มีพุทธลักษณะงดงามมากคล้ายพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย ประทับนั่งเหนือฐานบัวค่ำบัวหงาย แบบฐานบัว สมัยสุโขทัย(ถอดแบบจากองค์รองรับอีกชั้นหนึ่งได้จัดสร้างขึ้นเป็น 2 ขนาด คือขนาดหน้าตักกว้าง 4 นิ้ว และขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว รวม 230 องค์ พระพุทธรูปปางประทานพรของศิริราชพยาบาลดังกล่าวข้างต้นนี้ นับเป็นต้นแบบของพระพุทธรูป ภ.ป.ร.โดยแท้

ต่อมาในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทอดพระกฐินต้น ณ วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ 2506 ทางวัดโดยพระเทพมงคลรังษี เจ้าอาวาสในขณะนั้น พร้อมด้วยคณะกรรมการวัด มีความเห็นร่วมกันว่าสมควรสร้างพระพุทธรูปปางประทานพรไว้เป็นที่ระลึก และเพื่อให้ประชาชนได้มีไว้สักการะบูชา โดยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติ อัญเชิญตราพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ประดับบนเหนือผ้าทิพย์ ขององค์พระพุทธรูปด้วย ซึ่งก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราช ทานพระบรมราชานุญาติให้ตามความประสงค์ของทางวัด

พระพุทธรูปของวัดเทวสังฆาราม ที่สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2506นี้ ได้ใช้แบบพระพุทธรูปฉลอง เจ็ดสิบสองปี ศิริราชเป็นหลัก โดยพระธรรมจินดาภรณ์เป็นผู้คิดแบบ และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมแบบเล็กน้อย เช่นการแก้พระหัตถ์ขวาที่พาดลงเป็นให้นิ้วพระหัตถ์กระดิกขึ้นพระวรกายและพระ พักตร์ งามกว่าเดิม และให้ออกไปทางแบบพระพุทธปฏิมาแลดูสง่าและงดงามยิ่งขึ้น

พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ปี พ.ศ. 2506 ของทางวัดสังฆรามนี้ได้นำ เอาพุทธลักษณะที่ดีเด่น ของพระพุทธรูปทั้งสามสมัย ของลังกา,เชียงแสน และสุโขทัย มาร่วมผสมผสานกัน สร้างเป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง เหนือดอกบัวค่ำและบัวหงายบนฐานเท้าสิงห์พาดพระหัตถ์ขวาหงายบนพระเพลาอันหมายถึงปางประทานพร ประดับพระทิพย์ด้วยตราพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. นับเป็นพระพุทธรูปแบบใหม่พิเศษแห่งยุคปัจจุบัน ที่มีสัญญลักษณ์ขององค์พระพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ อันเป็นมิ่งขวัญและหลักชัยของชาติรวมอยู่ด้วยอย่างพร้อมบูรณ์นับเป็นก้าวใหม่และก้าวสำคัญของการพัฒนา การสร้างพระพุทธรูปในประเทศไทย และสมควรอย่างยิ่งที่จะยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูป สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคปัจจุบันโดยแท้

พระพุทธรูป ภ.ป.ร. จึงถือ กำเนิดขึ้นมา โดยนัยนี้

พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ของวัด เทวสังฆาราม สร้างขึ้นเป็นพิเศษเพื่อประดิษฐานไว้ที่วัดเอง ขนาดหน้าตักกว้าง 22 นิ้ว 1 องค์ และ น้อมเกล้า ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขนาดหน้าตักกว้าง 12 นิ้ว1 องค์ส่วนที่สร้างสำหรับประชาชนนำไปสักการะบูชา มี 2 ขนาด คือขนาดหน้าตัก กว้าง 9 นิ้ว และ 5 นิ้ว จำนวนที่สร้างขึ้นรวมหมดทุกขนาดในคราวนั้นจำนวน 3,618 องค์ การหล่อสร้างองค์พระได้สำเร็จลุล่วงบริบูรณ์ โดยได้ทำพิธีปลุกเสก ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2507 และเริ่มแจกจ่ายให้ประชาชนที่สั่งจอง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ 2507 เป็นต้นไปจึงนับได้ว่าเป็นการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ครั้งแรกอย่างแท้จริง

พระพุทธรูป ภ.ป.ร. วัดเทวสังฆารามสร้างขึ้นให้ประชาชนเช่าบูชา 2 ขนาดคือ ขนาด 9 นิ้ว หล่อแบบแยกองค์กับฐานเป็น 2 ชิ้น ราคาเช่าบูชา 1,600 บาท ส่วนขนาด 5 นิ้ว หล่อแบบชั้นเดียว ราคาราคาเช่าบูชา 500 บาท

ต่อ มาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้นำพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ของวัดเทวสังฆาราม ไปพระราชทานแก่ทหาร-ตำรวจหน่วยราชการต่างๆฯลฯ รวมหลายแห่ง เป็นที่ชื่นชอบยินดีกันเป็นอันมาก สมเด็จพระศรีนครินทราฯจึงได้พระราชทานพระดำริว่าน่าจะได้มีการหล่อสร้างพระ พุทธรูป ภ.ป.ร. ขึ้นอีก ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อสนองความต้องการของผู้ศรัทธา

โดยเหตุนี้จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขึ้นอย่างเป็นทางการ จัดเป็นงานระดับชาติเมื่อเดือนกันยายน 2507 มีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ร่วมด้วยกรรมการจากหน่วยราชการและสถาบันต่างๆอีกกว่า 50 คน แล้วตั้งเป็นคณะอนุกรรมการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ฝ่ายต่างๆขึ้นอีกหลายคณะ คือ อนุกรรมการ ฝ่ายอำนวยการ อนุกรรมการฝ่ายโฆษณา อนุกรรมการฝ่ายพิธี อนุกรรมการฝ่ายการเงิน อนุกรรมการฝ่ายตรวจและควบคุมการก่อสร้างอีกรวม 100 คน เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้

วัตถุประสงค์ของการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. เป็นครั้งที่ 2 ก็เพื่อนำรายได้ทูลเกล้าฯถวายเพื่อบูรณะพระโอสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห็อันเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่กับพระพุทธชินราช และเป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับขณะทรงผนวช ส่วนหนึ่งเพื่อสร้างโรงเรียนสำหรับเด็กขึ้นที่วัดสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี อันเป็นพระอารามที่เริ่มดำริสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้น ส่วนหนึ่ง เพื่อพระราชทานแก่องค์การสาธารณกุศลตามพระราชอัธยาศัยส่วนหนึ่ง

ในการนี้ คณะกรรมการได้ กำหนดการหล่อสร้าง แบ่งออกเป็น 3 ขนาดด้วยกัน และกำหนดราคาการสั่งจองดังนี้

  1. พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว รมดำ องค์ละ 1,600 บาท
  2. พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว รมดำ องค์ละ 500 บาท
  3. พระกริ่ง ภ.ป.ร. สัมฤทธิ์ รมดำ องค์ละ 50 บาท

ต่อมาก็ได้มีประกาศเชิญชวนให้ข้าราชการ และประชาชนสั่งจองกันอย่างกว้างขวางแพร่หลายทั่วราชอาณาจักร ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งในหน่วยราชการ องค์การและสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพระพุทธศาสนา ช่วยดำเนินการรับจองกันเป็นงานใหญ่ยิ่งจริงๆ กำหนดเขตรับจองครั้งแรก ภายในเดือนมีนาคม 2508 ต่อมาก็ขยายเวลาจองออกมาเป็นถึง 30 มิถุนายน 2508 ในที่สุดก็เลื่อนออกมาจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2508

ปรากฏว่ามีผู้สั่งจองกันอย่างมากมายเป็นประวัติการณ์ กล่าวคือ พระพุทธรูปขนาดหน้าตัก9นิ้วมีผู้จอง 4,247 องค์ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว มีผู้สั่งจองถึง 21,449 องค์ นับเป็นการสร้างพระพุทธรูปครั้งมโหฬารใหญ่ยิ่งที่สุด ที่เคยมีมาในโลก

พระ พุทธรูป ภ.ป.ร. ที่สร้างขึ้นเป็นรุ่นที่สองนี้ เดิมคณะกรรมการจะจัดสร้างตามแบบพระพุทธรูป ภ.ป.ร.รุ่นแรกที่สร้าง ณ วัดเทวสังฆาราม ทุกประการ แต่เมื่อคณะกรรมการได้นำพระพุทธรูปที่ได้ออกแบบหล่อสร้างแล้วขึ้นทูลเกล้า แก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับพระพุทธลักษณะยิ่งขึ้นด้วยพระบรมราชวินิจฉัยของพระองค์ เอง โดยมอบให้นายไพฑรูย์ เมื่องสมบูรณ์ นายช่างศิลป์กรมศิลปากรเป็นผู้ปั้นหุ่นพระพุทธรูปขนาดหน้าตัก 9 นิ้วขึ้นใหม่ ได้ทรงควบคุมการปั้นหุ่น ให้อยู่ในพระบรมราชวินิจฉัยโดยตลอด

พระพุทธรูป ภ.ป.ร. รุ่นสองนี้จึงนับได้ว่าเป็นพระพุทธรูป ภ.ป.ร.อย่างสมบูรณ์แบบจริงๆ นับได้ว่าพระราชทานกำเนิดพระพุทธรูปแบบรัชกาลที่9 ไว้เป็นอนุสรณ์แก่ชาวพุทธในราชอาณาจักรไทย สืบไปชั่วกาลนาน

พระพุทธรูป ภ.ป.ร. รุ่นสำคัญที่ทรงมีพระราชวินิจฉัยแก้ไขนี้มีพุทธลักษณะคล้ายคลึงใกล้เคียงไปทางพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นอันมาก จึงแตกต่างจากพระพุทธรูป ภ.ป.ร.รุ่นแรก ที่สร้าง ณ วัด เทวสังฆาราม กาญจนบุรี

นอกจากนี้ยังได้พระราชทานภาษิต สำหรับจารึกไว้ที่ฐานด้านหน้าเพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของชาติว่า "ทยุย ชาติยา ส สมาคุติ สติสญุชานเนน โภชิสิย รกุชนุติ" คนชาติไทยจะรักความเป็นไทอยู่ ได้ด้วยมีสติสำนึกอยู่ในความสามัคคี ส่วนที่ฐานด้านหลังมีแผ่นจารึกประกอบฐานด้วยข้อความว่า "เสด็จพระราชดำเนินพิธีหล่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508"

ฉะนั้น พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ที่สร้างครั้งใหญ่คราวนี้ จึงถือได้ว่าเป็นสัญญลักษณ์ของ ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ครบบริบูรณ์พระพุทธรูปองค์นี้จึงมีคุณค่าทั้งทางศิลปะ ประติมากรรม ทางประวัติศาสตร์ และทางคุณธรรมแห่งจิตใจ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไป ทรงเป็นประธานไปในพิธีพุทธาภิเษกและปลุกเสกโลหะต่างๆ ที่จะนำไปหล่อพระพุทธรูป ภ.ป.ร. เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2508 แล้วเสด็จไปทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปรุ่นนี้ ณ วัดบวรนิเวศวิหารเมื่อเย็นวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508

เนื่องจากพระพุทธรูปรุ่น ภ.ป.ร.รุ่นวัดบวรนิเวศวิหาร มีผู้พร้อมใจกันสั่งจองมากมายเป็นประวัติการณ์รวมจำนวนทั้งสิ้นถึงกว่า 25,000 องค์ ประกอบกับการดำเนินงานเป็นไปอย่างล่าช้าไม่ทันใจผู้จอง เวลา 3-4 ปีผ่านไปยังไม่มีวี่แววว่าจะได้รับพระพุทธรูปที่จองกันได้ง่ายๆจนถึงกับมี การต่อว่าต่อขานกันผ่านทางหน้า หนังสือพิมพ์ เมื่อการเลือกตั้ง ปี พ.ศ.2512 ผ่านไป ก็มีสมาชิกสภาผู้แทนตั้งกระทู้ถามในสภาถึงเรื่องการสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. นี้ ฉะนั้นพระพุทธรูป ภ.ป.ร. จึงต้องหล่อสร้างสำเร็จทะยอยออกมาเป็นรุ่นๆ มีการประกอบพิธีพุทธาภิเษกต่างกรรมต่างวาระกันไป เฉพาะอย่างยิ่งองค์ขนาดเล็กหน้าตัก 5 นิ้วนั้น รุ่นหลังต่อมาคณะกรรมการต้องมอบให้กรมธนารักษ์ สั่งซื้อเครื่องมือหล่อโลหะ ตามกรรมวิธีสมัยใหม่เข้ามาใช้เป็นครั้งแรก เพื่อหล่อสร้างให้เสร็จรวดเร็วทันต่อความต้องการของผู้จอง ซึ่งเป็นจำนวนกว่า 20,000องค์

การหล่อสร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ครั้งมโหฬารนั้นจึงต้องใช้เวลาดำเนินการนานถึง 7-8 ปีกว่าจะสำเร็จสิ้นลงไปหมด

นอกจากนั้นการหล่อสร้างตามจำนวนจองรุ่นสองนี้ ถึงกว่า 25,000 องค์แล้ว ทราบว่าทางวัดบวรนิเวศวิหารยังได้ขอพระราชทานพระบรมรานุญาติหล่อสร้างเป็น การพิเศษเพิ่มเติม เพื่อการหารายได้มาใช้จ่ายในการปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารเป็นการต่างหาก โดยเฉพาะอีกส่วนหนึ่งด้วย

พระพุทธรูป ภ.ป.ร. ปี พ.ศ. 2508 จึงนับว่าเป็นพระพุทธรูปที่ยิ่งใหญ่ มีจำนวนมากมายมหาศาลยิ่งกว่า พระพุทธรูปแบบอื่นใดทั้งสิ้นเท่าที่เคยมีการหล่อสร้างกันมาจากสมัยอดีต โบราณตราบกระทั่งถึงกาลปัจจุบัน

ในวงการนักนิยมสะสมพระทุกวันนี้ ถือกันว่าใครไม่มีพระพุทธรูป ภ.ป.ร.ไว้สักการะบูชาถือว่าไม่ใช่นักเลงพระอย่างแม้จริง

พระพุทธรูปที่มีความสำคัญอย่างยิ่งอีกองค์หนึ่ง ในรัชกาลปัจจุบันทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริให้มีการสร้างขึ้นอีกองค์หนึ่งคือพระพุทธนวราชบพิต เพื่อทรงพระราชทานให้ประดิษฐาน ประจำจังหวัดต่างๆ เพื่อให้ราษฎรของพระองค์ท่านได้สักการะ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและศูนย์รวมน้ำใจของราษฎร

พระพุทธนวรราชบพิตร
พระพุทธนวรราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 23 ซม. สูง 40 ซม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะให้สร้างขึ้น เพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่างๆ ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาเขต เมื่อ พ.ศ. 2509 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายไพฑูรย์ เมื่องสมบูรณ์ ข้าราชการกองหัตถศิลปกรมศิลปากร เข้ามาปั้นหุ่นพระพุทธปฏิมากรนี้ในพระราชฐาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และได้ทรงตรวจพระพุทะลักษณะของพระปฏิมานั้นจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้นายช่างเททองหล่อพระพุทธรูปนั้นขึ้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2509 และได้โปรดเกล้าฯให้ขนานพระนามพระพุทะรูปนั้นว่า "พระพุทธนวราชบพิตร"

ที่ฐานบัวหงายของพระพุทธนวราชบพิตรนั้น ได้ทรงบรรจุพระพุทธรูปพิมพ์ไว้ 1 องค์ (พระพิมพ์พิจิตรลดา อันพระพุทธรูปพิมพ์นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างขึ้นด้วยพระหัตถ์ ประกอบด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทั้งในองค์พระและจากจังหวัดต่างๆ ทุกจังหวัด ดังที่มีรายละเอียดอยู่ตอนท้ายนี้

พระพุทธรูปนวราชบพิตร นั้นนอกจากจะเป็นนิมิตรหมายแห่งคุณพระรัตนตรัย อันเป็นที่เคารพบุชาสูงสุดแห่งพุทธศานิกชนทั่วไปแล้วยังเป็นนิมิตหมายแห่ง ความผุกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์พระมหากษัตราธิราชกับบรรดาพสกนิกร ของพระองค์ ในทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรและพระพุทธรูปพิมพ์ซึ่งได้บรรจุไว้ที่ฐานบัว หงายนั้น ก็ประกอบด้วยวัตถุศักดิ์สิทธิ์ต่างๆอันศาสนิกชนทั่วราชอาณาจักรได้ปกิบัติชุ ชาสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน พระพุทธนวราชบพิตร จึงเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค๋หนึ่งในรัชกาลปัจจุบันจึงเห็นควรวาง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับพระพุทธนวราชบพิตรไว้ดังต่อไปนี้

  1. เมื่อจังหวัดใดได้รับพระราชทานไปแล้ว ให้ประดิษฐานพระพุทธรูปนั้นไว้ ณ ที่อันควรในศาลากลางจังหวัด
  2. เมื่อทางจังหวัดมีงานพิธีใดๆซึ่งต้องตั้งแต่บูชาพระรัตนตรัยก็ให้อัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตร มาประดิษฐานเป็นพระบูชาในพิธีนั้นๆทั้งนี้ยกเว้นพิธีที่กระทำในโบสถ์ วิหารหรือปูชนียสถานใดๆซึ่งมีพระประธานหรือมีปูนชนียวัตถุอื่นใด เป็นประธานอยู่แล้ว และยกเว้นพิธีซึ่งต้องใช้พระพุทธรูปอื่นเป็นประธานโดยเฉพาะเช่นพระพุทธคันธารราษฎร์
  3. เมื่อ เสด็จพระราชดำเนินไปยังจังหวัดเพื่อทรงเป็นประธานพระราชพิธี หรือพิธีทางจังหวัดก็ดีก็ทำให้ทางจังหวัดอัญเชิญพระพุทธวราชบพิตรมา ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระราชพิธีและพิธีนั้นๆทุกครั้งหากพระราชพิธีหรือ พิธีนั้นๆ กระทำในพระอารามหรือในปูชนียสถาน ซึ่งมีพระประธานหรือปูชนียวัตถุอื่นใดเป็นประธานอยู่แล้ว ก็ให้อัญเชิญพระพระพุทธนวราชบพิตรไปประดิษฐาน ณ ที่บุชาเป็นต่างจังหวัดอีกทีหนึ่ง เพื่อทรงนมัสการ
  4. เมื่อ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ณ จังหวัดให้ทางจังหวัดอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรไปประดิษฐานไว้ ณ ที่บูชา เพื่อทรงนมัสการในพลับพลาหรือที่ประทับซึ่งได้จัดไว้ในกรณีนี้หากห้องที่ เสด็จพระราชดำเนินนั้นห่างไกลจากศาลากลางจังหวัดและเป็นที่ทุรกันดารไม่ สะดวกแก่การคมนาคมหรือการเสด็จพระราชดำเนินนั้นเป็นการเร่งด่วน หรือเพียงเป็นการเสด็จพระราชดำเนินผ่าน ทางจังหวัดจะพิจารณาให้งดเสียก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร
  5. เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปประทับแรม ณ จังหวัดใด ก็โปรดให้ทางจังหวัดอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรมาประดิษฐานไว้ ณ ที่บูชา ในพลับพลาหรือในที่ประทับตลอดเวลาที่ประทับแรมอยู่ และให้อัญเชิญกลับไปยังศาลากลางเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับแล้ว ในการนี้ให้กองมหาดเล็กปฏิบัติเช่นเดียวกับระเบียบแบบแผนที่มีอยู่แล้ว เกี่ยวกับพระชัยนวโลหะประจำราชกาล
  6. หากทางจังหวัดเห็นสมควรจะอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรออกให้ประชาชนได้นมัสการบูชาในงานเทศกาลใดๆก็ให้กระทำได้ตามแต่จะเห็นสมควร อนึ่ง การปิดทองที่องค์พระพุทธรูปนั้นอาจทำให้พระพุทธรุปเสียความงามไปได้บ้าง ถ้าหากทางจังหวัดจะได้ประดิษฐานพระพุทธนวราชบพิตรบนฐานซึ่งทำด้วยวัตถุอันอาจปิดทองได้อีกขั้น หนึ่งให้ประชาชนได้ปิดทองได้ ก็จะเป็นการเหมาะสมยิ่งนัก

นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปที่จัดสร้างขึ้นในยุครัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ประดับพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ไว้ที่ผ้าทิพย์ เช่น พระพุทธชินราชจำลอง ภ.ป.ร. จัดสร้างโดย กองทัพภาคที่ 3 สมัยพลเอกสำราญ แพทยกุล เป็นประธานดำเนินการจัดสร้าง ณ วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. 2516 ทำการปั้นหุ่นโดย ส.จ.อ. ทวี บูรณเฃตต์ ช่างปั้นที่มีชื่อ โดยจัดสร้างจำลองขนาด 9 นิ้ว ลงรักปิดทอง ราคาจอง 3,600 บาท หลังจองราคา 5,500 บาท

พระพุทธรูปปางประทานพร ภ.ป.ร. จำลองจากพระพุทธรูป ภ.ป.ร. ปี พ.ศ. 2508 โดยจำลองจากองค์จริงทุกประการ หรือรูปแบบและขนาดยกเว้นแต่ผ้าทิพย์แทนที่จะเป็นพระปรมาภิไธยย่อภายใต้พระ มหามงกุฏกลับเป็นพระสถูปเจดีย์ แบบพุกรคยา ที่วัดธรรมมงคล และมีพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. เรียงกันเป็นแถวยาวอยู่ใต้ผ้าทิพย์ มีอักษรจารึกว่าโปรดเกล้าให้จำลองพระพุทธรูป ภ.ป.ร. เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 และทรงเสด็จพระราชดำเนินเททอง เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2519 จำนวนที่สร้างให้ประชาชนเช่าบูชา 2 ขนาด คือ 9 นิ้ว จำนวนที่สร้างมีไม่มากนัก

พระพุทธรูปปางประทานพร ภ.ป.ร. แบบยกพระหัตถ์ขวาเหนือพระอุระ ของวัดไทยในนครลอสแองเจลิสได้รับพระราชพระบรมราชานุญาตให้ประดับพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ไว้ที่ผ้าทิพย์ และทรงเสด็จพระราชดำเนินเททองที่วัดโพธิ์เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 เป็นพระพุทธรูปปางประทานพรแบบยกพระหัตถ์ขวาเหนือพระอุระ ที่ฐานจารึกคำว่า "พระพุทธนรเทพศาสดาทิพยนคราภิมงคลสถิต" ส่วนด้านหลังประดับรูปธงชาติไทยและธงชาติสหรัฐอเมริกา ทั้ง 2 ด้านตรงกลางเป็นธรรมจักรและจารึกเป็นภาษาไทยและอังกฤษว่า วัดไทย ลอสแองเจลีส

WAT THAI OF LOS ANGELES สร้างเป็นพระประทานประดิษฐานไว้ ณ วัดไทย ในนครลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา และได้จัดสร้างองค์จำลองขนาด 9 นิ้ว และ 5 นิ้ว ให้ชาวไทยเช่าบูชา ขนาด 9 นิ้ว ราคา 200 ดอลลาร์ ขนาด 5 นิ้ว ราคา 100 ดอลลาร์ เพื่อให้ชุมชนชาวไทยในต่างแดนโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาได้มีโอกาสเช่าบูชาไว้ เพื่อเป็นศิริมงคลประจำบ้าน ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในประเทศไทย จำนวนที่สร้างไม่มากนัก และไม่ค่อนพบเห็นในประเทศไทย จึงเป็นพระพุทธรูป ภ.ป.ร. อีกองค์หนึ่งที่หาชมได้ยาก

ที่มา : http://www.mac.in.th/~pra/sara_05_0004.html

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ข้อมูล ลึก ๆ การสร้างหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน


พระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน บางคลาน จ.พิจิตร จัดเป็นพระรูปหล่อเกจิ องค์แรกสุด ได้รับความนิยมสูงสุดราคาแพงที่สุด

และประวัติการสร้างที่คลุมเครือสับสนมากที่สุด

ในวงการสากลและสื่อพระเครื่องส่วนกลาง ในระบอบพุทธพาณิชย์ ยอมรับกันว่า
พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา สร้างขึ้นเป็นชุดแรก ที่ บางคลาน พิจิตร
ตามด้วยรูปหล่อพิมพ์นิยม ซึ่งยอมรับกันว่า สร้างโดยช่างบ้านช่างหล่อ และมาทำพิธีหล่อที่วัดชนะสงคราม (ข้อมูลจาก อ.เล็ก รูปหล่อ)
ต่อจากนั้น เป็นเหรียญจอบเล็ก สร้างโดย คุณยายวัณ ช่างฝีมือดีแห่งบ้านช่างหล่อ
ส่วนเหรียญจอบใหญ่ เป็นพระโรงงาน ที่โรงงานหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงหลวงพ่อเงิน สร้างมาให้วัด
เพื่อให้วัดออกเช่าบูชาชดเชยการขาดทุนจากการ จ้างหล่อรูปเหมือน ( บางคนเรียกว่ารุ่นล้างหนี้ )

ตามข้อมูล ยอมรับกันว่า พระเหล่านั้น มีการสร้างเพียงอย่างละครั้งเดียว เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไม่มีเสริมนอกจากนั้น สื่อวงการพระเครื่อง มักจะเน้นการเล่าประวัติอภินิหาร ของหลวงพ่อเงิน โดยละเอียดยิบ มีคำพูดโต้ตอบราวกับหนังกำลังภายใน แต่ในทางตรงกันข้าม กลับละเลย ประวัติ การจัดสร้างพระเครื่อง ของ หลวงพ่อเงิน
นั่นอาจจะเป็นเพราะการหาข้อยุติ ไม่ได้ประการหนึ่ง และ จะยิ่งสร้างความสับสนคลุมเครือ ให้เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่ง
โดยความสนใจส่วนตัว ผมพยายาม ติดตามสืบเสาะ ประวัติการจัดสร้าง วัตถุมงคลของหลวงพ่อเงิน และโดยส่วนตัว เห็นว่า หนังสือของ อ. ชัยรัตน์ โมไนยพงศ์ แห่งค่ายลานโพธิ์ เป็นหนังสือที่ น่าเชื่อถือ น่าสนใจมากที่สุด เพราะท่านได้ใช้เวลาในการ สืบเสาะ ค้นคว้าประวัติและวัถุมงคลของหลวงพ่อเงิน ทั้งจากหลักฐานเอกสารและการลงพื้นที่) สัมภาษณ์ ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ นับแต่พ.ศ. 2518-2526 จึงตีพิมพ์หนังสือเป็นรูปเล่ม และมีการปรับปรุงใหม่ ในปี 2535

ในหนังสือฉบับนี้ ทำให้ผมได้รับทราบว่า
พระหลวงพ่อเงิน"พิมพ์ขี้ตา" สร้างที่วัดท้ายน้ำ มีการจัดสร้างกันหลายครั้ง และมีหลายพิมพ์ "
พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา มีช่างจีน หน้าวัด ซึ่งมีแม่พิมพ์อยู่ ได้รับจ้างชาวบ้าน หล่อพระตามสั่ง นอกนากทองเหลืองแล้ว เนื้อหาก็แล้วแต่ออร์เดอร์ ( ไม่ได้บอกช่วงเวลา บอกเพียงว่า มีเรื่อเล่าสืบต่อกันมา )ผมจึงมีข้อสังเกตว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น การเล่นหาที่เป็นสากล จะมีการแยกแยะพิมพ์ทรง รุ่น ให้ถูกต้องได้อย่างไร
เพราะวงการพระสากล เพิ่งจะสนใจเล่นหาพระหลวงพ่อเงิน อย่างคืกคักในราคา 30 ปีที่ผ่านมา ( ราคา พระหลวงพ่อเงิน ปี 2515 ประมาณ 1,000 บาท อย่างสวยๆ มราคาประมาณ 2,000 บาท ข้อมูลจาก จสอ. เอนก เจกะโพธิ์ ) หลังจากได้มีการสร้างแล้วประมาณ 60 ปี โดยเฉพาะพระที่ผ่านการใช้มาอย่างโชกโชน และพระเหล่านั้นก็เชื่อได้ว่า เป็นการ ยืมพิมพ์กันสร้างบ้าง ถอดพิมพ์จากพระองค์สวยๆมาสร้างบ้างหลวงพ่อเงินในความหมายกว้าง

ยิ่งได้มาอ่านบทความของ จสอ. เอนก เจกะโพธิ์ เรื่อง ประวัติ หลวงพ่อเงิน บางคลาน เทพเจ้าและเพชรน้ำเอก ของจังหวัดพิจิตร เก็บข้อมูลจากการ สัมภาษณ์ ท่านพระครู พิทักษ์ ศิลคุณ ( น้อย ) เจ้าคณะอำเภอบางมูลนาก หนึ่งในศิษย์ทีรัใช้หลวงพ่อเงินและเป็น ผู้สร้างพระหลวงพ่อเงิน ให้หลวงพ่อปลุกเสก ( ในหนังสือพระเครื่องกรุงสยาม ฉบับที่ 1 ปี2537 ของเสี่ยอุ๊ กรุงสยาม และตีพิมพ์ซ้ำใน ดัชนีพระ ฉบับที่ 5 ปี 2537 ก่อนยุคเสี่ย กอบชัย )ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็น อาจารย์ปู่ แห่งวงการพระเครื่อง แล้ว ก็ยิ่ง ทำให้ได้รับทราบว่า พระหลวงพ่อเงิน ทุกพิมพ์ ทั้ง นิยม ขี้ตา จอบเล็ก จอบใหญ่ มีการจัดสร้าง กันหลายครั้งหลายคราว หลายวัด หลายกลุ่มบุคคล
และที่หนักกว่านั้น ก็คือ หลังจากหลวงพ่อเงินมรณภาพแล้ว ชาวบ้าน( ช่างแม้น ช่างกรุ่น ชาวบ้านบางคลาน ) ได้มีการสร้างพระหลวงพ่องเงินกันเอง เพื่อสนองดีมานด์ ตั้งแต่ปี 2492 จนถึงปัจจุบัน พระหล่านี้ก็มีอายุปาเข้าไปเกือบ 60 ปี จนเล่นเป็นแท้ ในยระบบสากลกันไปมากแล้วการจัดสร้าง พระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน ตามที่ จสอ. เอนก เจกะโพธิ์ รายงานไว้มีดังนี้ ( อ้างข้อมูลจากท่านพระครู พิทักษ์ ศิลคุณ ( น้อย ) เจ้าคณะอำเภอบางมูลนาก และ นายพริ้ง เข็มครุฑ ( บิดาเพื่อน จสอ.เอนก ) ชาววัดวังตะโก ร่วมยุคหลวงพ่อเงิน )
1. ทางวัดวังตะโก ได้จัดสร้าง พิมพ์ขี้ตา นิยม จอบเล็ก จอบใหญ่ ขึ้น เป็นชุดแรก
2. หลังจากพระหมด ในงานประจำปีวัดวังตะโก เดือน 11 ของทุกปี หลวงพ่อเงิน ให้จัดสร้าง พระหล่อทั้ง 4 ชนิด ขึ้นให้ประชาชนทำบุญ

3.ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ที่เคารพนับถือหลวงพ่อเงิน ได้จัดสร้างรูปหล่อไปจากกรุงเทพบ้าง นำช่างจากกรุงเทพไปหล่อที่วัดบ้าง บ้างก็ยืมแม่พิมพ์จากวัดไปให้ช่างที่กรุงเทพหล่อแล้วกลับมาให้หลวงพ่อปลุก เสก มีทั้งเนื้อทองเหลือง ทองแดง ตะกั่ว สำริด เงิน ทองคำ แล้วแต่ฐานะ

4. พระวัดท้ายน้ำ 1
ซึ่งเป็นวัดที่หลวงพ่อเงินไปๆมาๆและมีพระรูปหล่อเท่าองค์จริงของหลวงพ่อเงินสร้างขณะท่านมีชีวิต
และที่วัดนี้ โดย พระครู วัตฎสัมบัญ ( ฟุ้ง ) ลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงพ่อเงินก็ได้จัดสร้าง พระเครื่องรูปหล่อ ทั้ง 4 ชนิด เช่นเดียวกับวัดวังตะโก ให้หลวงพ่อเงินปลุกเสก ( ต่อมาหลวงพ่อฟุ้งได้เป็นเขจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำและเจ้าคณะอำเภอโพทะเล
5. พระวัดท้ายน้ำ 2
เมื่อหลวงพ่อเงิน จากวัดท้ายน้ำกลับมาอยู่ที่วัดวังตะโก และที่วัดท้ายน้ำ พระเครื่องหมด ทั้ง 4 ชนิด หลวงพ่อฟุ้ง จึงได้ให้ช่างหล่อขึ้นใหม่ทุกพิมพ์ ทั้งนิยม ขี้ตา จอบเล็ก จอบใหญ่ แล้วนำไปให้หลวงพ่อเงินปลุกเสก และกลับมาแจกที่วัดท้ายน้ำ

6. พระหลวงพ่อเงินวัดวังตะโก และวัดท้ายน้ำ บางพิมพ์เหมือนกัน บางพิมพ์ไม่เหมือนกัน บางพิมพ์ขนาดต่างกัน เพราะมิได้สร้างในครางวเดียวกัน ( ผู้เขียนมิได้แสดงภาพประกอบ )

7. นอกจาก 2 วัด ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีอีก 5 วัดที่ได้สร้างพระรูปหล่อและพระอื่นๆให้หลวงพ่อเงิน ปลุกเสก ดังนี้

7.1 วัดหลวง หลวงพ่อหอม ได้สร้างพระ "เนื้อดิน " ล้วนๆ พิมพ์ พิมพ์ นิยม พิมพ์ขี้ตา พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์ซุ้มกอ และพิมพ์สังกัจจายน์
7.2 วัดขวาง สร้างเหนือโลหะ พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม และพิมพ์สังกัจจายน์

7. 3 วัดห้วยเขน พระครูล้อมสร้าง เนื้อโลหะพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม จอบเล็ก จอบใหญ่ และมีพระเนื้อดิน พิมพ์ นั่ง นอน ยืน

7.4 วัดบางมูลนาก พระครูพิทักษ์ ศิลคุณ ( น้อย ) (หมายเหตุ ผู้ให้ข้อมูลแก่ จสอ. เอนก เจกะโพธิ์ ) กับหลวงพ่อพิธ (ก่อนอยู่วัดฆะมัง ท่านจำพรรษาอีกหลายวัด) สร้างพิมพ์นิยม พิมพ์ขี้ตา จอบใหญ่ จอบเล็ก

7.5 วัดคงคาราม หลวงพ่อน้อย (ตาบอด) สร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม โดยจ้างให้ เจ๊กชัย หล่อ
และยังมีพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตา เนื้อดินด้วย

ที่มา : http://www.amulet2u.com/board/q_view.php?c_id=7&q_id=8193&PHPSESSID=8c66862fad6fae79a

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

หลวงปู่เขียว อินทมุนี วัดทรงบล นครศรีธรรมราช

หลวงปู่เขียว อินทมุนี วัดทรงบล นครศรีธรรมราช
รูปของ หลวงปู่เขียว วัดหรงบล

ข้อมูลประวัติ

เกิด ปี 2424 ตรงกับวันอาทิตย์ เดือนยี่ ปีมะเมีย

มรณภาพ ปี 2519 ตรงกับ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 เวลา 05.00 น.

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

วัตถุมงคลที่ท่านได้ปลุกเสกเอาไว้มีหลายชนิด คือ เหรียญ รูปเหมือนปั๊ม รูปเหมือนบูชา พระปิดตาเนื้อผงผสมว่าน

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

เด่นทางด้านคงกระพันชาตรี


รูปของ หลวงปู่เขียว วัดหรงบล
รูปของ หลวงปู่เขียว วัดหรงบล

พระปิดตา หลวงปู่เขียวพระปิดตาเนื้อชิน วัดหรงบล
พระปิดตา หลวงปู่เขียวพระปิดตาเนื้อชิน วัดหรงบล

พระปิดตา หลวงปู่เขียวพระปิดตาเนื้อผง วัดหรงบล
พระปิดตา หลวงปู่เขียวพระปิดตาเนื้อผง วัดหรงบล

พระปิดตา หลวงปู่เขียวพระปิดตาเนื้อผง วัดหรงบล
พระปิดตา หลวงปู่เขียวพระปิดตาเนื้อผง วัดหรงบล

พระปิดตา หลวงปู่เขียวพระปิดตาเนื้อผง วัดหรงบล
พระปิดตา หลวงปู่เขียวพระปิดตาเนื้อผง วัดหรงบล

พระเหรียญ หลวงปู่เขียวเหรียญรุ่นแรกวัดหรงบล ปี 2513
พระเหรียญ หลวงปู่เขียวเหรียญรุ่นแรกวัดหรงบล ปี 2513

พระเหรียญ หลวงปู่เขียวเหรียญรุ่นแรกวัดหรงบล ปี 2513
พระเหรียญ หลวงปู่เขียวเหรียญรุ่นแรกวัดหรงบล ปี 2513

พระเหรียญ หลวงปู่เขียวเหรียญรุ่นแรกวัดหรงบล ปี 2513
พระเหรียญ หลวงปู่เขียวเหรียญรุ่นแรกวัดหรงบล ปี 2513

พระเหรียญ หลวงปู่เขียวเหรียญรุ่นแรกวัดหรงบล ปี 2513
พระเหรียญ หลวงปู่เขียวเหรียญรุ่นแรกวัดหรงบล ปี 2513

พระรูปหล่อ หลวงปู่เขียวรูปเหมือนขนาดบูชา วัดหรงบล
พระรูปหล่อ หลวงปู่เขียวรูปเหมือนขนาดบูชา วัดหรงบล

พระรูปหล่อ หลวงปู่เขียวรูปเหมือนปั้มรุ่นแรก กะไหล่ทอง
พระรูปหล่อ หลวงปู่เขียวรูปเหมือนปั้มรุ่นแรก กะไหล่ทอง

พระรูปหล่อ หลวงปู่เขียวรูปเหมือนปั้มรุ่นแรก ทองแดงรมควัน
พระรูปหล่อ หลวงปู่เขียวรูปเหมือนปั้มรุ่นแรก ทองแดงรมควัน

พระรูปหล่อ หลวงปู่เขียวรูปเหมือนรุ่นแรกเนื้อทองแดงรมควัน
พระรูปหล่อ หลวงปู่เขียวรูปเหมือนรุ่นแรกเนื้อทองแดงรมควัน

พระรูปหล่อ หลวงปู่เขียวรูปเหมือนปั้มรุ่นแรก วัดทรงพล
พระรูปหล่อ หลวงปู่เขียวรูปเหมือนปั้มรุ่นแรก วัดทรงพล

พระรูปหล่อ ลวงปู่เขียวรูปเหมือนปั้มรุ่นแรก ทองแดงรมควัน
พระรูปหล่อ ลวงปู่เขียวรูปเหมือนปั้มรุ่นแรก ทองแดงรมควัน

ที่มา : http://p.nanfaa.com/018.shtml

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551

หลักพิจารณา สมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม รุ่น 100 ปี พิมพ์ใหญ่ บล็อคไข่ปลาเลือน

หลักพิจารณา สมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม รุ่น 100 ปี พิมพ์ใหญ่ บล็อคไข่ปลาเลือน


ขนาด จากองค์ที่ท่านเห็นในภาพนั้น มีความกว้างขอบล่าง 26.5 มม. ความกว้างขอบบน 23 มม. สูง 39 มม. ตัวเลขดังกล่าวแม้จะไม่แน่นอนตายตัวในแต่ละองค์ แต่ก็สามารถเทียบเคียงได้ระดับหนึ่ง (มาจากบล็อคแม่พิมพ์เดียวกัน) เนื่องจากเป็นพระกดมือ ตัดมือ ความกว้างยาวจึงขึ้นอยู่กับการตัดขอบข้างในองค์นั้น ๆ นอกจากนี้ พระที่กดพิมพ์ใหม่ ๆ เนื้อพระมีความอ่อนนุ่ม บางองค์มีการผิดรูปและเสียทรงไปบ้างก็มีให้เห็น .... ความหนา สำหรับองค์ในภาพมีความหนาประมาณ 6 มม. วัดเฉพาะส่วนรอยตัด ซึ่งไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับการกดพิมพ์ของผู้พิมพ์พระในองค์นั้น ๆ


พื้นที่ข้างซ้ายขวาขององค์พระ พื้นที่ข้างองค์พระภายใจเส้นซุ้ม ด้านขวาขององค์พระมากกว่าด้านซ้าย


พระพักตร์ พระพักตร์อูมสวยได้รูป ช่วงต่อระหว่างพระพักตร์กับพื้นหลังเรียบเนียนไม่สะดุดหรือหักมุม กรณีองค์ที่ช่วงพระพักตร์กดไม่เต็มพิมพ์อาจมีความแตกต่างไปบ้าง


วงพระกร สำหรับพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม รุ่น 100 ปี พิมพ์ใหญ่ บล็อคไข่ปลาเลือน ที่กดพิมพ์ได้สมบูรณ์ วงพระกรจะมีลักษณะอูมหนาดังภาพ


เนื้อเกินบริเวณเหนือพระหัตถ์ บริเวณเหนือพระหัตถ์ช่วงที่ติดกับพระอุทรมีเนื้อเกินเห็นชัด สามารถสังเกตุเห็นได้ด้วยตาเปล่า


จุดไข่ปลา จุดไข่ปลาของพระสมเด็จวัดระฆัง 100 ปี บล็อคไข่ปลาเลือน อยู่บริเวณกึ่งกลางของฐานชั้นบน โดยปกติจะเห็นเป็นเม็ดไข่ปลาเล็ก ๆ ลาง ๆ ไม่ติดก็มี องค์ในภาพถือได้ว่าค่อนข้างชัดเมื่อเทียบกับในบล็อคแม่พิมพ์เดียวกัน แต่องค์ที่เห็นเป็นเม็ดไข่ปลาชัด ๆ เลยก็มี


ร่องลึกบนเส้นซุ้มด้านซ้าย บริเวณเส้นซุ้มด้านซ้ายขององค์พระด้านล่างเห็นเป็นรอยกดลงไปในเนื้อ จุดนี้เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของบล็อคไข่ปลาเลือน แต่ก็ไม่ใช่ข้อยุติตายตัว เนื่องจากองค์ที่กดไม่ติดมาแต่เดิมก็มี บางองค์ติดเพียงราง ๆ หากพระผ่านการใช้สัมผัสมาก็จะลบเลือนหายไป หรือในพิมพ์ใหญ่บล็อคแม่พิมพ์อื่น ๆ หากเกิดบ่อน้ำตาหรือรอยในเนื้อพระที่ตำแหน่งดังกล่าว การพิจารณาจุดนี้อย่างเดียวอาจทำให้เล่นหาสับสนได้ ต้องดูส่วนอื่นประกอบด้วย


ฐานชั้นล่าง บริเวณขอบล่างของฐานชั้นล่าง เส้นขอบด้านล่างจะมีรอยขยัก ไม่เรียบเนียนต่อเนื่อง


ฐานมีลักษณะเชิดขึ้น พระเพลาและฐานชั้นบนมีลักษณะเชิดขึ้นไปทางด้านซ้ายขององค์พระเห็นได้ชัดเจน


รอยตัดด้านข้าง พระผงวัดระฆังโฆษิตาราม รุ่น 100 ปี เป็นพระที่เกิดจากการกดพิมพ์พระด้วยมือ ตัดขอบข้างด้วยมือ องค์พระจะแสดงรอยตัดจากหน้าไปหลัง รอยตัดอาจมีลักษณะเป็นรอยครูดของมวลสารในเนื้อพระ รอยปริแยก อย่างใดอย่างหนึ่งหรือสองลักษณะก็ได้


ธรรมชาติด้านหลังขององค์พระ ด้านหลังขององค์พระจะไม่เรียบเหมือนกระจก บางองค์อาจดูเหมือนเรียบแต่ก็มีความโค้งลอนอยู่บ้างมากน้อยต่างกัน



ทั้งหมดที่กล่าวถึงและแสดงเป็นตัวอย่างตามภาพนั้น คือรายละเอียดข้อสังเกตุของพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม รุ่น 100 ปี พิมพ์ใหญ่ บล็อคไข่ปลาเลือน ที่สามารถสังเกตุได้ด้วยตาเปล่า เพื่อให้ง่ายสำหรับนักสะสมในการพิจารณาเช่าหาต่อไป หวังว่าคงมีประโยชน์ต่อท่านไม่มากก็น้อย ........
ที่มา : WWW.Collection9.net

ประมวลภาพ พระลีลา 25 พุทธศตวรรษ ปี พ.ศ.2500

ประมวลภาพ พระลีลา 25 พุทธศตวรรษ ปี พ.ศ.2500






พระลีลา พิธี 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดิน






พระลีลา พิธี 25 พุทธศตวรรษ เนื้อชิน



พระลีลา พิธี 25 พุทธศตวรรษ เสมา


" ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก นิตยสารลานโพธิ์ "
ที่มา : http://www.inform.collection9.net/index.php?doc=doc_detail&id=0068