วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ประวัติ เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ผู้สร้างพระสมเด็จฯ ตอนจบ

ประวัติ เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ผู้สร้างพระสมเด็จฯ
โดย ตรียัมปวาย


รูปเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ถ่ายในงานฉลองพระ ณ บ้านหลวง กาลมัยนฤมิตร(เหลี่ยม ) บ้านช่างหล่อ พระภิกษุที่นั่งเบื้องซ้าย คือท่านพระครูปลัดมิสร์ (วัดระฆังฯ) ฐานานุกรมในเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ส่วนพระภิกษุรูปที่นั่งอยู่เบื้องขวาคือ หลวงปู่คำ (วัดอมรินทร์ฯ) พระอาจารย์ทั้งสองรูปนี้ เข้าร่วม พิธีกับเจ้าพระคุณสมเด็จฯในการนี้ สังเกตุดู จะรู้สึกว่า พระอาจารย์ทั้งสองนั้น ได้แสดงคารวะ ต่อเจ้าพระคุณสมเด็จเป็นอย่างสูง รูปนี้เข้าใจว่าถ่ายในปี พ.ศ. 2410
••••••••••••••••••••••••••••
ภาพในพระอุโบสถวัดอินทรวิหาร
••••••••••••••••••••••••••••

(จากหนังสือ ประวัติสมเด็จฯพระพุฒาจารย์(โต) ของฉันทิชัย ตอนที่ ๙ ระหว่างหน้า ๑๐๔-๑๑๖ ทั้งนี้นอกจากตอนอธิบายภาพ ในวงเล็บซึ่งเป็นความเห็นของผู้เขียนเอง)

"....วันอินทรวิหาร เดิมเป็นวัดเก่า ชื่อวัดอินทราราม ผู้ใดจะสร้างไว้สืบทราบไม่ได้ชัด แต่ผู้ใหญ่เล่าสืบกันมาว่าเจ้าอินทร์ผู้เป็นน้าชาย ของเจ้าน้อยเขียว แห่งเมืองเวียงจันทร เป็นผู้ปฎิสังขรณ์ครั้งนั้นราวรัชกาลที่ ๑ เจ้าน้อยเขียวได้เป็นพระสนมาของพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก และขณะนั้น เมืองเวียงจันทรขึ้นอยู่กับกรุงรัตนโกสินทร์มีชาวเวียงจันทรติดตามเจ้าน้อยเขียว ลงมากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จึงพระราชทานที่แห่งนี้ให้เป็นที่อยู่ เมื่อเจ้าอินทรได้ปฏิสังขรณ์เสร็จแล้ว จึงได้นิมนต์เจ้าคุณ อรัญญิกชาวเวียงจันทรมาครอง เจ้าคุณอรัญญิก เป็นผู้เชี่ยวชาญทางวิปัสสนา ได้นำคัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาลาวมาด้วยมาก และอยู่ จนกระทั่งบัดนี้ และต่อมาในรัชกาลที่ ๓ พระองค์เจ้าอินทร ในกรมพระราชวังบวร (มหาศักดิ์พลเสพย์) ได้ปฎิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการ ซ่อมอุโบสถ คือพระอุโบสถนั้น ผนังก่ออิฐยาว ๖ ห้อง มีมุขหน้าหลังที่หน้าบันไดปั้นรูปนารายณ์ทรงครุฑ หน้าโบสถ์มี ๑ ประตู หลังมี ๒ ประตู บานประตูสลักลวดลายดอกไม้ มีหน้าต่างด้านละ ๖ ช่อง มีบานหน้าต่างสลักลายมังกร ผนังโบสถ์ข้างในเขียนเป็นรูปภาพต่างๆ เล่ากันมาว่า เป็นภาพประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านให้ช่างเขียนไว้ เพื่อปรากฏแก่ชนรุ่นหลัง

ภาพที่ปรากฏ ณ ผนังโบสถ์นี้ เป็นภาพเขียนและเมือพิเคราะห์ดูแล้ว ก็สุดปัญญาที่จะวินิจฉัยให้แจ่มแจ้งลงไปได้ แต่ข้าพเจ้า (ฉันทิชัย) เคยได้อ่านบันทึก ของท่านเจ้าพระคุณทิพโกษา ซึ่งได้เขียนเรื่องประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ไว้อย่างพิสดาร เป็นเอกสารสำคัญ ที่มีค่าทางประวัติของสมเด็จฯ เป็นอันมาก ข้าพเจ้า(ฉันทิชัย) ขอบประมวลมาเสนอแก่บรรดาท่านผู้ที่เลื่อมใสในคุณธรรมวิเศษของสมเด็จฯ เพื่อทราบและช่วยกันวินิจฉัย ดังต่อไปนี้

เข้าใจว่าเป็นภาพชีวประวัติของบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคัวท่านเข้าพระคุณสมเด็จฯ เช่นพระอาจารย์ของท่าน พระที่มีชื่อเสียงใน ยุคนั้น หรือที่รู้จักมักคุ้นกับท่าน นอกจากพระก็มีฆราวาสที่คุ้นเคยกับท่าน และคงจะมีส่วนรวมในการปฏิสังขรณ์วัดอินทรฯ ภาพเหล่านี้

๑. มุขหลังพระประธานด้านเหนือ มีภาพศาลาป่า ภาพผู้หญิงกำลังตีผู้ชาย อีกภาพหนึ่งมีผู้ชาย ๓ คนนั่งอยู่ คนหนึ่งเอามืออุดจมูก อีกคนหนึ่งเอามือปัดกลิ่น อีกคนหนึ่งนอนอีกตอนหนึ่งพราหมณ์นุ่งขาว

(ภาพตอนนี้พิจารณาไม่ได้ว่าเป็นเรื่องราวการตายของท่านผู้ใดแน่ แต่เดาได้ว่า ผู้ที่ถึงแก่กรรมรายนี้ คงมีส่วนในการปฏิสังขรณ์ วัดอินทร์ฯด้วยผู้หนึ่ง แต่มาถึงแก่กรรมเสียก่อนมิฉะนั้นคงจะไม่ปรากฏเรื่องราวในที่นี้ ภาพผู้หญิงตีผู้ชายนั้นแสดงว่า เมื่อมีชีวิตอยู่ท่านผู้นี้ คงกลัวภรรยาและถูกภรรยาเคี่ยวเข็ญอยู่เสมอ-ผู้เขียน)

๒. ข้างหน้าต่างผนังด้านเหนือต่อมา มีภาพคนตกปลาอยู่ริมแม่น้ำ อีกตอนหนึ่งมีเรือสองหลังมีคนอยู่ อีกตอนหนึ่งมีภาพศาลา และมีชายหญิงกำลังกระทำสักการะบูชาด้วยธูปเทียน อีกตอนหนึ่งมีภาพพระพุทธรูปป่าห้ามแก่จันทร ประดิษฐานอยู่หน้าภูเขาพระฉายกับมี ชายถือดาบ มากระทำสักการะบูชา อีกตอนหนึ่งมีภาพพราหมณ์กำลังยิงลิงซึ่งอยู่บนต้นไม้ด้วยหน้าไม้ อีกตอนหนึ่ง เขียนเป็นรูปกุฎิพระ กับมีพระกำลังกวาดลานวัด กับมีรูปพระอีกองค์หนึ่ง มีหนังสือเขียนอยู่ข้างล่างว่า เจ้าคุณขรัวขวัญ มือขวาถือไม้เท้า มือซ้ายชี้ขึ้นไปเบื้องบน มีคนสะพายย่าม นั่งยองๆ ไหว้อยู่กับมีนกกาเรียนอีก ๒ ตัวยืนอยู่อีกด้านหนึ่ง

(เข้าใจว่าภาพนี้เป็นภาพบรรยายชีวประวัติ ของเจ้าคุณขรัวขวัญ ว่าแต่ก่อนนั้นเป็นผู้นิยมในการทำบาป ชอบยิงนกตกปลา แต่ภายหลัง ได้ไป นมัสการพระฉายเข้าแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธาพระบวรพุทธศาสนา ยอมตัวเข้าอุปสมบท ตั้งหน้าประกอบแต่ความดี จนเป็นที่ นับถือของคนทั่วไป ตอนภาพที่ท่านยกมือชี้ขึ้นเบื้องบนนั้นแสดงว่าสวรรค์เป็นพยานว่า บัดนี้ท่านได้สลัดความบาปช้าต่างๆ สิ้นแล้ว โดยยึดเอาธรรมะและผ้ากาสาวพัตร์เป็นที่พึ่ง-ผู้เขียน)

๓. ข้างหน้าต่างต่อมา มีภาพคนนั่งอยู่ในเรือน มีผู้คนทำของกำนัลมาให้มาก กับมีคนติดกรวนอยู่ ๒ คน อีกตอนหนึ่งมีเรือนอยู่ ริมน้ำ มีตู้บังเกือบตั้งฉาก

(ภาพนี้เข้าใจว่า เป็นชีวประวัติของท่านผู้มีอำนาจสูงผู้หนึ่งในครั้งกระนั้นสามารถที่จะเอาคนเข้าคุกได้ ในภาพแสดงว่าท่านเป็นคนตรง ไม่เห็นแก่ของกำนัล ที่มีผู้นำเอาไปบริการทางหลังบ้าน ท่านผู้นี้คงมีส่วนร่วมในการปฏิสังขรณ์วัดอินทรฯ ด้วยผู้หนึ่ง -ผู้เขียน)

๔. ข้างหน้าต่างต่อมา มีเรือนพระธรรมปรีชา กับผู้หญิงอยู่หน้าประตู ๒ คน ผู้ชายหนึ่งคน และมีคนนั่งอยู่ที่ศาลาริมน้ำ อีกตอน หนึ่งมีภาพวัด

(ภาพนี้เข้าใจว่า เป็นภาพบรรยายต่อมาจากภาพที่ ๓ ขอสันนิษฐานต่อไปว่า ท่านผู้นี้มีนามว่า พระธรรมปรีชา นั่นเอง บ้านท่านคงอยู่ ริมน้ำเจ้าพระยาแถวบางขุนพรหม และใกล้ๆ กับวัดอินทร์ฯ ภายในบ้านมีข้าทาสหญิงชายมาก ท่านผู้นี้คงเลื่อมใสในการกุศลอยู่มาก-ผู้เขียน)

๕. ข้างหน้าต่างต่อมา มีภาพประตูเมือง กับคนยืนอยู่ในประตูมีภาพวัดอยู่ริมแม่น้ำ พระอาจารย์แก้ว กำลังวาดวัด กับมีแม่เพียน ท่านทอง กำลังนั่งไหว้อยู่ มีภาพโบสถ์และศาลา ที่มุมมีเด็กนอนอยู่ในเบาะ เขียนชื่อว่าบลุญเรือง บุตรนายผล กับตัวนายผล และแม่งุด กำลังหมอบกราบอยู่ข้างเด็กนั้น อีกตอนหนึ่งมีภาพพระสงฆ์นั่งอยู่บนกุฏิ เขียนภาพข้างล่างว่า เจ้าขรัวบางลำพู กับมีบุรุษและสตรีอีก ๓-๔ คน เดินอยู่ข้างล่าง อีกตอนหนึ่งริมตลิ่ง มีภาพคนกำลังขุดดิน อีกคนหนึ่งกำลังเอาหีบเล็กๆ จะฝัง มีภาพผู้หญิงนั่งร้องไห้อยู่ข้างๆ และมีผู้ชาย อีกคนหนึ่งให้ผู้หญิงซึ่งแบกของคล้ายคัมภีร์ขี่คอ ใต้คนหมู่นั้นมีหนังสือเขียนไว้ว่า พระยารักษาคลัง อีกตอนหนึ่งเป็นภาพทหาร ๒ คน เดินนำหน้าแม่ทัพขี่ม้าขาวและมีทหารเดินตามหลังอีกหลายคน มีหนังสือเขียนไว้ว่า กรุงกำแพงเพชร

(ภาพนี้เข้าใจว่า เป็นภาพถึง ๓ ตอน เกี่ยวกับชีวประวัติของบุคคลถึง ๓ คน ด้วยกันดังจะแยกให้ความเห็นเป็นตอนๆ ต่อไปนี้

ภาพตอนแรก เป็นชีวประวัติของท่านเจ้าคุณอรัญญิก (แก้ว) วันอินทร์ฯ กำลังกวาดลานวัดอยู่ ในภาพแสดงว่า วันอินทร์ฯ ในสมัยนั้นมี ขอบเขตจดแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ในสมัยนี้ถูกจัดผ่านกลางเสีย ภาพประตูเมืองนั้นแสดงว่าวัดนี้อยู่นอกเมือง กำแพงเมืองตอนผ่านมาจากผ่านฟ้า ไปทางวัดสังเวชฯ และวกไปตามลำน้ำเจ้าพระยา ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ ในภาพมี แม่เพียน, ท่านทอง, นายผล , แม่งุด และ เด็กชาย บุญเรือง แสดงว่าบุคคลเหล่านี้เป็นผู้เลื่อมใสท่านเจ้าคุณอรัญญิกมาก และคงเป็นผู้ฝักใฝ่ในการบำรุงวัดอินทร์ฯ ส่วนนายผล และแม่งุดนั้น แสดงว่าคงนำเอาเด็กชายบุญเรืองบุตรน้อยมาถวาย "เป็นลูกหลวงพ่อ" เป็นทำนองขอบารมีหลวงพ่อคุ้มครองให้อายุมั่นขวัญยืน การที่ สันนิษฐานเช่นนี้ท่านอย่าลืมว่า เจ้าคุณอรัญญิก เป็นพระที่เชี่ยวในด้าน วิปัสสนา และกฤตยาคม

ภาพ ในตอนต่อมาขอสันนิษฐานว่า เป็นชีวประวัติ ส่วนหนึ่งของท่านเจ้าคุณบวรวิริยเถระ แห่งวัดบางลำพูหรือที่เรียกชื่อในปัจจุบันนี้ว่า วัดสังเวชฯ อนึ่งวัดสังเวชฯ และวัดอินทร์นั้นอยู่ใกล้กันมาก ดังท่านผู้อ่านย่อมทราบแล้ว ประกอบด้วย ท่านเจ้าคุณอรัญญิกและท่านเจ้าคุณ บวรวิริยะเถระ ก็คุ้นเคยชอบพอกันดี และทั้ง๒ ท่านเป็นพระอาจารย์สำคัญในการประสิทธิประสาทวิทยาการทางด้านวิปัสสนาธุระมา แต่ดั้งเดิม โดยเฉพาะเจ้าคุณบวรวิริยเถระนั้นยังเป็นพระอุปัชฌาย์เณรแก่เจ้าพระคุณ สมเด็จฯ การที่ท่านแสดงภาพพระอาจารย์ทั้ง ๒ไว้ใกล้เคียงกันนั้น ก็เพื่อ เป็นการเทอดทูน และภูมิสถานของวัดทั้ง ๒ ก็อยู่ใกล้ชิดกันด้วย ในภาพทั้งสองตอนนี้แสดงว่า ท่านอาจารย์ทั้งสอง มีคนนับถือ เลื่อมใสมากทั้ง ๒ องค์

ภาพตอนที่ ๓ เป็นชีวประวัติ ของพระยารักษาคลัง ในภาพแสดงว่าเลื่อมใสท่านเจ้าคุณทั้ง๒องค์มากบ้านของท่านคงอยู่ริมแม่น้ำ เจ้าพระยา บริเวณ ระหว่างบางลำพูและบางขุนพรหม ในภาพตอนคนขุดดินจะฝังหีบเล็กๆ และมีผู้หญิงร้องไห้นั้น เข้าใจว่าเป็นความหมาย แสดงเหตุผลว่า ท่านพระยาผู้นี้เลื่อมใสในการทำบุญสร้างกุศลมาก จนภริยาท่านร้องไห้เสียดายทรัพย์สินที่ทำบุญไปเป็นจำนวนมากๆ ท่านคงอธิบายให้ฟังว่าการทำบุญนั้นไม่สูญเปล่า คงมีผลานิสงส์สนองในภพหน้า ดุจเอาทรัพย์สินฝังเก็บไว้ในแผ่นดิน ไม่มีทางสูญหาย ไปไหน เป็นการเก็บที่ปลอดภัยอาจขุดเอามาใช่จ่ายได้ในโอกาสหน้าฉะนั้น เท่ากับเสริมส่งภรรยาให้รับผลบุญด้วย ภรรยาคงจะเห็นด้วย จึงสร้างพระไตรปิฎก ส่วนภาพต่อมาซึ่งแสดงถึงแม่ทัพกรุงกำแพงเพชรนั้น สันนิษฐานว่า พระยารักษาคลังนี้ เป็นผู้สืบตระกูลมาจาก แม่ทัพสำคัญของเมืองกำแพงเพชรในครั้งก่อน-ผู้เขียน)

๖. ข้างหน้าต่างต่อมามีภาพบ้าน และคนกำลังใส่บาตรอยู่หน้าประตูบ้าน มีพระหลายองค์คอยรับบาต มีภาพวัดและกุฎิหนึ่งห้อง มีพระภิกษุองค์หนึ่งนั่งอยู่ มีคนหมอบอยู่ข้างหน้า มีหนังสือเขียนว่า ท่านอาจารย์ อีกตอนหนึ่งมีพระภิกษุนั่งอยู่กับพื้นดิน มีหนังสือเขียนว่า พระครูใยและมีคนหมอบบถวายดอกบัว ๓ ดอก อยู่ข้างหน้า อีกตอนหนึ่งเป็นภาพกำแพงเมือง มีบ้านพระพิจิตร ตัวพระพิจิตรกำลังนอน เอกเขนกอยู่บนเรือน มีผู้หญิงนั่งอยู่ในประตู ๑ คน และกำลังนวดพระพิจิตรอยู่อีก ๑ คน

(ภาพนี้ขอสันนิษฐานว่า เป็นชีวประวัติของพระพิจิตร แสดงว่าเป็นผู้เลื่อมใสในการทำบุญตักบาตรเป็นนิตย์ ส่วนภาพวัดและภาพอาจารย์ นั้นเข้าใจว่า เป็นวัดระฆังฯ และคำว่า ท่านอาจารย์นั้นคงเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นาค พระอาจารย์ฝ่ายคันถธุระหรือสอนพระปริยัติธรรม แก่พระคุณสมเด็จฯองค์แรก พระครูใยนั้นคงจะเป็นพระที่ใกล้ชิดสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ อนึ่ง พระพิจิตรผู้นี้คงจะเลื่อมใสสมเด็จพระพุทธ โฆษาจารย์และคงบำรุงวัดระฆังฯ มาก บ้านพระพิจิตรคงจะอยู่นอกกำแพงเมือง ในบ้านอุดมไปด้วยเข้าทาสหญิงชาย-ผู้เขียน)

๗.มุมด้านหน้าเหนือพระอุโบสถ มีภาพป่า, ภูเขา, บ้านป่า, อีกมุมหนึ่งมีภาพบ้านร้างอยู่ริมแม่น้ำ มีเรือจอดอยู่ริมคลอง คนอยู่ใน เรือ ๑ คน ขึ้นไปหุงข้าวบนตลิ่ง ๑ คน อีกตอนหนึ่งมีภาพผู้ชาย นั่งอยู่ริมเรือน ผู้หญิงหมอบอยู่ข้างขวา กับคนนั่งไหว้อยู่ข้างซ้าย ๒ คน มีหนังสือเขียนอยู่ข้างล่าง แต่ลบเลือน คล้ายจะเป็นพระพิจิตร

(ภาพ นี้เข้าใจว่า เป็นภาพบรรยายชีวประวัติของพระพิจิตรตอนต้นของภาพที่ ๖ อาจมีความหมายว่า พระพิจิตรนั้นเดิมเป็นชาวชนบท บ้านป่า แต่ได้ละทิ้งบ้านช่องเดินทางมาโดยเรือเข้าสู่เมืองหลวงเพื่อศึกษาหาความรู้ และรับราชการจนเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ มีคนเคารพนบนอบ และยำเกรงมาก พระพิจิตรผู้นี้คงมีอุปการะแก่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในทางหนึ่งทางใดอยู่มากจึงมีภาพชีวประวัติในที่นี้-ผู้เขียน)

๘. ข้างประตูด้านสะกัดหน้า มีช้าง ๒ เชือกไล่แทงกัน ตัวที่หนีหันมามองตัวที่ไล่อีกตอนหนึ่งมีกุฎิพระ ๒ หลัง มีพระภิกษุกำลัง นั่งอ่านหนังสือใบลานอยู่ ในกุฎิหลังละองค์อีกองค์หนึ่งนั่งอยู่ที่นอกชานกุฎิ อีกตอนหนึ่งเป็นภาพบ้านพระยาชัยนาท ตัวพระยาชัยนาท นอนเอกเขนกอยู่ มีผู้หญิงหมอบอยู่ข้างๆ มีนายมาลัยหมอบอ่านหนังสือให้ฟังอยู่ข้างล่าง และมีคนนั่งอยู่อีกหลายคน มีคนจูงม้าเดินมา มีเรือจอดอยู่ริมตลิ่งหน้าบ้าน มีคนอยู่ในเรือ ๕ คน คนหนึ่งอยู่ในประทุน คนที่ ๒ หุงข้าว คนที่ ๓ นั่งห้อยเท่าอยู่ในเรือ คนที่ ๔ กำลังฉุด คนที่ ๕ ซึ่งนอนอยู่หัวเรือ ทางหัวเรือมีจรเข้โผล่ขึ้นมา ริมตลิ่งมีผู้หญิง ๓ คน กำลังฉุดกันขึ้นจากบันไดท่าน้ำ

(ภาพนี้เข้าใจว่า เป็นภูมิภาคแห่งหนึ่งจังหวัดชัยนาท ภาพตอนต้นแสดงถึงการศึกษาเล่าเรียนของพระภุกษุในเมืองนั้น ว่าอุดมไปด้วย สมาธิอันมั่นคง แม้กระทั่งช้างไล่แทงกันผ่านมาก็มิได้สะดุ้งสะเทือน ภาพต่อมาเข้าใจว่า พระยาชัยนาทเจ้าเมืองกำลังให้นายมาลัย ทนายหน้า หออ่านหนังสือธรรมให้ฟังอยู่ในบ้าน พวกผู้คนหญิงชายข้างล่าง แสดงว่ามีธุระมาหาท่านเจ้าเมืองบ้างก็ฉุดกันเพราะไม่กล้า แสดงว่า ท่านเจ้าเมืองเป็นคนยุติธรรมเปิดโอกาสสำหรับชาวบ้านทั่วๆ ไป พระยาชัยนาทผู้นี้คงจะมีความสัมพันธ์ต่อท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อยู่บ้าง อาจจะเป็นในเรื่องการทำบุญปฏิสังขรณ์วัดอินทร์ฯ มิฉะนั้นคงจะไม่ปรากฏชีวประวัติของท่านในที่นี้-ผู้เขียน)

๙. ข้างประตูด้านสะกัดหน้า มีภาพหมู่บ้าน ๒ หมู่ อยู่ริมตลิ่งคนละฟาก มีคนลงเรือหลายลำอยู่ในแม่น้ำ มีหลวงสุนทรนั่งอยู่ในเรือลำ หนึ่ง อีกตอนหนึ่งมีภาพแห่บวชนาคเข้ามาในวัด ในวัดมีสมเด็จวันรัตนั่งอยู่บนกุฎิ อีกตอนหนึ่งมีภาพอาจารย์แก้ว นั่งอยู่บนกุฎิกับชาย ๒-๓ คน

(ภาพนี้เข้าใจว่า เป็นภาพแสดงเรื่องราวการชวนของหลวงสุนทร มีสมเด็จพระวันรัต (สมเด็จพระสังฆราชสุก อุปัชฌาย์ เจ้าพระคุณ สมเด็จฯ นั่นเอง) เป็นอุปัชฌาย์ แม่น้ำที่แสดงไว้ในภาพคือแม่น้ำเจ้าพระยา มีขบวนแห่นสคมาตามลำน้ำ และคงจะขึ้นบกราวบริเวณ ท่าพระจันทร์ ต่อจากนั้นเป็นขบวนแห่เดินเข้าวัดมหาธาตุ นอกจากนั้นท่านอาจารย์แก้ว (เจ้าคุณอรัญญิก) คนได้รับนิมนต์มาร่วมประกอบ สังฆกรรมด้วย-ผู้เขียน)

๑๐. มุมด้านใต้ มีภาพบ้านป่า อีกตอนหนึ่งมีภาพพรานถือหอกเอาหนังเนื้อคลุมตัวคลานเข้าไปไกลเนื้อ ๒ ตัว อีกตอนหนึ่งภาพเรือใบ ๒ ลำ อีกตอนหนึ่งมีภาพวัด มีภิกษุชราองค์หนึ่ง กำลังนั่งตะบันหมากอยู่บนกุฎิ และมีคนถือของเดินมา ๔-๕ คน

(ภาพเข้าใจว่า เป็นภาพชีวประวัติของเจ้าพระคุณอรัญญิก (แก้ว) ต่อจากตอนท้ายของภาพที่ ๙ แสดงว่าแต่เดิมท่านอาจารย์เป็นพราน ล่าเนื้อ แต่ภายหลังมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจนบวชเรียนสำเร็จทางวิปัสสนา ภาพเรือใบขอเดาว่า เป็นเรื่องราวแสดงการเดินทาง ของท่านจากเวียงจันทร์มายังกรุงเทพฯ ซึ่งบางทีอาจใช้เรือใบเป็นพาหนะล่องตามลำน้ำโขง อ้อมวกแหลมญวน แล้วมาเข้าอ่าวไทย ส่วนภาพพระแก่นั่งตะบันหมากอยู่นั้น แสดงว่าท่าอาจารย์มีความพึงพอใจในร่มกาสาวพัสตร์ พึงบำเพ็ญให้ลุถึงมรรคผล ในบั้นปลาย แห่งชีวิตแล้ว-ผู้เขียน)

๑๑. ข้างหน้าต่างด้านใต้ มีภาพวัด และรูปสมเด็จพระสังฆราชนั่งเอกเขนกอยู่บนกุฎิ กับมีพระภิกษุนั่งอยู่ ข้างล่าง ๒ องค์ อีกตอนหนึ่ง มีภาพสมเด็จพระสังฆราช (มี) นั่งอยู่ริมตลิ่ง กับภิกษุองค์หนึ่ง อีกตอนหนึ่งเป็นเรื่องของเสมียนบุญมา ตัวเสมียนบุญมานอนเอกเขนก มีท่านยายโหง และผู้หญิงอีก ๒ คน นั่งอยู่ข้างล่าง มีคนหมอบอยู่ ๔ คน อีกตอนหนึ่งเป็นภาพเรือนหลังหนึ่งมีท่านยายง่วนนั่งห้อยเท่าอยู่ และมีผู้หญิง ๔ คนนั่งอยู่ข้างล่างนอกจากนี้ เป็นภาพแม่น้ำ เรือใบ กับคนนั่งอยู่บนตลิ่งหลายคน

(ภาพนี้เข้าใจว่า เป็นภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เจ้าพระคุณสมเด็จฯ กับสมเด็จพระสังฆราช คือภิกษุที่นั่งอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช นั้นเข้าใจว่า เป็นเจ้าพระคุณฯนั่นเอง ขอเด่าต่อไปอีกว่า สมเด็จพระสังฆราชไปเยือนวัดระฆังฯ ริมตลิ่งนั้นคือหน้าวัดระฆังฯ และสมเด็จ พระสังฆราชองค์นี้เข้าใจว่า เป็นสมเด็จพระสังฆราชสุก มิใช่สมเด็จพระสังฆราชมี ภาพต่อไปเป็นเรื่องความมั่งคั่งสมบูรณ์ของเสมียนบุญมา และพวกที่มีชื่อยู่ทุกคนนั้นเข้าใจว่าญาติเสมียนบุญมา และทุกคนตลอดจนเสมียนบุญมาต้องเป็นทายก ทายิกา ที่สำคัญทุกคน-ผู้เขียน)

๑๒. ข้างหน้าต่างผนังด้านใต้ต่อมา มีภาพเรืออยู่ริมตลิ่ง มีคนอาบน้ำ และขนของขึ้นเรือ อีกตอนหนึ่ง ภาพบ้านพระโหราธิบดี ตัวพระโหราธิบดี นอนเอกเขนกอยู่บนเรือนมีผู้หญิงกำลังถอนเคราให้ และมีผู้หญิงนั่งอยู่ อีก ๓ คน มีคนหมอบอยู่ข้างล่างอีกหลายคน อีกตอนหนึ่งเป็นภาพวัด มีภาพสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) กำลังนอนบอกหนังสือให้ภิกษุรูปหนึ่งอยู่บนกุฎิ และมีพระภิกษุกำลังเดินแบก คัมภีร์มาอีกองค์หนึ่ง

(ภาพนี้เข้าใจว่า พระโหราธิบดีเป็นคนชอบทำบุญ ในภาพแสดงการให้คนไข้ไปต่ายสิ่งของมาเตรียมทำบุญ ภาพนี้แสดงว่าบ้านพระ โหราอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในบ้านอุดมไปด้วยข้าทาสหญิงชายแสดงความเป็นผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ อีกภาพที่ต่อมานั้นเป็นคนละเรื่อง กล่าวคือ เป็นชีวประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ต่อจากภาพที่ ๑๑ เป็นภาพชีวประวัติตอนสำคัญตอนหนึ่งที่แสดงว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมจากสมเด็จพระสังฆราชสุก (มิใช่สังฆราชด่อนซึ่งเป็นคนละยุคคนละสมัย) ณ วัดมหาธาตุฯ-ผู้เขียน)

๑๓. ข้างหน้าว่างผนังด้านใต้ต่อมา มีภาพบ้านพระเกษม ตัวพระเกษมนั่งอยู่บนเรือน มีคนหมอบและนั่งอยู่หลายคน อีกตอนหนึ่งมีวัด เจ้าพระคุณวัดตระไกร กำลังปลงอาบัติอยู่กับพระอีกองค์หนึ่งบนกุฏิ และมีพระภิกษุอีกองค์หนึ่งนั่งอยู่ข้างหลัง อีกตอนหนึ่งเป็นรูปศาลา ในศาลามีพระภิกษุนั่งอยู่ ๒ องค์ องค์หนึ่งมีหนังสือเขียนอยู่ข้างล่างว่า "เจ้าพระคุณดวง" อีกส่วนหนึ่งมีภาพพระภิกษุรูปหนึ่งเดินอยู่ในวัด มีหนังสือเขียนบอกว่า "เจ้าพระคุณบุญนาค" อีกตอนหนึ่ง มีภาพเข้าพระยานิกรบดินทร นั่งดูคนขนของอยู่บนเรือน อีกตอนหนึ่งเป็นภาพ บ้านปลัดนุด ตัวปลัดนุดนั่งอยู่บนเรือนกับคนอีกหลายคน ตอนข้างล่างมีภาพบ้านอยู่ริมตลิ่งมีพระภิกษุนั่งอยู่บนเรือน กับคนอีกหลายคน ตอนข้างล่างมีภาพบ้านอยู่ริมตลิ่งมีพระภิกษุนั่งอยู่หลายองค์ มีผู้หญิงนั่งอยู่ ๒ คนทางข้างซ้าย และนั่งอยู่หน้าพระอีกคนหนึ่ง มีเรือจอด อยู่หน้าบ้าน มีหนังสือเขียนอยู่ข้างล่างว่าเจ้าคุณขรัว ๑ เจ้าคุณชินวร

( ภาพนี้เข้าใจว่า เป็นภูมิภาคของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาพตอนแรกแสดงความโอ่โถงของพระเกษม เช่นขุนนางในสมัยนั้นดัง ปรากฏมาแล้วแต่ตอนต้น ภาพต่อมาเป็นภาพของวัดตะไกร ท่านเจ้าคณะตะไกรและเจ้าคุณดวง คงเป็นองค์เดียวกัน ตอนต่อมาเป็นภาพ วัดครุฑ ท่านเจ้าคุณบุญนาคคือสมภารวัดครุฑ ท่านพระราชาคณะทั้ง ๒ รูปนี้ เป็นพระรุ่นก่อนเจ้าพระคุณสมเด็จ และคงคุ้นเคยกับเจ้าพระคุณ สมเด็จฯ เป็นอันดี เพราะปรากฏว่า ที่วัดตะไกรนี้มีพระสมเด็จฯ บรรจุอยู่ส่วนหนึ่ง แต่จะเป็นของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ หรือของเจ้าคุณบุญนาค สร้างเอาแบบอย่างเจ้าพระคุณสมเด็จ ทราบไม่ได้ชัดเพราะไม่เคยเห็นพระชนิดนี้ภาพตอนต่อมาแสดงว่า เจ้าพระยานิกรบดินทร์ เป็นคนจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ภาพคนขนของคงมีความหมายถึงการเตรียมทำบุญ ตอนต่อมาแสดงว่ามีการทำบุญที่บ้านปลัดนุด โดยนิมนต์ เจ้าขรัว ๑ และเจ้าขรัวชินวร ทำพิธี และฉันที่บ้าน สำหรับเจ้าขรัว ๑ เข้าใจว่าเป็นเจ้าคุณญาณสังวรเถร (สังฆราชไก่เถื่อน สุก) ด้วยการใช้เลข ๒ แทน ชื่อนั่นน่าจะเป็นความหมายอยู่ว่า เป็นอาจารย์เรื่องมายาศาสตร์องค์แรก (โปรดอย่าลืมว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นชาวอยุธยา และสังฆราช ไก่เถื่อน ก็เป็นคนชาวอยุธยา) หรือมิฉะนั้น ก็น่าจะหมายความว่า เป็นพระอาจารย์หมายเลข ๑ ทีเดียว ส่วนเจ้าขรัวชินวรนั้น ขอเดาว่า อาจ เป็นขรัวแสง พระอาจารย์หมายเลข ๑ ทีเดียว ส่วนเจ้าขรัวชินวรนั้น ขอเดาว่า อาจเป็นขรัวแสง พระอาจารย์ด้านมายาศาสตร์ องค์สำคัญ อีกองค์หนึ่งของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ คู่กับสังฆราชไก่เถื่อนเพราะท่านชอบมาทำบุญบำเพ็ญกรณีย์ที่จังหวัดอยุธยา เป็นนิจ ท่านขรัวทั้ง ๒ นี้ มีอายุอยู่ในสมัยเดียวกัน และต่างเป็นพระอาจารย์ทางวิปัสสนาและมายาศาสตร์อย่างสำคัญของเจ้าพระคุณ สมเด็จฯ ด้วยกัน และเป็นที่เชื่อกัน ว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มาศึกษาวิชาลี้ลับทางกฤตยาคมแห่งมายาศาสตร์ ที่จังหวัดอยุธยา และต่อมาได้ศึกษากับสังฆราช ไก่เถื่อน สุก อาจารย์เดิมที่วัดพลับอีก

อนึ่งคำว่า "ขรัว" นั้นเข้าใจว่าใช้นิยมเรียกพระอาจารย์ทางวิปัสสนาและมายาศาสตร์ซึ่งมีลักษณะคร่ำคร่า รุ่มๆร่ามๆ แบบสมถะ ดังเช่น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็มักได้รับการเรียกว่า "ขรัวโต" ดังนี้เป็นต้น-ผู้เขียน)

๑๔. ข้างหน้าต่างผนังด้านใต้ต่อมา มีภาพวัด มีเจ้าคุณวัดครุฑ เดินสะพายบาตรมีสามเณรแบกบาตรเดินตามหลัง มีสุนัขเดินตาม อยู่ข้างหน้าหลายตัว อีกตอนหนึ่งมีภาพผู้หญิงคนหนึ่ง มีหนังสือเขียนว่า "คุณป่า" กับผู้หญิงอีก ๒ คน เดินออกมาจากประตูบ้าน อีกตอนหนึ่ง ภาพภิกษุนั่งฉันอยู่ในศาลา มีคนคอยปรนนิบัติอยู่หลายคน ใต้พระภิกษุองค์นั้น มีหนังสือเขียนว่า อาจารย์ศุก มีตอนหนึ่งมีภาพขุนพรหม กำลัง นั่งยองๆ ไหว้เจ้าคุณเทพกวีซึ่งสะพายบาตร แบกตาลิปัตร และมีคนสะพายย่ามเดินตามหลัง

(ภาพนี้เข้าใจว่า เป็นภูมิภาคของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แสดงเรื่องราวคล้ายๆ ภาพที่ ๑๓ เดี่ยวกับการทำบุญของคุณป่า มีภาพ เจ้าคุณวัดครุฑ และเจ้าคุณญาณสังวี สุก (สังฆราชไก่เถื่อน) อาจารย์ในวิชามายาศาสตร์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ปรากฏอยู่ด้วย)

๑๕. ข้างหน้าต่างผนังด้านใต้ต่อมา มีภาพสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กำลังนั่งเทศน์อยู่บนเรือน มีเสมียนตราด้วง และคนอีกหลายคน นั่งฟังอยู่ อีกตอนหนึ่งมีภาพพระโหราดวงยืนอยู่หน้าประตูวัง และมีคนชักว่าวและเดินอยู่อีกหลายคน อีกตอนหนึ่งมีภาพวัวชนกันคู่หนึ่ง มีเด็ก อยู่ ๓ คน อีกคนหนึ่งกำลังผลักกัน วัวตัวหนึ่ง อึกตอนหนึ่ง มีภาพพระนั่งเรือมาในแม่น้ำ อีกตอนหนึ่งมีภาพเด็กไว้จุกใส่กำไล แบกคัมภีร์ จะเข้าประตูวัง กับสมเด็จพระสังฆราชแบกตาลิปัตร์หยุดพูดกับคนๆ หนึ่งๆ ใต้คนๆ นี้มีหนังสือเขียน แต่ลบเลือนมาก อ่านไม่ได้ความ

(ภาพนี้เข้าใจว่า ตอนแรกแสดงถึงความเลื่อมใสเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ของเสมียนตราด้วง ในภาพนี้ชวนให้เข้าใจว่าอาจจะเป็นส่วนหนึ่ง ของพิธีสร้างพระสมเด็จฯ กรุบางขุนพรหม ภาพต่อมาแสดงว่า พระโหราดวง จะเข้าพระบรมมหาราชวัง การชักว่าว และชนวัวนั้นคงเป็นที่ สนามหลวง หน้าพระบรมมหาราชวัง และพระรามณรงค์คงจะเดินทางมาทางแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเข้าเฝ้าในพระบรมมหาราชวัง ส่วนภาพ สมเด็จพระสังฆราชแบกตาลิปัตร์พร้อมด้วยเด็กผมจุกลูกศิษย์นั้น คงกำลังจะเข้าไปเทศน์ในวัง-ผู้เขียน)

๑๖. มุมด้านหลังพระประธานภาพลบหมด เพราะมีปูนฉาบไว้ใหม่ มีชื่อภาพคนอนู่ใต้ภาพนั้น ๔๑ ชื่ อคือ ๑. เจ้าพระยานิกรบดินทร์ ๒. พระยาชัยนาท ๓. พระยารักษาคลัง ๔. พระโหราดวง ๕.พระวิเชียร ๖. พระรามรณรงค์ ๗.พระเกษม ๘.พระธรรมปรีชา ๙.หลวงสุนทร ๑๐. เจ้าขรัว ๑๑. เจ้าขรัวชินวร ๑๒. เจ้าขรัวแทน ๑๓. เจ้าขรัวขวัญ ๑๔. เจ้าคุณบุญนาค ๑๕. เจ้าคุณดวง ๑๖. คุณป่า ๑๗. ปลัดนุด ๑๘. ท่านทอง ๑๙. แม่เพียน ๒๐. เสมียนบุญมา ๒๑. นายมาลัย ๒๒. ยายโหง ๒๓.ยายง่วง ๒๔.นายผล ๒๕.แม่งุด ๒๖.เด็กชายบุญเรือง ๒๗. ท่านอาจารย์ (ถ้าจะเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์นาค วัดระฆังฯ) ๒๘. อาจารย์แก้ว ((น่าจะเป็นเจ้าพระคุณอรัญญิก วัดอินทาราม) ๒๙. อาจารย์เสม ๓๐. อาจารย์สุก (เห็นจะเป็นสมเด็จพระสังฆราข สุก รัชกาลที่ ๑ อุปัชฌาย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต) ๓๑. เจ้าคุณวัดครุฑ ๓๒. เจ้าคุณวัดตะไกร ๓๓. พระครูใย ๓๔. สมเด็จพระสังฆราช มี (รัชกาลที่ ๓) ๓๕.สมเด็จพระสังฆราช นาค (รัชกาลที่ ๓) ๓๖.สมเด็จพระสังฆราช ด่อน (รัชกาลที่ ๓) ๓๗. พระวัดรัต ๓๘. พระพุฒ ๓๙. เจ้าคุณเทพกวี ๔๐. เสมียนตราด้วง (เสมียนตราด้วง มีภริยาชื่อจันทร์ บ้านอยู่ข้างวัดมกฎุฯ เป็นพ่อตาเสมียนตราทอง เป็นบิดามารดา แม่จันภรรยาขุนสวัสดิ์โภไคย (เอม) ประมาณอายุเสมียนตราด้วง คงอ่อนกว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สักเล็กน้อย) ๔๑. เจ้าขรัววัดบางลำพู (เห็นจะเป็นเจ้าคุณบวรวิริยเถร อยู่วัดบางลำพู (วัดสังเวช) อุปัชฌาย์เณรของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)

"ภาพต่างๆ และอักษรที่เขียนไว้ภายในโบสถ์วัดอินทรวิหาร ที่พระยาทพโกษาเล่าไว้มีแต่เพียงเท่านี้ ขอให้อ่านจดจำเรื่องเกี่ยวแก่ภาพ และอักษรเหล่านี้ไว้ เพราะเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ มีอ้างอิงถึงภาพและชื่อบุคคล และชื่อภิกษุ ที่ปรากฏในผนังโบสถ์หลายแห่ง และข้อที่ไหน ทั้ง ๒ คนนี้อยู่กับพระยาทิพโกษา ได้เล่าให้พระยาทิพโกษาฟังว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ท่านเกิดที่บ้านท่าหลวง จังหวัดอยุธยา แล้วมารดาของท่านพาไปอยู่ที่บ้านไชโย จังหวัดอ่างทอง ท่านไปนั่งได้ที่นั่น แล้วมารดาพาท่านมาอยู่ที่บางขุนพรหม ท่านมายืนได้ที่นั่น ท่านจึงได้สร้างพระนอนองค์โตไว้ที่วัดสะดือ บ้านท่าหลวง หมายความว่า ท่านอนอยู่ที่นั่น แล้วท่านสร้างพระนั่งโตไว้ที่วัดไชโย หมายความ ว่า ท่านนั่นได้ที่นั่น และสร้างพระยืนโตไว้ที่วัดอินทรวิหาร แต่ยังไม่ทันแล้ว หมายความว่า ท่านยืนได้ที่นั่น พระโตนั้นให้สมกับนามของท่าน ที่ชื่อโต แต่บิดามารดาของท่านชื่ออะไรไม่ทราบ

"ตามที่ญาติของท่านได้เล่าให้พระยาทิพโกษาฟังเช่นนี้ เป็นอันฟังและเชื่อได้ แต่น่าเสียดายที่ไม่ทราบว่า บิดามารดาท่านชื่อไร แต่เมื่อพิเคราะห์ตามประวัติที่เขียนไว้ ณ ผนังโบสถ์วัดอินทรวิหารแล้ว เห็นมีชื่อนายผล กับแม่งุดนั้น สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นบิดามารดาของ สมเด็จท่านและเด็กบุญเรืองนั้น คือสมเด็จพุฒาจารย์ (โต)

"ทั้งนี้เป็นข้อสันนิษฐานของท่านเจ้าคุณทิพโกษา และเมื่อพิจารณาตามประวัติที่สมเด็จให้เขียนไว้ที่ผนัง ดูอย่างละเอียดแล้วน่าเชื่อว่า จักเป็นไปได้ตามทางสันนิษฐานของท่านเจ้าคุณทิพโกษา เพราะยังมีเรื่องต่างๆ ที่ปรากฏในประวัติของสมเด็จฯ ตรงกับภาพที่เขียนไว้ ที่ผาผนังโบสถ์ทุกอย่าง"

พลความตอนเรื่องภาพในพระอุโบสถวัดอินทรวิหารนี้ คัดเอามาจากหนังสือ ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ของท่านฉันทิชัย ดังกล่าว แล้วทั้งนี้นอกจากตอนอธิบายภาพซึ่งเป็นความเห็นของผู้เขียนเอง การสันนิษฐานของผู้เขียนในเรื่องราวที่ภาพแสดงไว้อาจมีผิดบ้างเป็น ธรรมดา ทั้งนี้เพราะข้อความสำคัญที่ผู้เขียนไม่มีโอกาสที่จะได้เห็นภาพเหล่านั้นด้วยตาตนเอง เพราะภาพเหล่านี้ไม่มีปรากฏเหลือ อยู่อีกแล้ว ทั้ง นี้เพราะสมภารท่านซ่อมฝาผนังโบสถ์เสียใหม่มาหลายปีแล้ว แต่ที่นำมาคัดเอาไว้ก็ด้วยเห็นว่าเป็นหลักฐานสำคัญที่ให้ ความสว่างได้หลายประการและเป็นต้นฉบับ ของพระยาทิพโกษา ผู้เขียนรู้สึกซาบซึ้งในพระคุณของท่านผู้นี้เป็นอย่างสูงที่อุตส่าห์บันทึก เรื่องราวเอาไว้ก่อน ที่สาระประโยนช์อันสำคัญจะสูญหายไปเสีย ทั้งนี้รวมทั้งท่านฉันทิชัยด้วยที่อุตส่าห์ค้นคว้ารวบรวม แต่อย่างไรก็ดี ผู้เขียนใคร่จะขออภัยต่อท่านเจ้าคุณทิพโกษา และท่านฉันทิชัย ถ้าหากว่าผู้เขียนจำจะต้องคัดค้านความเห็นของท่านเป็นบางประการ ที่ท่านเจ้าคุณ (หรืออาจจะเป็นคำสันนิษฐานของท่านฉันทิชัยเอง) ได้กล่าวไว้ เช่นการสันนิษฐานว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีนามว่า บุญเรือง และมีโยมทั้ง ๒ เป็นนายผล และแม่งุด ดังปรากฏในภาพที่ ๕ นั้น เป็นการค้านกับความเป็นจริงที่ว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น ท่านชื่อโต ซึ่งแม้แต่ญาติของท่านคือบุคคลทั้ง ๒ ที่ชื่อว่า กลิ่นและไหน ก็กล่าวเช่นนั้น และการที่ท่านสร้างพระองค์โตๆ ก็เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งนาม ของท่าน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ควรเชื่อ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ควรเชื่อ ทั้งนี้ไม่ว่าใครๆ ก็รู้กันทั้งนั้นว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ชื่อ "โต" ในสมัยที่ท่าน ยังมีชีวิตอยู่ ใครๆแม้แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็เรียกท่านว่า "ขรัวโต" และแม้กระทั่งพระกระเบื้องที่ท่านสร้างไว้ นักพระเครื่อง ฯ ก็เรียกท่านว่า "หลวงพ่อโต" นี้แสดงให้เห็นว่า เป็นที่รู้กันทั่วไปแล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีชื่อว่า "โต" มาตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว ไม่เคยมีใครได้มีวี่แววมาเลยว่าท่านบุญเรือง

อนึ่งกล่าวถึงเรื่องนี้ทำให้ต้องวิจารณ์ไปถึงเรื่องโยมผู้ชายของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ด้วย กล่าวคือ เป็นที่เชื่อถือกันทั่วๆไปว่า เจ้าพระคุณ สมเด็จฯ เป็นโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้เขียนพยายามค้นหาหลักฐานทั้ง ๒ ประการคือ ทั้งการสนับสนุนและคัดค้าน แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานอันใดที่มั่นคงพอ นอกจากฉบับของเจ้าคุณพรหมกล่าวไว้อย่างตรงไปตรงมา แต่ไม่มีหลักฐานอ้างและกอปรกับ ท่าน มหาเฮง (วัดกัลยาณ์ฯ) ได้ค้นพบ กำหนดสิ้นอายุขัยของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ในหนังสือจดหมายเหตุบัญชีน้ำฝนแสดงกำหนดเวลา ไว้อย่างละเอียด เป็นจดหมายเหตุของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งทรงใช้ศัพท์ว่า "สมเด็จพระพุฒาจารย์ถึง ชีพิตักษัย" แสดงให้เห็นว่าสมเด็จพระมหาสมณะฯ ทรงทราบดีว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ เป็นเจ้าในราชวงศ์จักรีอย่างน้อยที่สุดชั้นหม่อมเจ้า ถ้าจะว่าเป็นเพราะทรงเห็นว่า เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาสมณะฯ ซึ่งเป็นทั้งเจ้า และพรสมณเถระที่ยิ่งใหญ่ ไม่น่าที่จะใช้ราชศัพท์ผิดกับบุคคล ที่ไม่ใช่เจ้านอก จากนี้ถ้าจะหยิบยกเอาประวัติศาสตร์ขึ้นมากล่าวอ้างว่า ในปี พ.ศ. ๒๓๓๑ ซึ่งเป็นปีถือกำเนิดของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ได้ทรงโดยเสด็จในงานพระราชสงครามกับพระชนกาธิราช ณ ตำบลทุ่งลาดหญ้า แขวงเมืองกาญจนบุรี แต่ปี พ.ศ. ๒๓๓๐ ถ้าเราจะทึกทักเอาว่า ไม่มีทางที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะเป็นโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าได้นั้น การยึดถือ เหตุผลแต่เพียงเท่านี้ผู้เขียนเห็นว่ายังไม่มีน้ำหนักที่เพียงพอ เพราะเหตุการณ์ใกล้ชิดยุคลบาทนั้นใคร่เล่าจะรู้ ผู้เขียนเองก็ไม่อยากที่จะวิจารณ์ ในเรื่องนี้นัก เพราะเกี่ยวกับราชวงศ์จักรีแต่เมื่อใคร่ครวญดูแล้วก็ไม่เห็นเป็นการเสียหาย อนึ่งการที่จะอ้างว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นชาว กำแพงเพชร ฯลฯ ความจริงคำกราบบังคมทูลของนายชิตนั้นมุ่งหมายในเรื่อง การถวายพระพิมพ์กรุวัดพระธาตุ จังหวัดกำแพงเพชร และตำนาน แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมากกว่า (ความละเอียดจะปรากฏใน "ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ เล่นที่ ๔ เรื่องพระเครื่องทุ่งเศรษฐี กำแพงเพชร") หาได้มุ่งจะกราบทูลเรื่องราวหรือสาเหตุแห่งการมากำแพงเพชรของเจ้าพระคุณ สมเด็จฯ ไม่ ฉะนั้นคำว่าญาตินั้นอาจจะหมายถึง คนรู้จักคุ้นเคยอันหนึ่งอันใดก็ได้ และถึงแม้ว่าจะเป็นญาติจริง ที่หาได้มีเหตุผลโดยแท้จริงไม่ว่า เข้าพระคุณสมเด็จฯ จะต้องกลายเป็น คนกำแพงเพชรตามญาติไปด้วย มีเหตุผลโดยแน่ชัดแวดล้อมอยู่เป็นอันมากกว่า ท่านเป็นคนอยุธยา ผู้เขียนจำต้องขออภัยต่อท่านฉันทิชัย การที่คัดค้านหรือทักท้วงท่านนั้นก็เพื่อผลความไพบูลย์ทางการศึกษาค้นคว้า ซึ่งข้อค้านของผู้เขียนอาจจะผิด และของท่านอาจจะถูกก็ได้ แต่อย่างไรก็ดีขอได้รับการขออภัยจากผู้เขียนด้วย

จะขอยุติเรื่องประวัติเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไว้โดยย่อแต่เพียงเท่านี้ ท่านผู้สนใจโปรดศึกษาได้จากหนังสือ "ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) "ของท่านมหาเฮง (วัดกัลยาณมิตร) ซึ่งกล่าวถึงชีวประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ โดยตรง และมีความพิสดารพร้อมด้วย หลักฐาน อ้างอิงอันมั่งคง

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ สิ้นชีพิตักษัย ณ หอสวดมนต์วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี เมือเวลา ๒ ยาม (๒๔.๐๐น.) วันเสาร์แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ (ต้น) ปีวอก จุลศักราช ๑๒๓๔ ตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ คำนวณอายุ ได้ ๗๕ ปี ครองพรรษาได้ ๖๕ พรรษา.

ที่มา : http://www.soonphra.com/geji/putachan/index4.html

ไม่มีความคิดเห็น: