วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551

หลักพิจารณา สมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม รุ่น 100 ปี พิมพ์ใหญ่ บล็อคไข่ปลาเลือน

หลักพิจารณา สมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม รุ่น 100 ปี พิมพ์ใหญ่ บล็อคไข่ปลาเลือน


ขนาด จากองค์ที่ท่านเห็นในภาพนั้น มีความกว้างขอบล่าง 26.5 มม. ความกว้างขอบบน 23 มม. สูง 39 มม. ตัวเลขดังกล่าวแม้จะไม่แน่นอนตายตัวในแต่ละองค์ แต่ก็สามารถเทียบเคียงได้ระดับหนึ่ง (มาจากบล็อคแม่พิมพ์เดียวกัน) เนื่องจากเป็นพระกดมือ ตัดมือ ความกว้างยาวจึงขึ้นอยู่กับการตัดขอบข้างในองค์นั้น ๆ นอกจากนี้ พระที่กดพิมพ์ใหม่ ๆ เนื้อพระมีความอ่อนนุ่ม บางองค์มีการผิดรูปและเสียทรงไปบ้างก็มีให้เห็น .... ความหนา สำหรับองค์ในภาพมีความหนาประมาณ 6 มม. วัดเฉพาะส่วนรอยตัด ซึ่งไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับการกดพิมพ์ของผู้พิมพ์พระในองค์นั้น ๆ


พื้นที่ข้างซ้ายขวาขององค์พระ พื้นที่ข้างองค์พระภายใจเส้นซุ้ม ด้านขวาขององค์พระมากกว่าด้านซ้าย


พระพักตร์ พระพักตร์อูมสวยได้รูป ช่วงต่อระหว่างพระพักตร์กับพื้นหลังเรียบเนียนไม่สะดุดหรือหักมุม กรณีองค์ที่ช่วงพระพักตร์กดไม่เต็มพิมพ์อาจมีความแตกต่างไปบ้าง


วงพระกร สำหรับพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม รุ่น 100 ปี พิมพ์ใหญ่ บล็อคไข่ปลาเลือน ที่กดพิมพ์ได้สมบูรณ์ วงพระกรจะมีลักษณะอูมหนาดังภาพ


เนื้อเกินบริเวณเหนือพระหัตถ์ บริเวณเหนือพระหัตถ์ช่วงที่ติดกับพระอุทรมีเนื้อเกินเห็นชัด สามารถสังเกตุเห็นได้ด้วยตาเปล่า


จุดไข่ปลา จุดไข่ปลาของพระสมเด็จวัดระฆัง 100 ปี บล็อคไข่ปลาเลือน อยู่บริเวณกึ่งกลางของฐานชั้นบน โดยปกติจะเห็นเป็นเม็ดไข่ปลาเล็ก ๆ ลาง ๆ ไม่ติดก็มี องค์ในภาพถือได้ว่าค่อนข้างชัดเมื่อเทียบกับในบล็อคแม่พิมพ์เดียวกัน แต่องค์ที่เห็นเป็นเม็ดไข่ปลาชัด ๆ เลยก็มี


ร่องลึกบนเส้นซุ้มด้านซ้าย บริเวณเส้นซุ้มด้านซ้ายขององค์พระด้านล่างเห็นเป็นรอยกดลงไปในเนื้อ จุดนี้เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของบล็อคไข่ปลาเลือน แต่ก็ไม่ใช่ข้อยุติตายตัว เนื่องจากองค์ที่กดไม่ติดมาแต่เดิมก็มี บางองค์ติดเพียงราง ๆ หากพระผ่านการใช้สัมผัสมาก็จะลบเลือนหายไป หรือในพิมพ์ใหญ่บล็อคแม่พิมพ์อื่น ๆ หากเกิดบ่อน้ำตาหรือรอยในเนื้อพระที่ตำแหน่งดังกล่าว การพิจารณาจุดนี้อย่างเดียวอาจทำให้เล่นหาสับสนได้ ต้องดูส่วนอื่นประกอบด้วย


ฐานชั้นล่าง บริเวณขอบล่างของฐานชั้นล่าง เส้นขอบด้านล่างจะมีรอยขยัก ไม่เรียบเนียนต่อเนื่อง


ฐานมีลักษณะเชิดขึ้น พระเพลาและฐานชั้นบนมีลักษณะเชิดขึ้นไปทางด้านซ้ายขององค์พระเห็นได้ชัดเจน


รอยตัดด้านข้าง พระผงวัดระฆังโฆษิตาราม รุ่น 100 ปี เป็นพระที่เกิดจากการกดพิมพ์พระด้วยมือ ตัดขอบข้างด้วยมือ องค์พระจะแสดงรอยตัดจากหน้าไปหลัง รอยตัดอาจมีลักษณะเป็นรอยครูดของมวลสารในเนื้อพระ รอยปริแยก อย่างใดอย่างหนึ่งหรือสองลักษณะก็ได้


ธรรมชาติด้านหลังขององค์พระ ด้านหลังขององค์พระจะไม่เรียบเหมือนกระจก บางองค์อาจดูเหมือนเรียบแต่ก็มีความโค้งลอนอยู่บ้างมากน้อยต่างกัน



ทั้งหมดที่กล่าวถึงและแสดงเป็นตัวอย่างตามภาพนั้น คือรายละเอียดข้อสังเกตุของพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม รุ่น 100 ปี พิมพ์ใหญ่ บล็อคไข่ปลาเลือน ที่สามารถสังเกตุได้ด้วยตาเปล่า เพื่อให้ง่ายสำหรับนักสะสมในการพิจารณาเช่าหาต่อไป หวังว่าคงมีประโยชน์ต่อท่านไม่มากก็น้อย ........
ที่มา : WWW.Collection9.net

ประมวลภาพ พระลีลา 25 พุทธศตวรรษ ปี พ.ศ.2500

ประมวลภาพ พระลีลา 25 พุทธศตวรรษ ปี พ.ศ.2500






พระลีลา พิธี 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดิน






พระลีลา พิธี 25 พุทธศตวรรษ เนื้อชิน



พระลีลา พิธี 25 พุทธศตวรรษ เสมา


" ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก นิตยสารลานโพธิ์ "
ที่มา : http://www.inform.collection9.net/index.php?doc=doc_detail&id=0068

จุดพิจารณา สมเด็จบางขุนพรหม ปี 31 พิมพ์ใหญ่ บล็อค ลึก A ตัดเครื่อง

จุดพิจารณา สมเด็จบางขุนพรหม ปี 31 พิมพ์ใหญ่ บล็อค ลึก A ตัดเครื่อง


ขนาด ความกว้างขอบล่าง 25.5 มม. ความกว้างขอบบน 23 มม. สูง 38 มม. และหนา 5 มม. มิติดังกล่าวค่อนข้างแน่นอน เนื่องด้วยเป็นพระยุคใหม่ อุปกรณ์เครื่องมือในการพิมพ์พระทันสมัย แม้ธรรมชาติพระเนื้อผง พระมีการหดตัวเซ็ตตัวได้บ้างแตกต่างกันตามคุณสมบัติของเนื้อพระในแต่ละครก แต่ก็ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก


เส้นทิวบริเวณขอบบนด้านขวา บริเวณขอบบนด้านขวาขององค์พระปรากฏเส้นทิวยาวขนานกับเส้นขอบจากมุมจนถึงประมาณแนวกลางปลายเกศ


เส้นทิวบริเวณขอบบนด้านซ้าย ปรากฏเส้นทิวบริเวณขอบบนด้านซ้ายขององค์พระขนานกับเส้นขอบ


เส้นทิวขอบข้างด้านขวาบน ปรากฏเส้นทิวบริเวณขอบข้างด้านขวาบนขององค์พระ โดยช่วงล่างของเส้นมีลักษณะเป็นปื้นหนา


เส้นทิวเฉียงบาง ๆ บริเวณมุมซ้ายบน บริเวณมุมบนซ้ายมือขององค์พระปรากฏเส้นทิวเฉียงบาง ๆ


เส้นทิวขอบข้างด้านซ้ายบน 2 เส้น ปรากฏเส้นทิวบริเวณขอบข้างด้านซ้ายบนขององค์พระจำนวน 2 เส้น ขนานกับแนวขอบข้าง โดยเส้นนอกที่อยู่ชิดกับขอบข้างจะมีความชัดเจนกว่า


เส้นทิวยาวบนเส้นซุ้มด้านขวาล่าง มีเส้นทิวยาวบนเส้นซุ้มด้านขวาล่างขององค์พระ มองดูจะเห็นเส้นซุ้มปรากฏเป็นสันชัดเจน


เส้นทิวด้านล่างซ้าย 2 เส้น ปรากฏให้เห็นเส้นทิวด้านล่างซ้ายขององค์พระ 2 เส้น เส้นแรกอยู่บนเส้นซุ้มทำให้เส้นซุ้มปรากฏเป็นสันชัดเจน เส้นที่สองอยู่ข้างเส้นซุ้มด้านนอกเป็นแนวยาวขนานกับขอบข้าง


เส้นทิวขวางบริเวณปลายเกศ มีเส้นทิวขวางบริเวณปลายเกศด้านในของเส้นซุ้ม จุดนี้จะมองเห็นยาก ขึ้นอยู่กับแสงและมุมมองขององค์พระด้วย


เส้นทิว 3 เส้น บนเส้นซุ้มด้านซ้ายก่อนช่วงโค้ง ปรากฏเส้นทิว 3 เส้น พาดผ่านในแนวขนานบนเส้นซุ้มด้านซ้ายก่อนช่วงโค้ง เส้นด้านนอกจะเห็นชัดเจนที่สุด



ข้อ พิจารณาดังกล่าว เป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 31 พิมพ์ใหญ่ บล็อคลึก A ตัดเครื่อง ซึ่งหลายจุดก็เหมือนหรือคล้ายคลึงกับบล็อคแม่พิมพ์อื่น บางจุดพิจารณาสังเกตุยากบ้างง่ายบ้าง และหลายจุดก็อาจขาดตกไปในแต่ละองค์ การพิจารณาจึงต้องดูหลาย ๆ อย่างควบคู่กันไป ตำหนิพิมพ์ทรงถือเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น และต้องไม่ลืมว่าของเก๊ก็สามารถทำและพัฒนาออกมาเรื่อย ๆ .........
ที่มา : WWW.Collection9.net