วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551

พระสมเด็จวัดระฆัง ( พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี)

พระสมเด็จวัดระฆัง
พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี



ชาติภูม


เดิมชื่อโต บุตรนางงุด บิดาไม่เป็นที่ปรากฏ ตาชื่อนายผล ยายชื่อนางลา ถือกำเนิดในแผ่นดิน
ราชกาาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อวันพฤหสับดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำปีวอก
ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช2331 สัมฤทธิศก จุลศักราช 1150 เวลาประมาณ 06.54 น.
เดิมเป็นชาวบ้านท่าอิฐ อำเภอบ้านโพ (อำเภอเมือง ปัจจุบัน) จัวหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมาฝนแล้วติดต่อกันหลายปี
การทำนาไม่ได้ผล จึงต้องย้ายภูมิลำเนาไปอยู่กับยายที่บ้านไก่จันตำบลท่าหลวงอำเภอท่าเรือ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ต่อมา มารดาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ตำบลบางขุนพรหม และไม่ได้มอบให้เป็นศิษย์ท่านเจ้าคุณอรัญญิก
เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร เพื่อการศึกษาอักขรสมัย เมื่ออายุคราบ 12 ปีบริบูรณ์ ครางกับปีวอก พ.ศ. 2342
ได้บรรพชาเป็นสามเณรโดยมีพระบวรวิริยะเณร (อยู่) เจ้าอาวาส วัดบางลำภู(วัดสังเวชวิศยาราม-ปัจจุบัน)
เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังได้ย้ายไปอยู่วัดระฆังโฆษิตารามเพื่อการศึกษาพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระ
พุทธโฆษาจารย์ (นาค เปรียญเอก) สามเณรโต เป็นผู้ที่มีวิริยะ อุสาหะในการศึกษาเป็นอย่างดี มีวัตรปฏิบัติที่
น่าเลื่อมใสจนปรากฏว่า พระบาทสามเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จฯ เจ้าฟ้า
กรมหลวงอิศรสุนทรทรงโปรดปรานมาก ทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้พระราชทานเรือกราบกัญญา
หลังคากระแชงให้ท่านใช่สอยตามอัธยาศัย

เมื่ออายุครบ 12 ปีตรงกับปีเถอะ พ.ศ. 2350 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงกรุณา
โปรดเกล้าฯให้อุปสมบทเป็นนาคหลวง ที่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) โดยมีสมเด็จพระสังฆราช


(สุก) วัดมหาธาตุเป็นพระอุปชาฌาย์ ให้ฉายาว่า "พรหมรังสี" และเรียกว่าพระมหาโตตั้งแต่นั้นเป็นตันมา

สมณศักดิ์

1. พระธรรมกิตติ สถาปนาพร้อมตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดระฆังโฆษิตราม
โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีชวด พ.ศ. 2395 ขณะท่านมีอายุ 65 ปี
2. พระเทพกระวี เมื่อปีขาล พ.ศ.2397
3. สมเด็จพุฒาจารย์ สถาปนาในคราวสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศฯ มรณภาพลง
ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น 9 คำ ปีชวด พ.ศ. 2407 เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์รูปที่ 5
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


การสร้างพระสมเด็จ

1. จำนวนเป้าหมายในการสร้าง 84,000 องค์ (แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันจำนวนที่แท้จริง) ชึ่งท่าน
เจ้าประคุณเป็นผู้ควบคุมการสร้างเองทุกองค์
2. สร้างด้วยจิตใจอันเปี่ยมด้วยเมตตาเผยแพร่พุทธศาสนาให้แก่บุคคลทั่วไป
3. ปลุกเสกด้วยอภิญญาจิตเพื่อมุ่งหวังให้สาธุชนได้นำไปติดตัวป้องกันภัยและเป็นพุทธานุสติ
ระลึกถึงพระรัตนตรัย เป็นที่พึ่งในตัวเอง จึงมีอนุภาพอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในทุกๆด้าน

อานุภาพพระสมเด็จวัดระฆัง

ผู้ที่มีจิตใจที่ดีบริสุทธิ์สดใสเท่านั้น ที่จะได้รับอานุภาพที่ดีจากพระสมเด็จ
1. บูชาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองผาสุขในกิจการงาน แห่งชีวิตของผู้มีไว้ติดตัวจะทำให้เกิดโภคทรัพย์
ในสุจริตวิถี
2. คุ้มครองป้องกันอันตรายให้แคล้วคลาดจากภัยทั้งหลายทั้งปวงเฉพาะในผู้ที่เป็นสุจริตชน
ผู้ทำมาหากินด้วยแรงกายแรงสติปัญญาในทำนองคลองธรรม ในทางตรงกันข้ามพวกมิจฉาชีพดำรง
ชีวิตด้วยความเดือดร้อนของบ้านเมืองและประชาชนตลอดจนถึงการขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม
แม้มีพระสมเด็จไว้หรือมีส่วนเกี่ยวข้องผ่านมือก็จะเร่งให้มีแต่ความทุกข์โศกมีภัยตลอดกาล


วิธีอาราธนาพระสมเด็จวัดระฆัง

ตั้งนะโมสามจบระลึกถึงเจ้าประคุณพระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม
หากสวดชินบัญชรได้ควรสวดหนึ่งจบ ก่อนที่จะนำพระสมเด็จติดตัวไป ให้ทำดังนี้
เมื่อยกสร้อยขึ้นจะคล้องคอ องค์พระอยู่ในอุ้มมือ พนมมือแล้วท่องคาถาอาราธนาดังต่อไปนี้
" โอมมะศรี มะศรี พรมรังสี นามะเตโช มหาสมโณ มหาปัญโญ
มหาลาโภ มหายะโส สัพพะโสตถี ภะวันตุเม"
เมื่อจบแล้วให้ท่องคาถาขอลาภว่า
"ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง ธนะกาโม ละเภธะนัง
อัตถิกาเย กายะยายะ เทวานัง ปิยะยังสุตวา"
เมื่อคล้องคอให้ท่องคาถาคุ้มครองชีวิตว่า
"อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อรหังสุคโต นะโมพุทธยะ"
ทำได้เช่นนี้ทุกวันท่านจักมีความสุขความเจริญ และนิรันตรายทั้งปวง


รูปภาพข้างบน เป็นรูปสมุดบันทึกประวัติของพิมพ์พระสมเด็จ พิมพ์นิยม
บันทึกประวัติของพิมพ์พระสมเด็จแต่ละพิมพ์นิยมโดยหลวงปู่คำ (วัดอัมรินทร์) ในช่วงเวลาสุดท้ายของการ สร้างพระ พระสมเด็จโดยพระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่ได้ถูกคัดลอกไว้ซึ่งระบุไว้เฉพาะแม่พิมพ์ที่ ไม่ชำรุดแตกหัก ที่มีเหลืออยู่ในสภาพดีในเวลานั้นเท่านั้น มีดังนี้
พิมพ์ จำนวนแม่พิมพ์ที่มีเหลืออยู่ในสภาพดี พิมพ์คะแนน
1. พิมพ์ประธาน 5 1
2. พิมพ์ใหญ่ ( พิมพ์ชายจีวร บาง, หนา, เส้นลวด) 15 2
3. พิมพ์อกร่อง หูยาน ฐานแซม 3 1
4. พิมพ์เกศบัวตูม 4 1
5. พิมพ์ปรกโพธิ์ 5 1
6. พิมพ์ฐานคู่ 3 1
7. พิมพ์เส้นด้าย 15 2
8. พิมพ์สังค์ฆาฏิ 7 1
9. พิมพ์หน้าโหนกอกครุฑ 16 1
10. พิมพ์ทรงเจดีย์ 2 1

นอกจากพิมพ์นิยมข้างบนนี้ รวมพิมพ์คะเเนน (คือพิมพ์พระสมเด็จที่ถูกย่อส่วนลงมา) แล้วยังมีพิมพ์อื่นๆ อีกถึง 83 พิมพ์ การแกะแม่พิมพ์พระสมเด็จนั้น พุทธศิลป์มีทั้งพิมพ์ที่สวยงามและพิมพ์ไม่สวย พิมพ์พระที่สวยนั้นทำโดย ช่างหลวง เช่น หลวงวิจารย์ เจียรนัย ฯลฯ เป็นผู้แกะพิมพ์ถวาย (ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่าพิมพ์นิยมนั่นเอง) ส่วนพิมพ์ที่ไม่สวยส่วนมากแกะพิมพ์โดยช่างที่เป็นชาวบ้าน


ธรรมชาติของเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง มองทางกายภาพ
จากเลนส์ขยายในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังเท่าที่ได้สัมผัสมา มวลสารที่มองเห็นด้วยตาเปล่าประกอบด้วย มวลสารดังต่อไปนี้
1. จุดสีขาวขุ่น มีทั้งขนาดใหม่และเล็ก ขนาดเล็กตั้งแต่ปลายเข็มหมุดขนานใหญ่เท่าเมล็ดถั่วเขียวก็เคยพบ มีปรากฏอยู่ทั่วไปในเนื้อพระละเอียดแน่นนอน และ เนื้อพระชนิดหยาบเนื้อไม่แน่นนอน สันนิษฐานว่าคือ เม็ดพระธาตุ และเปลือกหอย
2. จุดสีแดงหรือสีแดงอิฐ ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าคงจะเป็นเศษพระเครื่องหักของ กำแพงเมืองเพรช สมัยที่สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ได้ไปเดินธุดงค์พบพระเนื้อดินหัก แต่ยังเต็มเปี่ยมไป ด้วยพระพุทธคุณ จึงนำมาสร้างพระเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และความขลังแก่พระสมเด็จ
3. จุดสีดำ มีขนาดเล็กก็คือ เกสรดอกไม้ เม็ดกล้วย ถ้าเป็นขนาดกลาง สันนิษฐานว่าเป็นผงถ่านใบลาน และถ้าเป็นลักษณะยาว สันนิษฐานว่าเป็นกานธูป
4. จุดสีเขียวคล้ายสีคราม มีลักษณะใหญ่เล็กแล้วแต่จะพบในองค์พระ สันนิษฐานว่าเป็นหินเขียวหรือ ตะไคร่ ใบเสมา
5. จุดสีน้ำตาลอ่อน และ น้ำตาลแก่ สันนิษฐานว่า คือเกสรดอกไม้แห้งนานาชนิด อาจเป็นดอกไม้108 (ดอกไม้ที่ใช้บูชาพระ)
6. เม็ดทรายเสกขนาดกลาง และขนาดเล็ก พบในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง
7. เม็ดขาวขุ่นหรือพระธาตุ ส่วนมากจะพบกระจายอยู่ทั่วไปในองค์พระบางองค์ พบอยู่ด้านหลัง บางองค์ไม่พบ
8. ทองคำเปลว ที่ติดพระประธานในโบสถ์วัดระฆัง ใช้บดละเอียดผสมในเนื้อพระ
9. ผงวิเศษที่พบเป็นก้อน คล้ายกับก้อนดินสอพองก็คือ ผงวิเศษที่ได้จากผงอิทธิเจ ผงปัตถะมัง ผงตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ ผงมหาราช
10. การยุบตัวของเนื้อพระสมเด็จ เกิดจากปฎิกริยาการหดตัว แห้งตัว ยุบตัวของเศษอาหาร จึงทำให้ เนื้อพระยุบตัวลง ระยะเวลาและความร้อนของอากาศหลายๆปี ฤดูกาลธรรมชาติ
11. ที่แลเห็นพระบางองค์มีความมันบนองค์พระมาก เพราะว่าในเนื้อพระผสมนำมันตั้งอิ้วมากกว่าปกติ เนื้อพระชนิดนี้จึงหนึกนุ่มอยู่เสมอ ทำให้เนื้อพระเก่าได้ยาก
12. พระสมเด็จกับการลงรักปิดทอง พระสมเด็จวัดระฆังบางองค์มีการลงรักปิดทองไว้ แล้วในภายหลัง ได้ถูกล้างออก ซึ่งก็ทำให้สามารถดูเนื้อพระได้ง่ายขึ้น
13. คราบสีขาวบนองค์พระมักจะพบในพระสมเด็จวัดระฆังนั้นมี 2 นัย นัยแรกเกิดจากแป้งโรยพิมพ์พระ ในตอนสร้าง (สันนิษฐานว่าใช้แป้งขาวเจ้าผสมปูนขาว) นัยที่สองเกิดจากเชื้อราบางชนิดซึ่งเกิดขึ้นเนื่อง มาจากการเก่าเก็บไว้เป็นเวลานานซึ่งไม่มีผลทำให้ผิวพระเสียแต่อย่างใด ซี่งถ้าใช้นิ้วถูออกคราบสีขาว ก็จะหายไปและจะไม่มีผงฝุ่นสีขาวติดนิ้วเลย แต่ไม่ควรถูออกเพราะคราบสีขาวเป็นการแสดงความเก่า ความมีอายุอันยาวนานขององค์พระ
14. รอยปริแยกแตกบนผิวพระสมเด็จวัดระฆัง สันนิษฐานว่าเกิดจากการยุบตัว หดตัวของเนื้อพระเนื่องจาก ความชื้นและอุณหภูมิในอากาศเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเนื้อพระมีส่วนผสมน้ำมันตังอิ้วที่เหมาะสมเป็นตัว ประสานเนื้อพระก็จะไม่พบลอยปริแตกบนผิว
15. กลิ่นหอมในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ส่วนผสมมวลสารในเนื้อพระมีดอกไม้และ เกสรหลายชนิดรวมกัน รวมทั้งน้ำมันจันทน์ด้วย จึงทำให้พระสมเด็จมีกลิ่นหอม
16. รอยแตกลายงาบนผิวพระสมเด็จวัดระฆังเกิดจากการแห้งและหดตัวของผิวเนื้อพระชั้นนอกเร็วกว่า เนื้อพระชั้นใน พบได้ในองค์พระที่มีผิวระเอียดหนึกนุ่ม

มวลสารของเนื้อพระสมเด็จ
1. ดินสอมหาชัย ใช้เขียนลงเป็นผง วิเศษ 5 ประการ อันได้แก่ - ผงพระพุทธคุณ - ผงปัตถะมัง - ผงตรีนิสิงเห - ผงมหาราช - ผงอิทธิ ดินสอมหาชัยเป็นผงดินสออาถรรพณ์ทำจากดินขาวอันบริสุทธิ ผสมด้วย น้ำคั้นใบตำลึง ยอดสวาท ยอดกาหลง ยอดรักซ้อน ดินโป่ง ไคลเสมา ยอดชัยพฤกษ์ ยอดราชพฤกษ์ ยอดมะลิจากข้าวในยาตร ทั้งหมดเป็นมวลสารพระพุทธคุณ และได้ถือหลักการคุลีเนื้อพระจากตำรับไสยเวทย์ และเพทางคศาสตร์
2. ข้าวหอมจากบาตร บรรจุในชามเบญจรงค์ อันเป็นของที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เก็บรักษาโดยเฉพาะ
3. กล้วยน้ำไท ผสมยางมะตูมทั้งสองสิ่งนี้เก็บรักษาไว้ในขันสัมฤทธิ์ ไม่บูด ไม่เสีย
4. เกสรบัวสัตตบงกช พร้อมทั้งเกสรดอกไม่ป่าจากเมืองสุโขทัย เมื่องกำแพงเพชร เป็นเกสรที่เจ้าคุณ สมเด็จฯ ได้รวบรวมไว้ถึง 108 ชนิด
5. เปลือกหอย ขาวบริสุทธิ์ นำมาป่นจนละเอียดแล้วผ่านกรรมวิธีจนกลายเป็นปูนเปลือกหอย มวลสาร ชนิดนี้เมื่อ ปลุกเสกและอบด้วยพระเวทย์มนตราอาถรรพณ์แล้วจะเกิดทรายทองขึ้นเองด้วยวิทยาคม ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
6. น้ำมันตั้งอิ๊ว เป็นตัวประสานมวลสารที่ใช้ในการสร้างพระให้ยึดรวมกันอย่างเหนียว ทั้งกระทำให้เนื้อพร ชุ่มชื่นอีกด้วย
7. วัสดุอื่นๆ ที่กล่าวไว้แล้วในหัวข้อ มวลสารที่มองเห็นด้วยตาเปล่าข้างต้นนี้ ฯลฯ

ปฏิกิริยาจากผงวิเศษห้าประการ
พระสมเด็จอันเกิดจากผงวิเศษห้าประการ ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นสิ่งที่เกิดจากปูนเปลือกหอยเป็นหลัก แต่ประชาชน เรียกกันว่า "พระผง" เมื่อพิจารณาด้วยสายตาโดยใช้เลนส์ขยาย จะแลเห็นบนพระมีจุดเล็กๆ เรียกว่ารูพรุนปลาย เข็มเกิดเป็นหมู่ๆ ประปรายอยู่ทั่วบริเวร ผิวขององค์พระ รวมทั้งแผ่นพื้นฐานด้วย
รอยปูไต่
มีลกษณะ บุ๋มลึกลงไปรอยนี้มักเกิดเป็นคู่ๆเรียงกันไปเป็นทางคล้ายรอบปู จึงเรียก กันว่า "รอยปูไต่" รอยนี้เกิดขึ้นประปรายทั่วแผ่นพื้นฐานขององค์พระ
รอยหนอนด้น
บนผิวขององค์พระ เมื่อใช่เลนส์ขยายกำลัง 10 เท่า ส่องจะเห็นรอยโค้งเล็กๆ คล้าลายตัวหนอนขาดเล็กมากปรากฏอยู่ รอยนี้ไม่ปรากฏในพระแบบอื่นนอกจากพระของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เท่านั้น ผู้ศึกษาพึงพิจารณาให้ละเอียด
บ่อน้ำ และลำธาร
เกิดบนผิวพื้นฐานขององค์พระอยู่โดยทั่วไป สมมติว่าเราขึ้นไปอยู่บนที่สูงๆ แล้วใช่กล้องส่องดูดาวที่มีกำลังขยายมากๆ ส่องดูดวงจันทร์ เราจะแลเห็นบนพื้นผิวดวงจันทร์ปรากฏเป็น หลุมเป็นบน่อ หุบ เหว ภูเขา และสายลำธาร ซึ่งขอเรียกว่า"ผิวพระจันทร์" อันเป็นสัญลักษณ์ที่เกิดในองค์ พระสมเด็จโดยเฉพาะ
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ปรากฏอันเป็นความงดงามขององค์พระสมเด็จ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจะมีผู้โชคดี ได้เป็นเจ้าของพระสมเด็จ เมื่อใช้เลนส์ขยายดูเนื้อพระ เขาจะเฝ้าดูแล้วดูเล่าอย่างไม่รูสึกเบื่อหน่าย ในความงามอันน่าอัศจรรย์ของพระผงวิเศษของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ชึ่งสามารถแลเห็นมวลสารเกสรเป็นจุดรูปต่างๆกัน มีสีสันแปลกๆเช่น สีแดง สีฟ้า สีเหลือง สีเขียว สีเทา สีน้ำตาล ฯลฯ มวลสารเกสรนี้ช่อนตัวของมันอยู่เงียบๆ ต้องใช้เวลาในการดูนานจึงจะปรากฎ ให้เห็น


ความหมายอย่างมีเหตุผลของมวลสารชึ่งมีส่วนผสมในเนื้อสมเด็จ ที่มีคุณวิเศษในตัวเองดังนี้
1. ผงวิเศษ ในการทำพระสมเด็จของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มี 5 ชนิด
1.1 ผงพุทธคุณ มีพลางนุภาพทาง แคล้วคลาด และ เมตตามหานิยม
1.2 ผงปัตถะมัง มีพลางนุภาพทาง คงกระพันชาตรี
1.3 ผงตรีนิสิงเห มีพลางนุภาพทาง มหาเสน่ห์
1.4 พงมหาราช มีพลางนุภาพทาง มหาอำนาจทั่วไป
1.5 ผงอิทธิเจ มีพลางนุภาพทาง เมตตามหานิยม
2. ไม้มงคล
2.1 ดอกสวาท มีคุณทาง มหานิยม คนรักทั่วไป
2.2 ดอกกาหลง มีคุณทาง ใครเก็นใครชอบ
2.3 ดอกรักซ้อน มีคุณทาง มหาเสน่ห์
2.4 ดอกกาฝากรัก มีคุณทาง เมตตามหานิยม
2.5 ดอกชัยพฤกษ์ และดอกราชพฤกษ์ มีคุณทาง มหาอำนาจ และ แคล้วคลาดภัยทั้งปวง
2.6 ดอกว่านางคุ้ม และ ดอกว่าน มีคุณทาง คุ้มกันอันตรายแก่คนทั่วไป
2.7 ดอกว่านเสน่ห์จันทน์ขาว จันทน์แดง จันทน์ดำ มีคุณทาง มหาเสน่ห์ และ คลาดแคล้ว
2.8 ดอกว่านนางกวัก มีคุณทาง มหานิยมแก่คนทั่วไป
2.9 ว่านพระพุทธเจ้าหลวง มีคุณทาง คงกระพันชาตรี มหาอำนาจ
2.10 ใบพูลร่วมใจ มีคุณทาง มหานิยมแก่คนทั่วไป
2.11 ใบพลูสองทาง มีคุณทาง กันการกระทำ และอันตรายคลาดแคล้ว
2.12 ผงเกสรบัวทั้ง5 และเกสรดอกไม้108 มีคุณทาง มหาเสน่ห์ และแคล้วควาด
3. ดินอาถรรพณ์
3.1 ดิน 7 โป่ง ที่เสือลงมากิน มีคุณทางมหาอำนาจ ใครเห็นใครกลัวเกรงทั่วไป
3.2 ดิน 7 ป่า มีคุณทางเมตตามหานิยม
3.3 ดิน 7 ท่า มีคุณทางคลาดแคล้ว
3.4 ดิน 7 สระในวัด มีคุณทางเมตตามหานิยมของคนทั่วไป
3.5 ดินหลักเมือง มีคุณค่าทางมหาเสนห์แก่ตัวเอง
3.6 ดินตะไคร่เจอดีย์ มีคุณทาง กันภูตผีปีศาจ และกันเสนียดจัญไร
3.7 ดินตะไคร่รอบโบสถ์ มีคุณทาง ป้องกันอันตรายทั่วไป
3.8 ดินตะไคร่ใบเสมา มีคุณทางมหานิยม เมตตา และแคล้วคลาด
3.9 ดินสอขาว หรือ ดินขาว (ดินสอพอง) สำหรับเขียนยันต์ตามสูตรพระเวท มีคุณทางแก้อาถรรพณ์
3.10 ดินกระแจะปรุงด้วยของหอม มีคุณทาง เมตตามหานิยม
4. ผงดำ คือ แม่พิมพ์พระที่แตกหักชำรุด นำมาเผาเป็นถ่าน แล้วนำมาบดผสม พงถ่านใบลาน (คือ ใบลานและคัมภีร์เก่าๆ นำมาเผาจนเป็นถ่าน) แล้วนำมาผสมกันเป็นผงดำ มีคุณทางคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด
5. ตะไลพระกริ่ง มีทั้งเนื้อเงิน และเนื้อทองเหลือง มีคุณค่าทาง คงกระพันชาตรี
6. ตะไบเงินตะไบทอง มีคุณทาง ร่ำรวย โชคลาภ
7. พระธาตุทั้ง 5 ชนิด มีคุณทาง การมีสิริมงคล โชคลาภ
8. จุดแดง เกสรดอกไม้ 108 มีคุณทางมหาเสน่ห์ มหานิยม
9. เศษพระกำแพงหัก (อิฐกำแพง) มีคุณทาง คงกระพันชาตรี โชคลาภ เงินทองไหลมาเทมา

ขนาดขององค์พระซุ้มครอบแก้วที่สามารถหามาได้โดยวัดขนาดจากองค์ที่มีอยู่จริง
พิมพ์ ขนาดองค์พระซุ้มครอบแก้ว (กว้าง x สูง x หนา) 1. พิมพ์ประธาน (ไม่มีข้อมูล) 2. พิมพ์ใหญ่ ( พิมพ์ชายจีวร บาง, หนา, เส้นลวด) (2.2-2.5 ชม x 3.4-3.7 ชม x 4-6 มม) 3. พิมพ์อกร่อง หูยาน ฐานแซม (2.0-2.2 ชม x 3.4-3.5 ชม x 3-4 มม) 4. พิมพ์เกศบัวตูม (2.1-2.2 ชม x 3.4-3.6 ชม x 4-5 มม) 5. พิมพ์ปรกโพธิ์ (2.2-2.4 ชม x 3.4-3.8 ชม x 4-5 มม) 6. พิมพ์ฐานคู่ (ไม่มีข้อมูล) 7. พิมพ์เส้นด้าย (ไม่มีข้อมูล) 8. พิมพ์สังค์ฆาฏิ (ไม่มีข้อมูล) 9. พิมพ์หน้าโหนกอกครุฑ (ไม่มีข้อมูล) 10. พิมพ์ทรงเจดีย์ (2.2-2.4 ชม x 3.2-3.4 ชม x 4-6 มม)

ที่มา http://www.geocities.com/prakrungbox/body.htm#d

ไม่มีความคิดเห็น: