วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ยอดขุนพลเนื้อชิน ชุด พระหูยาน

พระหูยาน ถ้าพูดถึงพระพิมพ์นั่งของเมืองลพบุรีแล้ว อันดับหนึ่งต้องยกให้พระหูยานเมืองลพบุรี ถ้าเป็นพระพิมพ์ยืนอันดับหนึ่งก็ต้องพะร่วงหลังลายผ้า พระหูยานต้นกำเนิดอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเราเรียกว่า “พระกรุเก่า” พระที่แตกออกมาครั้งแรกนั้นจะมีผิวสีดำมีปรอทขาวจับอยู่ตามซอกขององค์พระ เล็กน้อย ถ้าผ่านการใช้ผิวปรอทก็จะหายไป ต่อมาก็มีแตกออกมาบ้างแต่ก็ไม่มาก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2508 ก็มีแตกกรุออกมาอีกเป็นจำนวนมาก ที่บริเวณเจดีย์องค์เล็กหน้าองค์พระปรางค์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเราเรียกกันว่า “กรุใหม่”

พระหูยานพิมพ์บัวสองชั้น


มีบางท่านสันนิษฐานว่าพระหูยานกรุเก่า กับพระหูยานกรุใหม่นั้นสร้างคนละครั้งคือ กรุเก่าสร้างก่อน กรุใหม่สร้างทีหลัง แต่กระผมคิดว่า ถ้าพระสร้างกันคนละครั้งนั้น พิมพ์กับตำหนิต่าง ๆ ของพระจะต้องแตกต่างกันไป แต่นี่พระพระกรุเก่ากับกรุใหม่เป็นพระบล๊อคเดียวกันทุกอย่าง และจากสถานที่พบแตกต่างกันได้ บางท่านอาจค้านว่า คงจะนำแม่พิมพ์เก่ามาทำพระใหม่นั้นก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะถ้าแม่พิมพ์พระเป็นเนื้อสัมฤทธิ์แล้วเมื่อทิ้งไว้นานก็จะเกิดสนิมกัด กินจนกร่อน เมื่อนำมาทำใหม่พระก็จะไม่สมบูรณ์ย่อมมีตำหนิตามที่สนิมกินแม่พิมพ์ แต่พระกรุใหม่กลับมีความคมชัด เรียกว่าคมชัดกว่าพระกรุเก่าด้วยซ้ำไป แต่ถ้าแม่พิมพ์เป็นดินหรือวัสดุอื่น ก็จะมีการผุกร่อนตามกาลเวลา จะทำให้องค์พระคมชัดไม่ได้ ถ้าแกะบล๊อคใหม่ขนาดขององค์พระ หรือตำหนิต่าง ๆ ก็ต้องเพี้ยนไปกว่าเดินแน่นอน
พระหูยานที่แตกกรุออกมานั้น มีด้วยกันหลายพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ (เรียกกันว่าพิมพ์ใหญ่หน้ายักษ์) พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์บัวสองชั้น พิมพ์รัศมีบัวสองชั้น และพิมพ์จิ๋วแต่มีน้อยมาก ถ้าพูดถึงด้านพุทธคุณแล้วพระหูยานนั้นโด่งดังมากในด้าน คงกระพันชาตรี ตามแบบฉบับของขอม และด้านเมตตานั้นก็ไม่เป็นรองใคร
นอกจากพระหูยาน จะพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วยังปรากฏว่าพบที่ วัดอินทาราม และที่วัดปืนด้วย แต่เป็นคนละพิมพ์กัน ด้านพุทธคุณนั้นเหมือนกันทุกกรุ
อายุของพระหูยานนั้น ประมาณการสร้าง 700 กว่าปี แต่ถ้าเป็นกรุของวัดปืนแล้ว อายุจะน้อยกว่าของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเล็กน้อย

ที่มา : http://angsila.cs.buu.ac.th/~it471452/phrathai/page3-3.html

ไม่มีความคิดเห็น: