วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ตำหนิพระผงสุพรรณ

ตำหนิเอกลักษณ์
พระผงสุพรรณ 1
พระรอด พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่
ตำหนิเอกลักษณ์
1.พระเกศ เป็นหน่อคล้ายหมวกฤาษี
2.พระเนตรขวาองค์พระจะยุบเป็นแอ่ง
3.พระเนตรซ้ายองค์พระจะโปนนูน
4.ในร่องพระกรรณขวาองค์พระ จะมีเส้นขนาน 2 เส้น
5.พบบ่อยๆ ปลายหูขวาองค์พระจะเป็นบั้งแหลมแทงขึ้นแบบปลายชฎา
6.ในองค์พิมพ์ติดชัดๆ จะมีเส้นในซอกแขนซ้ายองค์พระ 2 เส้นวิ่งจรดลำพระองค์
7.ในองค์ที่พื้นผิวติดชัดๆ จะเห็นเส้นทิว 2 เส้นแผ่วๆเหนือพระหัตถ์
8.พบบ่อยๆปลายพระหัตถ์ จะมีติ่งยื่นออกมาเล็กน้อย
ด้านหลัง
ลายมือมัดหวาย จะจมลงเนื้อพระเป็นแอ่ง แสดงถึงความจงใจ ประทับลายมือไว้หหลังพระ

พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่
ตำหนิเอกลักษณ์
1.พระพักตร์ก้มต่ำ และหันเฉียงไปทางขวามือเราเล็กน้อย
2.เม็ดพระเนตรซ้ายองค์พระ จะโตและโปนกว่า
3.พระเนตรขวาองค์พระเป็นเบ้าลึกลงไป
4.แก้มซ้ายองค์พระ จะหลุบกลืนหายไป
5.ข้างแก้มขวาองค์พระ มีเสส้นวิ่งลงแบบหน้าคนแก่
6.พระนาสิกเป็นลำยาว พระโอษฐ์เล็กติดเชื่อมปลายพระนาสิก
7.คางเป็นลำหนาสั้นแนบติดพระโอษฐ์ แลเกือบเป็นแนวตรง
8.ปลายพระกรรณด้านใน จะมีเส้นขนานสองเส้น
9.ลำพระองค์แลคล้ายหน้าวัว
10.ปลายพระหัตถ์ขวาขาด
เหนือฝ่าพระหัตถ์ซ้ายขึ้นไป มักจะมีเส้นทิวบางๆ วิ่งเฉียงขึ้นไป ขาดๆหายๆสองเส้นแผ่วมาก นี่คือ "ทีเด็ด" ที่มีในของแท้เท่านั้น
ด้านหลัง
จะมีรอยมือมัดหวาย มักกดลงเป็นแอ่ง ครีบขอบพระมักพับเข้าะ

ที่มา : http://www.amulet2u.com/pong00.htm

ตำหนิพระนางพระยา

ตำหนิเอกลักษณ์
พระนางพญา 1
พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ
ตำหนิเอกลักษณ์
1.ระหว่างพระศกกับพระเกศ มีเส้นใยบัว
2.ระหว่างพระนลาฏกับพระศกจะมีเส้นใยบัว
3.พระเนตรเป็นแบบตาเนื้อ พระนาสิก เป็นแท่งเหลี่ยม พระโอษฐ์เจ่อ
4.ไหล่เป็นแนวตรง ปลายไหล่ขวาองค์พระเชิดขึ้นเล็กน้อย
5.เส้นไรพระศกย้อยลง มาจรดพระกรรณ
6.ยอดเส้นจีวรจรดพระกรรณ
7.ปลายพระกรรณสะบัดออกจรดพระอังสา
8.สังฆาฏิจากบนจะค่อยๆ บานผายออกขณะวิ่งลงสู่ด้านล่าง
ด้านหลัง
จะเห็นรอยมือและเม็ดทรายหยาบ

พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง
ตำหนิเอกลักษณ์
1.พระพักตร์ใหญ่เป็นวงรี
2.ปลายพระกรรณซ้ายองค์พระ ยาวแตะพระอังสา
3.เส้นจีวรยาวเลยออกไป ในบริเวณซอกแขน และข้างซอกคอ
4.ลำแขนขวาองค์พระกางเฉียงออกน้อยๆแล้วค่อยๆสอบเล็กลง พอถึงช่วงข้อศอกลำแขน จะเล็กเรียวและเบนเข้าหาตัวเรา คือมีลักษณะเป็นสโลป
5.แขนซ้ายองค์พระคล้ายขอเบ็ด ปลายตัดทู่เล็กน้อย ไม่แหลมทีเดียว
6.ข้อศอกซ้ายองค์พระคล้ายจะเป็นจะงอยแผ่วๆ
7.พระเพลาหรือหน้าตักจะโค้ง เป็นแอ่งท้องช้างจึงเรียกชื่อพิมพ์ว่า "เข่าโค้ง"
8.สีข้างซ้ายองค์พระ จะคมกว่าพิมพ์เข่าตรง และพระอุทรจะเรียบไม่โปนเป็นกระเปาะ แบบพิมพ์เข่าตรง
ด้านหลัง
ด้านหลังพระมักเรียบ อาจมีรอยมือบางๆในบางองค์

พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง
ตำหนิเอกลักษณ์
1.ไรพระศกวาดโค้งและอยู่สูง ทำให้แลดูคล้ายศรีษะเถิก
2.พระพักตร์เป็นรูปผลมะตูม มีความโค้งคล้ายหลังเต่า
3.ปลายพระกรรณขวา จรดบ่า
4.ปลายจีวรบนเลยล้ำเข้าซอกคอ
5.โคนแขนใหญ่และค่อยๆเรียวเล็กที่ต้นแขน ส่วนพระหัตถ์เล็กพาดสุดเข่า
6.พระพาหาซ้ายองค์พระแอ่นโค้งแผ่วมาก ตรงข้อศอกเป็นจะงอยยื่นออกมา
7.ปลายแขนซ้ายองค์พระโค้งเป็นขอเบ็ด ปลายพระหัตถ์ทู่
8.ปลายสังฆาฏิส่วนล่างบานผายออกเล็กน้อย
9.พระอุทรเป็นลำกระบอก โย้มาทางขวามือเราเล็กน้อย
10.กลางเข่าเป็นแอ่งโค้ง อันเป็นเอกลักษณ์ชื่อเรียกพิมพ์

พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ
ตำหนิเอกลักษณ์
1.โคนพระเกศมน ปลายพระเกศพบบ่อยๆ มักสะบัดไปทางขวามือเรา
2.ระหว่างไรพระศก กับพระพักตร์เป็นร่อง และมักมีเส้นใยบัวเป็นร่อง
3.พระพักตร์สั้น ปลายสอบเข้า
4.ปงค์ชัดๆ จะเห็นพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ ซึ่งจะเจ่อยาว
5.พระกรรณขวายาว ในองค์ชัดๆ ปลายพระกรรณแตกเป็นสองแฉก จรดบ่า
6.พระกรรณซ้าย สั้นและโค้ง ขอบพระกรรณแนบติดไรพระศก และปลายเส้นจีวร
7.ปลายพระกรรณสะบัดโค้ง แตะปลายสังฆาฏิ ที่บ่าพอดี
8.แขนซ้ายองค์พระ โค้งเป็นขอเบ็ด ตรงข้อศอกมีติ่งยื่นแหลม ลงมา
9.ไหล่กว้าง แนวไหล่เป็นเส้นตรง ปลายไหล่ซ้ายองค์พระ มักเชิดขึ้นเล็กน้อย
10.แขนขวาองค์พระเป็นสองช่วง ทิ้งตรงลงมา แล้วเป็นพระหัตถ์เลย จากนั้นสะบัดออกไปทางซ้ายมือเราเล็กน้อย

ที่มา : http://www.amulet2u.com/nang00.htm

ตำหนิพระรอด

ตำหนิเอกลักษณ์
พระรอด 1
พระรอด พระรอด
พระรอด พิมพ์ใหญ่
ตำหนิเอกลักษณ์
1.พระเกศ และพระเมาลีคล้ายฝาชี
2.พระพักตร์สอบเสี้ยม องค์ติดชัดๆพระเนตรโปนโต พระนาสิกสั้นโต พระโอษฐ์เจ่อ
3.มีเส้นแตกพาดเฉียงจากพระเนตร มาชนใบโพธิ์
4.ปลายพระกรรณ ซ้ายมือองค์พระ จะแหลมเป็นตัววี
5.พระพิมพ์ใหญ่โดยมากจะมีขอบปีกพระ
6.นิ้วหัวแม่มือขวา องค์พระจะขาด ส่วนปลายนิ้ว 4 นิ้วที่เหลือมักติดชัด
7.แขนซ้ายองค์พระแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางมักเห็นเป็นกล้าม
8.เส้นน้ำตกใต้แขนซ้ายองค์พระ มาโผล่ที่ใต้เข่าอีกจุด และในร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุด อาจมีเส้นน้ำตกแผ่วๆ ในแนวเดียวกัน
1ก. ร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุดจะมีเส้นแซมบางๆหนึ่งเส้น
2ก. ฐานอาสนะชั้นล่างสุด มี 3 ชั้น ชั้น 2 และ 3 บางทีติดกันโดยมีร่องตื้นๆ คั่นกลาง
3ก. ก้นฐานพระมีรอยบี้และมีรอยนิ้วมือติดอยู่ เกิดจากตอนดันพระออกจากพิมพ์ เป็นแบบนี้ทุกองค์
4ก. ต้นแขนขวาองค์พระค่อกเล็กน้อย คล้ายพระคง แต่อาการน้อยกว่า
5ก. พระพิมพ์ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเห็นปลายพระบาทซ้ายองค์พระคล้ายหัวงูมีร่องปากเล็กๆ ปรากฏ

พระรอด พระรอด พิมพ์ใหญ่
ตำหนิเอกลักษณ์
1.พระศกคล้ายฝาชี พระเกศ สั้นจิ่ม
2.พระเนตร โปนโต พระนาสิกบาน พระโอษฐ์วาดโค้ง
3.มีเส้นน้ำตก วิ่งจากยอดพระกรรณ ลงมาจรดใบโพธิ์
4.ปลายพระกรรณหัววก เป็นตัว V
5.ขอบจีวรตรงอก จะนูนหนา
6.ปลายนิ้วทั้ง 4 จรดฐาน ส่วนนิ้วหัวแม่มือขวา ที่พาดตักจะขาด
7.แขนซ้ายองค์พระจะหักมุมเป็นสามส่วน
8.เส้นแซมใต้ฐานอาสนะชั้นที่ 1
9.รอยกดพับที่ก้นฐาน
ด้านหลัง
โปรดสังเกต รอยกดคลึง และ รอยมือ

ที่มา : http://www.amulet2u.com/rod00.htm

ตำหนิพระซุ้มกอ

ตำหนิเอกลักษณ์
พระซุ้มกอ 1
พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง
ตำหนิเอกลักษณ์
1.ลายกนกหลักๆยังพอเห็นหลายจุด
2.พระเกศจิ่มยังพอเห็นร่องรอย
3.เส้นซุ้มประภามณฑลรอบพระเศียรยังพอเห็นแผ่วๆ
4.แอ่งและรอยเว้าของพระเนตรขวาองค์พระยังปรากฏร่องรอย
5.ปลายบนและล่างสังฆาฏิยังเห็นแผ่วๆ
6.พระหัตถ์ที่ประสานสมาธิ อยู่ในอาการยกแอ่นขึ้น
7.ตรงกลางเข่าเป็นส่วนต่ำ พระบางองค์จะเว้าเป็นแอ่ง
8.บัวอาสนะยังเห็นชัด
พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่
ตำหนิเอกลักษณ์
1.พระเกศเป็นเกศปลี ปลายแหลมสอบเข้า
2.พระเนตรรี ลอยอยู่ในเบ้า
3.พระนาสิกเป็นแท่งเหลี่ยม พระโอษฐ์เล็ก
4.พระกรรณโค้งเป็นแบบหูบายศรีเบาๆ
5.ยอดลำพระองค์ใต้คอเป็นแอ่งกระทะเบาๆ
6.กนกข้างแขนขวาองค์พระเป็นเลข 6 ฝรั่ง
7.สังฆาฏิเป็นลำเล็ก
8.ซอกแขนลึก
9.ชายจีวรยาวเข้าไปในซอกแขน
10.พระหัตถ์ขวากระดกขึ้นเล็กน้อย


ที่มา : http://www.amulet2u.com/soomkor00.htm

ตำหนิพระสมเด็จวัดระฆัง ตอนที่ 3

ตำหนิเอกลักษณ์
พระสมเด็จ 3
พระสมเด็จเกศไชโย 7 ชั้นนิยม
ตำหนิเอกลักษณ์
1.ทีเด็ด-พระเกศปลายแหลม ตรงกลางจะโปนออกแผ่วๆ
2.พระกรรณเป็นหูบายศรี พระกรรณซ้ายจะเชิดสูงกว่า
3.พระพักตร์และพระศอ ดูรวมๆคล้ายหัวไม้ขีด
4.ทีเด็ด-พระสภาพเดิมๆติดคมชัด จะเห็นโคนแขน แทงเข้าไปที่หัวไหล่
5.อกพระจะนูน ส่วนล่างถัดลงมาจะเป็นเส้นคู่พลิ้ว
6.ตรงกลางกรอบกระจก ด้านซ้ายมือเราส่วนใหญ่ มักเป็นแอ่งท้องช่างเบาๆ
7.ขอบกระจกด้านล่างขวามือของเราส่วนใหญ่ มักจะเป็นแอ่งท้องช่าง
8.ปลายฐานชั้นล่างสุดทั้งสองข้าง จะเป็นเดือยวิ่งชนเส้นครอบแก้ว
9.เนื้อหาพระละเอียด บางองค์เป็นมันลื่นคล้ายหินสบู่ ถ้าพลิกด้านหลังจะเห็นชัด
พระสมเด็จเกศไชโย 7 ชั้นนิยม

พระสมเด็จเกศไชโย 6 ชั้น อกตัน
ตำหนิเอกลักษณ์
1.พระเกศยาวแหลม ในองค์ชัด ติดเต็มๆตรงกลางจะโปร่งเล็กน้อย
2.ลำคอจะเล็กและอาจบิดได้ ถือเป็นเรื่องปกติ
3.พระอุทร พลิ้วเล็กน้อย แต่ดูแข็งกว่าพิมพ์ 7 ชั้นนิยมเล็กน้อย
4.แขนทั้งสองข้างจะหักศอกน้อยๆ
5.เข่าจะอิ่มและปลายจะเชิดงอนขึ้น
6.รอยเหนอะที่ข้างฐาน
7.รอยแตกรานบนผิวเป็นเหลี่ยมเป็นมุม
พระสมเด็จเกศไชโย 6 ชั้น อกตัน

พระสมเด็จ เกศไชโย 7 ชั้นนิยม
ตำหนิเอกลักษณ์ด้านหน้า
1.พระเกศเป็นลำยาว ในพระสวยจัดๆตรงกลางโป่งออกบางๆคล้ายเปลวเทียว
2.พระพักตร์ และพระศอคล้ายหัวไม้ขีดในองค์ชัดๆ ตรงกลางพระพักตร์ จะเห็นเป็นสันนูน
3.วงแขนหักโค้งเบาๆพองาม แลคล้ายถ้วยไวน์
4.พระอุระ + พระอุทร แลรวมๆคล้ายซี่ฟัน สังเกตให้ดี พระอุทรแลคล้ายรากฟันแต่จะไหวพริ้ว อ่อนช้อย
5.กรอบกระจกด้านข้างองค์พระ โดยมากจะไม่เรียบ แต่จะเป็นแอ่งท้องช้างบางๆ
6.ใต้กรอบกระจก ในองค์ชัดๆจะเห็นเส้นทิว ยาวบางๆ 2-3 เส้น
7.การแตกลายงา จะเป็นเหลี่ยมมากกว่าการแตกยิบแบบชามสังกะโลก
ตำหนิเอกลักษณ์ด้านหลัง
1.ขอบพระโดยมากจะมน
2.รอยแตกรายงามักปรากฏที่ขอบพระ
3.ผิวจะลื่นเนียน คล้ายหินสบู่ไม่สากมือ

ที่มา : http://www.amulet2u.com/somdej02.htm

ตำหนิพระสมเด็จวัดระฆัง ตอนที่ 2

ตำหนิเอกลักษณ์
พระสมเด็จ 2
สมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑใหญ่ พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑใหญ่
ตำหนิเอกลักษณ์
1.โคนพระเกศใหญ่ ปลายพระเกศจรดยอดซุ้มครอบแก้ว
2.พระพักตร์กลมปนรี
3.พระกรรณแนบชิดพระพักตร์และสอบเฉียงลงมา
4.หัวไหล่ซ้ายองค์พระจะสูงกว่าหัวไหล่ขวา
5.สังฆาฏิจะสั้นเป็นแบบสิงห์สอง
6.แขนขวาองค์พระกาง
7.ปลายเข่าซ้ายองค์พระจะเชิดขึ้น
8.ฐานชั้นบนสุดจะมีร่อง
9.ฐานชั้นล่างสุดเป็นฐานเขียง

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิ ไม่มีหู (แบบแขนแคบ) พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิ ไม่มีหู (แบบแขนแคบ)
ตำหนิเอกลักษณ์
1.รอยพับครีบที่ขอบควรต้องมี ไม่ที่ใดก็ที่หนึ่ง
2.พระเกศเล็ก และยาวเรียวจนยอดซุ้มครอบแก้ว
3.พระพักตร์ทรงรี บางองค์จะเห็นจมูกรำไร
4.ลำพระองค์เป็นเส้นคู่
5.วงแขน จะเป็นวงแคบ ตรงข้อศอกจะหักเป็นมุมน้อยๆ
6.หัวเข่าขวา องค์พระมักตัดเฉียง เกิดจากการซ้อนเข่า
7.ซุ้มครอบแก้วจะเล็กบาง
8.ฐานชั้นบนสุดและชั้นกลางจะเป็นลำคม ส่วนฐานชั้นล่างสุดจะตัน

สมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ แบบซุ้มครอบแก้วใหญ่
ตำหนิเอกลักษณ์
1.พระพักตร์ทรงรี
2.เส้นซุ้มครอบแก้วพิมพ์นี้ใหญ่ และโย้น้อยๆ แบบพระฝั่งวัดระฆัง
3.อกทรงวีต้อ
4.วงแขนโย้
5.มีเส้นหัวเข่าวิ่งจรดข้อศอก
6.ฐานชั้นกลางพอเห็นเค้าฐานขาสิงห์
7.พลิกด้านหลัง ด้านบนขวามือ ยังพอเห็นร่องรอยปาดแผ่วๆ เริ่มจากทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ ลงไปทางตะวันตกเฉียงใต้
สมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่ แบบซุ้มครอบแก้วใหญ่

พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑใหญ่ พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑใหญ่
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑใหญ่
ตำหนิเอกลักษณ์
1.พระเกศโคนใหญ่ และสอบเข้าปลายแหลมแบบขั้วฟักทอง องค์พิมพ์ติดชัดๆจะเห็นปลายเกศจรดซุ้มครอบแก้ว
2.พระกรรณแนบพระพักตร์และสอบเข้า
3.แขนขวาองค์พระค่อนข้างกาง
4.สังฆาฏิเป็นแท่งเหลี่ยมยาว
5.หัวเข่ามน ปลายเชิดขึ้น
6.ฐานชั้นบนสุดโดยมากมักเป็นร่องตรงกลาง
7.กลางฐานชั้นกลางมักเป็นสัน
8.ฐานชั้นล่างสุดจะเป็นฐานเขียง

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิ มีหู (แขนโย้)
ตำหนิเอกลักษณ์
1.ขอบพระมักมีครีบม้วนพับ เป็นเอกลักษณ์ ที่พบบ่อยในพระสมเด็จ บางขุนพรหม
2.พระเกศเล็กยาว ทะลุซุ้ม
3.พื้นชั้นใน หลุบลงต่ำ
4.ซุ้มครอบแก้ว เล็กและชัน
5.เป็นพระมีพระกรรณ แต่พระกรรณด้านซ้ายองค์พระ มักติดชัดกว่า
6.แขนขวาองค์พระจะโย้ วงแขนไม่กลมอย่างพิมพ์ สังฆาฏิ ทั่วไป
7.ลำพระองค์ทึบตัน ไม่เป็นร่องอย่างพิมพ์สังฆาฏิ ทั่วไป
8.ฐานชั้นกลาง ถ้าพิมพ์ติดชัดๆ จะเห็นเป็นฐานสิงห์ ในองค์นี้พอเห็นร่องรอยที่ปลาย ฐานซ้ายองค์พระ (ขวามือเรา)

ที่มา : http://www.amulet2u.com/somdej01.htm

ตำหนิพระสมเด็จวัดระฆัง

ตำหนิเอกลักษณ์
พระสมเด็จ 1
พระองค์นี้ไม่ธรรมดา สมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่อกวี
ตำหนิเอกลักษณ์
1.พระเกศค่อนข้างเขื่อง
2.พระพักตร์เกือบกลม พระกรรณขวามักติดรำไรเห็นเป็นลำโค้ง จรดบ่า
3.มีลำพระศอ
4.พระอุระเป็นแบบอกวี
5.ยอดซอกแขนซ้ายองค์พระจะสูงกว่ายอดซอกแขนขวา
6.รอยจีวรที่พาดจากแขนลงมาที่เข่า
7.เข่าแม้จะสึกเลือน แต่ยังเห็นร่องรอยการทับซ้อน ของเข่าซ้ายเหนือเข่าขวา
8.โปรดสังเกตเส้นแซมใต้หน้าตัก
9.ฐานชั้นกลางเป็นฐานขาสิงห์ ขอบบนจะนูนและพับเข้า
สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ อกวี

สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่
" ทีเด็ด " พิมพ์ทรง สมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่
ตำหนิเอกลักษณ์
1.พระเกศจะเป็นสโลปลาดลงแล้วชอนขึ้นที่ปลาย
2.พระกว่าครึ่งคางจะแหลม นั่นคือส่วนพระศอที่ติดเลือนๆ
3.พระพิมพ์ติดเต็มๆ มักเห็นเส้นจีวรจะพาดผ่านข้อศฮก
4.พระราว 60-70% เส้นซุ้มครอบแก้วซีกซ้ายมือเรามัก โปนออกน้อยๆ
5.สังเกต ดีๆพระบาทซ้ายจะซ้อนพระบาทขวายังผลให้เห็นปลายเข่าขวาองค์พระเฉียงขึ้น
6.ฐานชั้นกลางเป็นฐานขาสิงห์
7.พระราว 10-20% จะตัดขอบไม่ชิด บางองค์เห็นเป็นขอบกระจก

" ทีเด็ด " ผิวพระ สมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่
ตำหนิเอกลักษณ์
1ข. พระสมเด็จวัดระฆังโดยมากเป็นพระล้างผิว คราบรักจึงยังคงหลงเหลือไม่จุดใดก็จุดหนึ่ง
2ข. พระผิวเดิมๆบางองค์ลงรักอย่างเดียว แต่บางองค์ลงรักและปิดทอง รักทอง เป็นอย่างพระบูชารัตนฯ
สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่อกวีชะลูด
ตำหนิเอกลักษณ์
1.พระเกศเป็นท้องช้างแอ่นโค้งเบาๆ
2.พระพักตร์รี
3.พระกรรณขวาองค์พระยื่นออกเห็นค่อนข้างชัด ส่วนพระกรรณซ้ายองค์พระจะแนบชิดพระพักตร์
4.วงแขนงดงามมากๆ โย้นิดๆ ตรงกลางแขนโผล่ออก น้อยๆถ้าจำได้แม่นก็จะ ช่วยอ่านพระพิมพ์ใหญ่ได้ขาด
5.พระพิมพ์นี้ส่วนใหญ่ ข้างซอกอกด้านซ้ายองค์พระจะเป็นมุมคมคล้ายเป็นรอยขอบสังฆาฏิ
6.ตรงข้อศอกด้านซ้ายองค์พระจะมีเส้นชายจีวรพาดลงมาที่ตัก
7.ดูดีๆตรงนี้เป็นทีเด็ดที่มีในของแท้เท่านั้น พระบาทซ้ายองค์พระจะช้อนอยู่เหนือพระบาทขวา โดยจะเห็นยื่นออกมาน้อยๆ
8.ฐานชั้นบนสุด ซีกปลายด้านซ้ายมือเราจะมน แต่ปลายด้านขวาจะแหลม
9.ฐานชั้นกลาง เป็นฐานขาสิงห์ชัดเจน ขอบขาสิงห์จะคม แล้วม้วนตัวขึ้นเป็นสโลป ตรงนี้จำให้แม่น เพราะพบในของแท้เท่านั้น
10. ทีเด็ดอีกจุด พบในพระส่วนใหญ่ ตรงกลางฐานชั้นล่างสุด จะเป็นร่องเบาๆตามแนวยาว
11. ทีเด็ดแถมอีกจุด พระพิมพ์ใหญ่วัดระฆังแปลกอยู่อย่าง ส่วนใหญ่ก็ว่าได้ ตรงกลางเส้นซุ้มหวายด้านซ้ายมือเราไม่ตรงเสียเลยทีเดียว แต่จะโปนออกเล็กน้อย
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่อกวีชะลูด

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่อกทรงกระบอก
ตำหนิเอกลักษณ์
1.รูปทรงพระค่อนข้างต้อ เส้นหวายกว้างโปร่ง
2.พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเกศโคนหนาสอบเรียวขึ้นคล้ายขั้วฟักทอง
3.มีลำพระศอเบาๆ
4.พระอังสาซ้ายองค์พระ จะยกสูงกว่าด้านตรงข้ามเล็กน้อย
5.วงแขนจะโย้ไปทางซ้ายมือเรา
6.ลำพระองค์มีรูปค่อนไปทางทรงกระบอก
7.ในองค์สึกเลือน ฐานชั้นกลางยังเห็นเป็นฐานขาสิงห์แผ่วๆ
8.พระพิมพ์นี้ถ้าพิมพ์ติดดีพอควร จะมีเส้นแซมระหว่างเข่ากับฐานชั้นแรก
ด้านข้าง
พระองค์นี้มีเนื้อหยาบแบบกระยาสาตร ขอบข้างพระจะเห็นรอยอ้ารานกว้างใหญ่ อย่างขนมตุ่บตั่บ หรือกระยาสาตร
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่อกทรงกระบอก พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่อกทรงกระบอก

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ อกวีทรงชลูด
ตำหนิเอกลักษณ์
1.แนวองค์พระจะเอียง ทำมุมกับแนวดิ่ง ไปทางซ้ายมือราว 10 องศา
2.พระเกศยาวโค้ง อ่อนช้อยน้อยๆ จรดซุ้มครอบแก้ว
3.พระพักตร์เป็นทรงรี สอบเข้าหาคาง
4.พระอุระค่อยๆ สอบเข้าหาพระอุทร เป็นรูป ตัว "V"
5.แขนทั้งสองข้าง จะโค้งแผ่วๆ ทำให้ดูไม่แข็งกระด้าง
6.มีเส้นชายจีวรพาดผ่าน ข้อศอกซ้ายองค์ พระลงมาที่ตัก
7.ส่วนแข้ง ถ้าไม่สึกมาก จะเห็นแข้งซ้ายองค์พระ นูนแผ่วๆคล้ายทับเข่าขวา
8.ฐานชั้นกลางเป็นฐานขาสิงห์ ปลายสองข้างจะแหลม และถ้าไม่สึกมาก จะเห็นเส้นขอบขาสิงห์เป็นสัน

ที่มา : http://www.amulet2u.com/somdej00.htm

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

แนวทางการศึกษาพระเครื่องไทย

วิธีการดูพระเหรียญปั๊มโลหะ

ปัจจุบัน นี้ พระเหรียญหลายๆคนบอกเล่นยากมาก เพราะทำเก๊ได้เหมือนของแท้เหลือเกิน โดยเฉพาะเก๊คอมพิวเตอร์ แต่ในความเป็นจริงเหรียญทุกชนิดจะดูง่ายขึ้น ถ้าเรามีหลักการในการดูดังนี้

1. เมื่อ พบพระเหรียญ ให้ดูด้วยตาเปล่าก่อนว่าเหรียญบวมหรือไม่ ถ้าบวมนูนตรงกลางหรือบิดผิดธรรมชาติ ก็คือ เก๊แน่นอน ยกเว้นเหรียญที่นูนจากแม่พิมพ์เอง เช่น เหรียญหลังเต่าเจ้าคุณนร ฯ

2. เมื่อ ดูว่าเหรียญไม่บวมแล้วก็ให้ดูตำหนิเทียบกับหนังสือพระเครื่องทั่ว ๆ ไปตามที่เราได้เรียนรู้และจำได้ว่าถูกพิมพ์หรือไม่ ถ้าเหรียญผิดพิมพ์หรือไม่มีตำหนิตรงตามของแท้มาตรฐาน ก็คือ เก๊แน่นอน จากการแกะบล็อคใหม่นั่นเอง แต่ถ้าเหรียญถูกพิมพ์ก็จะมีอีก 2 กรณีให้พิจารณาต่อ คือ
1.แท้
2.เก๊คอมพิวเตอร์

3. การ ที่เราจะแยกพระแท้กับพระเก๊คอมพิวเตอร์แยกได้ง่ายมาก และไม่ต้องดูตำหนิแล้ว ให้ดูเหรียญโดยทั่ว ๆ ไปก่อน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บล็อกเก๊คอมพิวเตอร์จะมีพื้นผิวเหรียญที่ไม่ตึงเรียบ และจะมีจุดเนื้อเกินแตกต่างจากเหรียญแท้เสมอ หลังจากนั้นค่อยพิจารณาดูองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปของเหรียญ เช่น อายุของโลหะ รมดำหรือกะไหล่ ว่ามีความเก่าหรือไม่ ในส่วนนี้เราจำเป็นต้องคุ้นเคยกับเหรียญแท้ๆ มาก่อนก็จะทำให้แยกแยะได้ง่ายขึ้น

จุดพิจารณาในการดูเหรียญปั๊มโลหะ

1. อายุของโลหะต้องมีความเก่าตามอายุการสร้างของเหรียญ เช่น เหรียญ พ.ศ. 2460 ทองแดงไม่เก่าก็คือ เก๊นั่นเอง

2. กระไหล่หรือรมดำ ต้องเก่าตามอายุเหรียญนั้นๆ

3. เหรียญสึก ควรสึกเฉพาะส่วนที่นูนของเหรียญเท่านั้น ส่วนลึกสุดของเหรียญต้องคมชัด และดูได้ว่าเป็นเหรียญปั๊มโลหะ

4. การ ดูรอยตัดปั๊มขอบเหรียญ ถ้าไม่มีหรือเป็นรอยตะไบถือว่าไม่ใช่เหรียญปั๊ม ยกเว้นเหรียญปั้มบังคับปลอก(บังคับขอบเหรียญ) เช่นเหรียญ ลพ.เดิม ปี 2482 ขอบ จะเรียบ หรือเหรียญที่ตะไบขอบเช่นเหรียญ ลพ.คง วัดบางกระพ้อม บล็อกขอบตะไบ แต่เหรียญพิเศษแบบนี้จะมีไม่มาก แต่ถ้ามีรอยตัดปั๊มอาจเก๊คอมพิวเตอร์ก็ได้

5. เหรียญห่วงเชื่อม รอยเชื่อมเงินต้องมีความเก่า

6.ไม่ควรเช่าเหรียญที่เลี่ยมพลาสติกไว้เพราะดูลำบากอาจหลอกตาได้ ยกเว้น เหรียญดูง่ายจริงๆ

วิธีการดูพระเครื่องประเภทรูปเหมือน

รูป เหมือนปั้ม การดูพระรูปเหมือนปั๊มให้ใช้หลักการดูเหรียญปั๊มได้เลย เพราะพระหล่อปั๊มคือ พระโลหะปั๊มเป็นรูปองค์เท่านั้น ถ้าปั๊มแบนเป็นแผ่นก็คือเหรียญปั๊มนั่นเอง เช่น รูปเหมือนปั้มหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค รุ่นก้นระฆัง

1. รูปเหมือนฉีด การดูพระรูปเหมือนฉีดให้ดูพิมพ์รวมเป็นหลัก พระทุกองค์จะต้องมีรูปร่าง เท่ากันทุกองค์ 100% แต่ไม่คมชัดเหมือนพระปั๊ม บริเวณก้นองค์จะมีรอยตะไบบริเวณรอยฉีดโลหะเข้าทุกองค์ เช่น พระหล่อใบโพธิ์ เจ้าคุณนรฯ ปี 13
2. รูปเหมือนหล่อโบราณ มี 2 ชนิด คือ

* เบ้าทุบ ไม่มีรอยตะเข็บข้าง แต่จะมีรอยตะไบเดือยที่ก้นทุกองค์ เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์นิยม
* เบ้าประกบมีรอยตะเข็บซ้าย-ขวาข้างองค์พระทุกองค์ ก้นจะมีรอยเนื้อเทไม่เต็ม เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิมพ์ขี้ตา

จุดสังเกตสำคัญ

1. พิมพ์หรือรูปร่างโดยรวมของพระรูปหล่อจะต้องเหมือนกัน
2. รูปหล่อที่มีโค๊ด โค๊ดจะต้องคมชัดเพราะใช้ตอกด้วยโลหะ
3. รอยปั๊มหรือรอยตะไบ ถ้าเป็นพระที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรที่จะไม่มีความคมและไปในทางเดียวกันไม่สับสน

หลักพิจารณาพระแท้ "พิมพ์ถูก เนื้อใช่ ความเก่ามี"

1. พิมพ์ถูก ก็แท้แล้ว 50% ต้องจำพิมพ์พระที่จะเช่าบูชาได้ทุกครั้งก่อนที่จะเช่าบูชาเสมอ เพราะว่าถ้าพิมพ์ถูก โอกาสพระแท้ก็มี 50% แล้ว และถ้าพระผิดพิมพ์ก็เก๊ 100% เลย เพราะฉะนั้น ต้องหมั่นศึกษาพิมพ์พระจากตำราต่าง ๆ ให้แม่นยำ หรือถ้าศึกษาจากองค์จริงได้ก็ยิ่งดีครับ

2. เนื้อใช่ ก็แท้แล้ว 25% เพื่อน ๆ ต้องจำสูตรเนื้อพระแต่ละรุ่นให้คุ้นเคย โดยศึกษาจากองค์จริงเท่านั้น จะดูจากรูปไม่ได้ เช่นพระเนื้อทองเหลืองของพระแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน กระแสโลหะและผิวไฟก็ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นถ้าเนื้อถูกกระแสและผิวไฟถูกก็แท้ขึ้นอีก 25% ครับ

3. ความเก่ามี ก็แท้แล้ว 25% พระ เครื่องที่มีอายุต้องมีความเก่าสมอายุด้วย ถึงแม้จะเป็นพระที่เก็บรักษาดี ไม่ถูกจับต้องเลย ก็ต้องใหม่แบบเก่า ๆ คือไม่มีความแวววาวแล้ว เช่น พระหูยานลพบุรี กรุใหม่ ปี 08 เป็นต้น

ถ้า พิจารณาพระทุกองค์ได้ครบถูกต้อง 3 ข้อนี้ก็เป็นพระแท้ดูง่าย ควรค่ากับการสะสมครับ

ภูมิคุ้มกันพระเก๊
ก่อนอื่นขอขยายความเรื่อง"พิมพ์ถูก" ก่อนนะครับ เพื่อน ๆ คงเคยได้ยินคำพูดว่า "พระผิดพิมพ์"บ่อย ๆ ใช่ไหมครับ ซึ่งก็มีความหมายเดียวกันกับพระเลียนแบบหรือพระเก๊นั่นเอง แล้วคำถามต่อมาก็คือ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าถูกพิมพ์หรือผิดพิมพ์ การสร้างพระทุกชนิด ทุกครั้ง จะต้องมีแม่พิมพ์เสมอ แต่อาจจะมีหลายแม่พิมพ์ในพระชนิดเดียวกันก็ได้ เพราะฉะนั้นต้องศึกษาว่าพระชนิดนั้น ๆ มีกี่แม่พิมพ์หรือกี่บล็อก ถ้าเป็นพระรุ่นใหม่ พระที่สร้างมาจากแม่พิมพ์เดียวกันจะต้องมีรายละเอียดในองค์พระนั้น ๆ เหมือนกัน100% เช่น ตุ่มนูน, ลายเส้นต่าง ๆ , รอย เนื้อเกิน เป็นต้น ฉะนั้นพระที่มีลักษณะใด ๆ ที่แตกต่างจากพระที่มาจากแม่พิมพ์เดียวกัน ย่อมเป็นพระผิดพิมพ์หรือมาจากแม่พิมพ์อื่นหรือเก๊นั่นเอง ยกเว้น การเปลี่ยนแปลงในพิมพ์ที่อธิบายด้วยเหตุผลได้

การพิจารณาพระประเภทเนื้อชิน
พระเนื้อชินแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆดังนี้

1. ชินเขียว-สนิมไข เช่น พระหูยานชินเขียว
2. ชินเงินแก่เงิน-สนิมตีนกา เช่น พระกรุวัดราชบูรณะ อยุธยา
3. ชินงินแก่ตะกั่ว เช่น พระกำแพงขาว กำแพงเพชร
4. ตะกั่ว-สนิมแดง เช่น พระร่วงหลังรางปืน สุโขทัย
พระชินเขียวเป็นพระที่นิยมเล่นกันน้อยในปัจจุบันนี้ คงนิยมกันในส่วนพระชินเงินและพระตะกั่วสนิมแดง ซึ่งยังคงมาแรงในค่านิยมปัจจุบัน


แนวทางการศึกษาพระเนื้อชิน
ใช้หลักการมาตรฐานของการศึกษาพระเครื่องทั่วไปคือ พิมพ์ต้องถูกต้อง เนื้อต้องถูกต้อง และต้องมีความเก่าตามอายุพระ โดยศึกษาตามขั้นตอนคือ

1. พิมพ์ พระ พระเนื้อชินแต่ละกรุนั้น จะมีแม่พิมพ์เฉพาะแต่ละกรุนั้นๆ ฉะนั้นก่อนอื่นจะต้องศึกษาข้อมูลก่อนว่า พระที่ขึ้นแต่ละกนุนั้นมีกี่พิมพ์ กี่ชนิด อย่างไรบ้าง เช่น พระหูยาน ลพบุรี แบ่งเป็นพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก เป็นต้น พระเนื้อชินที่ขึ้นการกรุเดียวกัน ก็จะมีรูปร่างแบบพิมพ์ที่เหมือนกัน ถึงแม้จะไม่เหมือนเหรียญปั้มรุ่นใหม่ก็ตาม แต่อย่างไรส่วนใหญ่ของพิมพ์นั้นต้องเหมือนจะต่างกันไดเฉพาะส่วนที่เป็นผลมา จากการเทโลหะ เช่น รอยเทโลหะไม่เต็มแม่พิมพ์หรือเนื้อปะเกินในแม่พิมพ์เป็นต้น
2. พระเนื้อชิน จะมีส่วนประกอบหลักคือ ตะกั่วผสมกับโลหะต่างๆ เช่น เงิน, สังกะสี หรือแร่พลวงเป็นต้น เพราะฉะนั้นเนิ้อชินของแต่ละกรุก็จะมีลักษณะของเนื้อชินไม่เหมือนกัน เช่น กรุวัดราชบูรณะเป็นชินเงินแก่เงินผิวจะเป็นปรอทขาวเคลือบอยู่ 1 ชั้น บนผิวในองค์พระที่สวยเหมือนพระที่เทใหม่ๆ แต่ถ้าพิจารณาดูให้ดีก็จะมีความแห้งในผิวปรอทนั้นๆ หรือพระชินราชใบเสมา พิษณุโลก ก็จะเป็นชินแก่ตะกั่วเป็นต้น
3. อายุ ความเก่า พระกรุเนื่องจากสร้างมานับร้อยปี เพราะฉะนั้นทั่วๆองค์พระก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอย่างเป็นธรรมชาติ มีรอยปริระเบิดจากภายในซึ่งในพระเก๊จะทำไม่ได้ เนื่องจากอายุไม่ถึงนั้นเอง จะเห็นว่าการศึกษาพิจารณาพระเนื้อชินนั้นไม่ยากอย่างที่คิด โดยใช้หลักการเดียวกันคือ "พิมพ์ถูก เนื้อใช่ มีอายุความเก่า"

ข้อควรระวังในการศึกษาสะสมพระเนื้อชิน

ใน การศึกษาพระกรุเนื้อชินนั้น ไม่ใช่เพียง "พิมพ์ถูก เนื้อใช่ ความเก่าใช่" แต่อย่างเดียวก็หาไม่ กลับจะต้องระมัดระวังสิ่งเหล่านี้ให้แม่นในใจต่อมา "ห้ามลืมเด็ดขาด"

1. พระแท้แต่ผิดกรุ เพราะพิมพ์เดียวกัน หรือคล้ายกัน ทำให้เช่าผิดราคาได้ เช่น พระพุทธชินราชใบเสมา จ.พิษณุโลก กับ สวรรคโลก เป็นต้น

2. พระแท้ แต่หักชำรุด โดยเฉพาะพระหักคอ แต่ซ่อมไว้ดี ขอให้เพื่อนๆ พิจารณาบริเวณคอทุกครั้งด้วยครับ

3. พระแท้ไม่หักแต่ซ่อมเสริม เช่นพระเทไม่เต็มพิมพ์ พระแต่ง การซ่อมจะทำให้พระสวยขึ้น แต่ราคาจะไม่เท่าพระสภาพเดิมๆ และสวยครับ
4. พระแท้ ถูกกรุ ถูกพิมพ์ แต่ผิดราคาสูงเกินไป


แนวทางการบูชาสะสมพระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้

1. พระชุดเตารีดใหญ่-กลาง-เล็ก ปี 2505น่า เก็บบูชามาก แต่ให้เลือกเฉพาะองค์ที่มีขี้เบ้าเท่านั้น ถ้าไม่มีขี้เบ้าก็ขอให้เป็นพระดูง่าย เพราะถ้าไม่มีขี้เบ้า ต่อไปภายหน้าอาจพิจารณา เก๊-แท้ ได้ยาก เพราะพระเก๊ทำได้ดีมากๆ
2. พระชุดเหรียญ รุ่น 1-3 และเหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ควรเก็บบูชาเฉพาะองค์ที่ดูง่าย ไม่ผ่านการล้างผิวมาหรือเลี่ยมพลาสติกไว้ เพราะพิจารณายาก ของเก๊ทำได้เกือบ 100%
3. พระรูปหล่อก้นลายเซ็นต์ ปี 08 และเบตง 1 ปี 05น่าบูชาสะสมมาก เพราะมีโค้ตให้พิจารณา ส่วนใหญ่จะดูง่าย ควรเลือกองค์ที่สวยสมบูรณ์ไว้
4. พระเนื้อว่าน รุ่นแรก ปี 2497ควรเช่าบูชาองค์ที่ดูง่ายและแห่เซียนพระ 10 คน ถ้าทุกคนบอกว่าแท้ก็ OK เลยครับ เพราะท่านมีหลายโซนเนื้อ ทำให้พิจารณาลำบาก

และสุดท้าย พระทุกองค์ต้องมีการรับประกัน 100% ว่าแท้จากบุคคลหรือศูนย์ที่เชื่อถือได้ด้วยครับ

หลักการพิจารณาเซียนพระ

ใน หัวข้อนี้จะแนะนำวิธีดูเซียนแท้หรือผู้ที่ชำนาญพระเครื่องที่เราควรให้ความ เชื่อถือไว้เป็นที่ปรึกษาในการเช่าบูชาพระเครื่องของเพื่อนๆ กัน

1. ไม่มีเซียนพระคนใดชำนาญพระเครื่องทุกชนิด เพราะฉะนั้นใครบอกว่ามีความชำนาญพระเครื่องทุกชนิดให้ระมัดระวังไว้อย่างมาก
2. เซียนพระที่ชำนาญพระเครื่องประเภทต่างๆ เช่น พระกรุ พระเกจิ รูปหล่อเนื้อผง เหรียญปั้ม ฯลฯ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะถูกต้อง 100% ทั้ง หมด เพราะการชำนาญพระเครื่องนั้น ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในการพบเห็นพระเครื่องประเภทนั้นๆ รวมถึงทักษะในการศึกษาพระเครื่องประเภทนั้นๆ ด้วย
3. เซียน พระที่ไม่ศึกษาอ่านหนังสือ หรือไม่ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะเป็นเซียนมาจากประสบการณ์การพบเห็นพระมาก ไม่ได้ดูจากพื้นฐานการดูพระแท้ อาจจะพาหลงทางได้ เช่นดูเหรียญเก่าแท้แต่เก็บดีมากเหมือนใหม่ อาจจะดูเป็นพระเก๊ได้ครับ
4. เซียน พระที่เล่นพระเครื่องคนเดียว ไม่มีกลุ่ม ไม่มีพวก ให้ระมัดระวังไว้ เพราะอาจเล่นพระหลงทาง พาท่านหลงทางเล่นพระผิดแนวทางได้โดยง่าย
5.
เซียนพระ ที่ติดอบายมุข เช่น ติดการพนัน ติดผู้หญิง จะมีรายจ่ายมากผิดปกติ เมื่อเงินขาดมือ จะไม่มีสมาธิในการดูพระ เพื่อนๆ อาจจะเสียหายได้
6. เซียนพระที่มีจิตใจคับแคบ กลัวลูกค้าของตนจะไปเช่าพระคนอื่น เลยพาลสวดพระคนอื่นเก๊ตลอด เพื่อนๆ จะหลงทางได้ ถ้าเชื่อข้อมูลแบบนี้

วิธีการแห่พระเครื่อง

การแห่พระเครื่อง
คือการนำพระเครื่องที่เราสงสัยว่า แท้ หรือ เก๊ ไปไห้เซียนพระที่สนามพระดูว่า แท้ หรือ เก๊

ปัญหาของการแห่พระ

1. จะต้องแห่กับเซียนแท้ หรือเข้าสนามท่าพระจันทร์

2.
เซียนพระที่ดูให้ จะให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับเราหรือไม่ ?

วิธีการแห่ที่ถูกต้อง

1. ต้องหาเซียนพระแท้ก่อน หรือเข้าสนามท่าพระจันทร์
2. นำพระที่ต้องการแห่ให้เซียนพระดู โดยเสนอราคาขายด้วยเป็นราคาปัจจุบัน
3. ถ้าพระแท้หรือเซียนพระดูว่าแท้ ก็จะต่อรองราคา เพราะเซียนพระจะเช่าบูชาในราคาประมาณ 30-50 % ของราคาตลาด
4. ถ้าเราไม่ต้องการให้เช่าบูชา ก็ลดราคาลงเล็กน้อยเมื่อเซียนต่อราคาไม่ได้ก็ไม่ซื้อ เราก็นำพระกลับได้
5. พระที่ผ่านการแห่หลายครั้ง แล้วมีเซียนพระสนใจมากทุกครั้งก็แสดงว่าเป็นพระแท้ ดูง่าย
6. ถ้าพระที่แห่มีเซียนสนใจบ้าง ไม่สนใจบ้าง นั่นคงเป็นพระดูยากหรือพระที่วงการไม่นิยม
7. ถ้าพระที่แห่ไม่มีเซียนสนใจเลยก็ เก๊ แน่นอน หรือเป็นพระที่ไม่มีราคา หรือพระที่วงการไม่เล่นกัน

ท่านทราบหรือไม่

1. ไม่มีเซียนพระคนใดชำนาญพระเครื่องทุกชนิด
2. เซียนพระที่ชำนาญพระเครื่องชนิดนั้นๆ เช่น พระกรุ พระเกจิสายตรง เนื้อดิน เหรียญ ก็ไม่ใช่ว่าจะดูพระได้ถูกต้อง100% ทุกองค์
3. การแห่พระเครื่องหรือเช็คพระ ควรแห่ให้ถูกวิธี แล้วนำข้อมูลกลับมาวิเคราะห์ด้วยวิจารณญาณว่า แท้ หรือ เก๊ด้วยตัวของท่านเอง
4. พระแท้หรือเก๊ คนตัดสินก็คือเจ้าของพระโดยใช้ข้อมูลจากเซียนพระผู้ชำนาญสายนั้นๆ หลายๆ ท่าน
5. อย่าเล่นพระด้วยหู ควรเล่นด้วยตาของเราเอง หรือปรึกษาเซียนพระสายนั้นๆ หลายๆ ท่าน
6. พระ เครื่องมีมูลค่าเพราะมีผู้เช่าบูชา ไม่ใช้เพราะเจ้าของพระ เช่น พระสมเด็จแท้แต่ดูยาก ไม่มีผู้เช่าบูชาก็เสมือนไม่มีมูลค่า แต่เจ้าของพระมักตีราคาไว้หลอกให้ตัวเองสบายใจต่างหาก
7. ควรเช่าบูชาพระเครื่องที่มีอนาคตดี ไม่ใช่เช่าบูชาตามเราชอบ มิฉะนั้นท่านจะขาดทุนทุกครั้งที่เช่าบูชา

ข้อเตือนใจในการเล่นพระทุกชนิด

1. พระ ที่ราคาถูกผิดปกติ ควรระมัดระวัง เพราะอาจเป็นพระที่มีปัญหา เช่น พระดูยาก พระเก๊ พระซ่อม พระชำรุดหรือพระที่ถูกฃโมยมา ดังนั้นควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
2. พระที่เซียนขายผิดราคา เพราะอาจเป็นพระที่มีปัญหาเพราะวิสัยเซียนเรื่องตกควายเป็นเรื่องยากเพราะสามารถแห่ขายได้ทั่วสนามพระอยู่แล้ว
3. พระ แอบขาย เช่น มีคนเอาพระมาขายเงียบ ๆ แล้วกระซิบว่า อย่าบอกใครนะเป็นพระผู้ใหญ่ร้อนเงินให้เอามาขายให้ ถ้าคนอื่นรู้จะเสียชื่อ ที่จริงแล้ววัตถุประสงค์ส่วนใหญ่จะแอบขายเงียบๆ ต่างหากละครับ
4. พระ ร้อนขายเพราะเสียพนัน เสียบอล มักจะเป็นการอ้างมากกว่าเพราะคนเล่นพระมักเล่นเป็นกลุ่ม เมื่อมีปัญหามักจะผ่านกลุ่มก่อน มีแต่เซียนแอบเท่านั้น มักจะฉวยโอกาสนี้แอบขายเพราะพระมีปัญหาต่างๆครับ
5. "เล่นพระ อย่าโลภ"โลภเป็นโดนทุกครั้งนะ จะบอกให้

เซียนพระที่ควรหลีกเลี่ยง

เซียน พระในวงการมีมากมาย หลายระดับชั้น เซียนพระแต่ละคนมีความชำนาญในพระเครื่องแตกต่างกันออกไป แต่เซียนพระต่อไปนี้เพื่อนๆ ควรหลีกเลี่ยงห่างให้ไกลๆ

1. เซียนที่พูดว่าตนเองดูพระได้เก่งและขาดทุกชนิด
2. เซียนพระที่ดูพระแท้หรือเก๊ แต่ไม่สามารถบอกข้อมูลได้ว่าแท้หรือเก๊อย่างไร หรือตอบว่าเชื่อผมเถอะผมเล่นมานานแล้ว
3. เซียนพระที่ให้ข้อมูลพระองค์เดิมแต่ไม่เหมือนกันบ่อยๆแสดงว่าข้อมูลไม่ดีจริง
4. เซียนพระที่เล่นพระมานานหลายสิบปี แต่ยังเล่นพระย่อยๆ อยู่
5. เซียนพระที่สามารถโกหกบ่อยๆ หรือพูดไม่ตรงบ่อยๆ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
6. เซียนพระที่ยืมเงินลูกค้าบ่อยๆ โดยอ้างว่าจะนำเงินไปเช่าพระมาขายให้ แล้วกลับไม่ทำอย่างที่พูด พูดจาโยกโย้แต่ไม่คืนเงิน
7. เซียนพระที่พูดจาใหญ่โต แต่ห้อยพระเก๊
8. เซียนพระที่รับประกันแท้ 100% แต่เวลาคืนพระที่เก๊ชอบถามว่าใครดูเก๊ ไม่ยอมคืนเงิน หรือให้เปลี่ยนพระอื่นให้แทนการคืนเงิน
9. เซียนพระที่ขายพระรับประกันแท้ 100% ให้เพื่อนๆ สัก 2 ครั้งแต่เก๊ติดต่อกัน แล้วไม่คืนเงินสดให้ เลิกคบได้เล๊ย รับรองไม่มีฟลุ๊คได้พระแท้มา

แนวทางการเล่นสะสมพระกรุ

ปัจจุบัน พระกรุกลับกลายเป็นพระที่เล่นง่ายกว่าพระประเภทอื่นๆ แต่นักอนุรักษ์พระเครื่องทั่วๆ ไป มักจะบอกว่าพระกรุเล่นยากกว่าพระเกจิอาจารย์ ที่เป็นเช่นนี้ อาจเป็นเพราะ

1. พระกรุในสมัยก่อนนี้ ไม่มีตำราหรือหนังสือให้ศึกษามากเหมือนปัจจุบัน ทำให้เหมือนว่าพระกรุดูยาก
2. ผู้ รู้พระกรุมากๆ นั้น มักเป็นนักเล่นพระรุ่นเก่าๆ ซึ่งมักไม่ค่อยสอน ให้กับนักเล่นรุ่นใหม่ อาจจะเป็นด้วยเหตุผลหลายอย่าง เช่น หวงวิชา กลัวรุ่นใหม่เก่งกว่า กลัวหาพระไม่ได้ หรือสอนไม่เป็น ฯลฯ
3. พระกรุเป็นพระที่หายากอยู่แล้ว และมักแตกกรุก่อนปี 2500เพราะฉะนั้นพระจึงชำรุดสูญหายมาก เหลือให้มาถึงยุคหลังน้อย เมื่อพระมีน้อย นักเล่นพระก็ไม่เคยเห็นทำให้ดูเหมือนดูยาก

แล้วทำไม ผมจึงบอกว่าพระดูง่ายในหัวข้อต่อไปผมจะให้แนวทางและข้อมูลว่า ทำไมพระกรุ "เล่นง่าย ดูง่าย"

พระกรุ "เล่นง่าย ดูง่าย"

พระกรุเป็นพระที่นับวันจะหายากขึ้นทุกวัน พระกรุส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินและเนื้อดินส่วนน้อยจะเป็นชนิดอื่น เช่น โลหะสำริด ว่าน ฯลฯ

พระ กรุเนื้อชินแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ เช่น ชินเงิน ชินแก่ตะกั่ว ชินเขียว และชินตะกั่วสนิมแดง หลักการดูพระทุกประเภทนี้เหมือนกันหมด ก็คือ

1. พิมพ์พระ สำคัญ 50%
2. เนื้อพระ สำคัญ 25%
3. ความเก่าของพระ สำคัญ 25%

รวมกันเป็น 100% โดยการดูพระเนื้อชินเหมือนกันกับการดูพระหล่อโบราณของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ

พิมพ์ พระเนื้อชินจะมีตำหนิในพิมพ์เหมือนเหรียญหล่อเกจิอาจารย์ซึ่งเราต้องทราบ ว่าจุดไหนเป็นตำหนิในแม่พิมพ์พระ ไม่ใช่เป็นตำหนิขององค์พระซึ้งเกิดจากการเทพระ เช่น เนื้อเกิน รอยยุบ เทไม่ติดพิมพ์ เป็นต้น การดูตำหนิในแม่พิมพ์พระให้ดูจากพระแท้พิมพ์เดียวกันหลายๆ องค์ แล้วสังเกตุดูว่าจุดไหนที่ทุกองค์มีเหมือนกันหมดทุกองค์ถือเป็นตำหนิในแม่ พิมพ์เช่น พระหูยานลพบุรี พิมพ์ใหญ่หน้ายักษ์ จะมีเนื้อเกินบริเวณซอกแขนขวา และรอยฟันหนูในบริเวณซอกแขนซ้าย เป็นต้น

1. พระ เนื้อชินเงิน ส่วนผสมหลักจะเป็นตะกั่วผสมกับธาตุต่างๆ เช่น สังกะสี ดีบุก พลวง ปรอท ฯลฯ เพราะฉะนั้นเนื้อหาหลักจะมีสีคล้ายตะกั่ว แต่มีความแวววาวออกขาวคล้ายเงินหรือปรอทบริเวณผิวพระโดยเฉพาะองค์ที่ไม่ได้ ถูกสัมผัส เช่น พระกรุวัดราชบูรณะ พระกรุช่างกลปี 08 ลพบุรีเป็นต้น
2. พระ เนื้อชินแก่ตะกั่ว ก็คือพระชินเงินที่มีส่วนผสมของตะกั่วมากนั้นเอง จะคล้ายกับตะกั่ว แต่จะมีผิวปรอทบางๆ อยู่บ้าง เนื้อพระจะอ่อนกว่าชินเงินทั่วไป เช่น พระชินราชใบเสมา พิษณุโลก, พระมเหศวร สุพรรณบุรี, พระกำแพงขาว กำแพงเพชร เป็นต้น
3. พระ ชินเขียว "ชินเขียวสนิมไข" เป็นคำกล่าวโบราณของพระเนื้อชินเขียว ซึ่งมักจะมีไขคล้ายไข่แมงดาเกาะติดอยู่ตามผิวพระ เนื้อพระจะมีสีเขียวอ่อน และจะมีจุดไฝดำแทรกอยู่ในเนื้อพระทุกองค์เสมอ เช่น พระยอดอัฎฐารส จ.พิษณุโลกเป็นต้น
4. พระ ตะกั่วสนิมแดง ก็คือเนื้อตะกั่วบริสุทธิ์นั่นเอง เมื่อพระเนื้อตะกั่วถูกความร้อนและความชื้นในกรุเป็นเวลาหลายร้อยปีจะเกิด สนิมตะกั่วทที่มีสีส้มถึงแดงขึ้นบริเวณผิวพระพร้อมกับไขขาวๆ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันของสนิมแต่ละกรุ เพื่อนๆ จะต้องศึกษาสนิมแต่ละกรุไว้นะครับ

แนวทางดูธรรมธาติความเก่าของพระเนื้อชิน

1. พระ เนื้อชิน ถ้าเป็นพระสวย จะเห็นคราบปรอทคลุมองค์พระทั้งองค์ โดยเฉพาะด้านหน้า แต่คราบจะไม่เสมอกันทั้งองค์ ดูเผินๆ เหมือนพระใหม่แต่หากส่องดูจะพบว่าปรอทมีความแห้งไม่แวววาวเหมือนของใหม่ และควรจะมีรอยปริรานหรือรอยระเบิดจากสนิมชินเงินบริเวณพื้นผิวองค์ด้านหน้า หรือด้านหลัง ซึ่งจะมีทุกองค์ไม่มากก็น้อย ส่วนพระใช้ช้ำ บนพื้นผิวที่ถูกสัมผัสมากๆ ก็จะมีลักษณะแวววาวหม่นๆ ของตะกั่วผสมเงิน จะพบปรอทเล็กน้อยตามซอกองค์พระ มักจะพบรอยปริรานและรอยระเบิดผุจากสนิมตีนกาเสมอ
2. พระ ชินแก่ตะกั่ว พระชินแก่ตะกั่วมักจะไม่มีรอยปริรานหรือระเบิดของชินให้เห็นเนื้อจากตะกั่ว มีความอ่อนตัวอยู่ แต่จะพบคราบสนิมชินตะกั่วเป็นคราบดำๆ อยู่ตามซอกต่างๆ ขององค์พระ ส่วนบริเวณที่มีการสัมผัสมากจะคล้ายตะกั่ว
3. พระชินเขียว พระชินเขียวที่มีอายุเก่าแก่จะขึ้นไขคล้ายไข่แมงดาไขจะมีความมันชื้นอยู่ในตัวไม่แห้ง
4. พระ ตะกั่วสนิมแดง พระเนื้อตะกั่วเมื่ออยู่ในกรุที่มีความร้อนชื้นเป็นเวลาหลายร้อยปีจะเกิด สนิมตะกั่วสีแดงขึ้นและคลุมด้วยคราบไขคล้ายหินปูนอีกชั้นหนึ่งเมื่อล้าง คราบหินปูนออกด้วยกรรมวิธีที่ถูกต้อง ก็จะเห็นผิวสนิมแดงที่เป็นธรรมชาติ คือ ปริราน เหมือนใยแมงมุมทั่วๆ ทั้งองค์พระที่เป็นสนิมแดงนั้นๆ

พระเนื้อดินต้องเคยชินเนื้อพระ

พระ กรุเนื้อดินนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับพระเนื้อชินแล้ว จะเล่นยากกว่าพระเนื้อชินอยู่อย่างหนึ่งคือ เนื้อพระ เพราะพระเนื้อดินแต่ละกรุจะมีเนื้อหาแตกต่างกันออกไป และถึงแม้จะเป็นกรุเดียวกัน เนื้อเดียวกัน ก็ยังมีหลายกลุ่ม เนื้อหลายสี อันเนื่องมาจากการเผาองค์พระก่อนบรรรจุกรุ

ดัง นั้นการศึกษาพระเนื้อดินจะต้องศึกษาพระองค์จริงๆ ของกรุนั้นๆ เป็นองค์ทุกครั้งไป การดูพระแท้มากๆ องค์ ของกรุนั้นๆ จะทำให้เพื่อนๆ มีความชำนาญในพระกรุนั้นๆ เองโดยอัตโนมัติ

อย่าลืม!!

1. พิมพ์พระ มีความสำคัญ 50 % ทำให้รู้กรุพระ และพระถูกพิมพ์
2. เนื้อพระ มีความสำคัญ 25 % ทำให้รู้กรุพระ และพระถูกเนื้อ
3. ความเก่าของพระ มีความสำคัญ 25 % ทำให้มั่นใจว่าพระแท้เก่า

รวมกันเป็นพระกรุเนื้อดิน แท้ ดูง่าย 100 %
ข้อมูลทั้งหมดได้คัดลอกมา เพื่อเป็นวิทยาทานให้กับผู้สนใจและศึกษาสะสมพระเครื่อง มิได้มีเจตนาอื่นใด ขอบพระคุณมากครับ

ที่มา : http://www.7wat.com/?ContentID=ContentID-080220220711278

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

หลวงปู่เอี่ยม สุวัณณสโร วัดหนังราชวรวิหาร กรุงเทพฯ

หลวงปู่เอี่ยม สุวัณณสโร วัดหนังราชวรวิหาร กรุงเทพฯ

ข้อมูลประวัติ

เกิด วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2375 เป็นบุตรของ นายทอง แม่อู๋ ทองอู๋

บรรพชา อายุ 19 ปี

อุปสมบท อายุ 22 ปี ณ พัทธสีมาวัดโอรสาราม

มรณภาพ วันที่ 29 เมษายน 2469 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล

รวมสิริอายุ 94 ปี 72 พรรษา

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

วัตถุมงคลของท่าน ไม่ว่าจะเป็น เหรียญ พระปิดตาเนื้อโลหะเนื้อผง พระปิดตายันต์ยุ่ง พระชัยวัฒน์ เครื่องรางของขลัง ล้วนได้รับความนิยมสูงมาก และเป็นหนึ่งในพระเบญจภาคีของพระชนิดนั้น ๆ พร้อมทั้งยังมีวัตถุมงคลอื่น ๆ อีก เช่น หมากทุย

เหรียญหลวงปู่เอี่ยม ปี 2467 เพื่อสมนาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์บูรณะศาลาการเปรียญ ด้านหลังมีทั้ง หลังยันต์ห้า และหลังยันต์สี่ ซึ่งเหรียญหลังยันต์สี่นั้น มีทั้งพิมพ์ 3 จุด และพิมพ์ 4 จุด เป็นเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง ส่วนเหรียญยันต์ห้า จะเป็นเหรียญเนื้อสัมฤทธิ์ นอกจากนั้นยังปรากฏเหรียญลักษณะพิเศษเป็นแบบเหรียญฉลุอีกจำนวนหนึ่ง มีทั้งเนื้อเงิน และเนื้อทองคำ

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม

รูปของ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร
รูปของ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร
เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร หมากทุย
เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร หมากทุย


พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร พระปิดตาพิมพ์สองหน้า เนื้อสัมฤทธิ์
พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร พระปิดตาพิมพ์สองหน้า เนื้อสัมฤทธิ์

พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร พระปิดตายันต์ยุ่ง เนื้อสัมฤทธิ์
พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร พระปิดตายันต์ยุ่ง เนื้อสัมฤทธิ์

พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร พระปิดตายันต์ยุ่ง เนื้อสัมฤทธิ์
พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร พระปิดตายันต์ยุ่ง เนื้อสัมฤทธิ์

พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหารพระปิดตาเนื้อชิน พิมพ์สังฆาฏิ
พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหารพระปิดตาเนื้อชิน พิมพ์สังฆาฏิ

พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหารพระปิดตาข้าวตอกแตก เนื้อชิน
พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหารพระปิดตาข้าวตอกแตก เนื้อชิน

พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหารพระปิดตาข้าวตอกแตก เนื้อผงใบลาน
พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหารพระปิดตาข้าวตอกแตก เนื้อผงใบลาน

พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหารพระปิดตานะหัวเข่า
พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหารพระปิดตานะหัวเข่า

พระเหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร เหรียญฉลุเนื้อทองคำ
พระเหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร เหรียญฉลุเนื้อทองคำ
พระเหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร เหรียญหลังยันต์สี่4จุด เนื้อเงิน
พระเหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร เหรียญหลังยันต์สี่4จุด เนื้อเงิน

พระเหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร เหรียญหลังยันต์สี่3จุด เนื้อเงิน
พระเหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร เหรียญหลังยันต์สี่3จุด เนื้อเงิน
พระเหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร เหรียญหลังยันต์ห้า
พระเหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร เหรียญหลังยันต์ห้า
เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร หมากทุย
เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร หมากทุย

เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร หมากทุย
เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร หมากทุย

พระเหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร เหรียญหลังยันต์สี่4จุด เนื้อทองแดง
พระเหรียญ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร เหรียญหลังยันต์สี่4จุด เนื้อทองแดง
เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร หมากทุย
เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร หมากทุย

พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร พระไชยวัฒน์พิมพ์เขื่อนเล็ก
พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร พระไชยวัฒน์พิมพ์เขื่อนเล็ก

พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร พระไชยวัฒน์พิมพ์เขื่อนเล็ก
พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร พระไชยวัฒน์พิมพ์เขื่อนเล็ก

พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร พระไชยวัฒน์พิมพ์เขื่อนใหญ่
พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร พระไชยวัฒน์พิมพ์เขื่อนใหญ่

พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร พระไชยวัฒน์พิมพ์เบ้าแตก
พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร พระไชยวัฒน์พิมพ์เบ้าแตก

พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร พระไชยวัฒน์พิมพ์เบ้าแตก
พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร พระไชยวัฒน์พิมพ์เบ้าแตก

เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร หมากทุย
เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร หมากทุย

เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร หมากทุย
เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร หมากทุย

เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร หมากทุย
เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร หมากทุย

เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร หมากทุย
เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงปู่เอี่ยม วัดหนังราชวรวิหาร หมากทุย