วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ตำนานมือปราบจอมขมังเวท เมืองนครศรีธรรมราชฯ

ตำนานมือปราบจอมขมังเวท เมืองนครศรีธรรมราชฯ


พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช

พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช ท่านได้รับสมญานามมากมายเช่น นายพลหนังเหนียว, นายพลพลมือปราบเสือมือเปล่า,นายพลหนวดเขี้ยวฯลฯ แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่มักเรียกท่านว่า ขุนพันธ์ ฯ เป็นตำรวจที่ได้รับการยกย่องมาก ปราบปรามโจรผู้ร้ายและผู้มีอิทธิพลนับไปถึงภาคใต้ ไปจนถึงภาคกลางตอนบน ในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ขุนพันธ์ฯ นามเดิมของท่านว่า บุตร์ นามสกุล พันธรักษ์ เกิดวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2446 ที่บ้านอ้ายเขียว หมู่ที่ 5 ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลา จังหวัดศรีธรรมราช

เป็นบุตรนายอ้วน และนางทองจันทร์ พันธรักษ์ ปู่ชื่อ ขุนทิพย์ โภชาภรณ์ มีพี่น้องร่วมมารดา 7 คน ตระกูลทางฝ่ายบิดา สืบเชื้อสายมาจากหมอประจำราชสำนักเมืองนครศรีธรรมราช จึงได้รับการถ่ายทอดตำรายาและมีความรู้ทางการแพทย์แผนโบราณอย่างดี

เริ่มเรียนหนังสือครั้งแรกกับบิดา ภายหลังได้ปศึกษาเล่าเรียนกับ อาจารย์ปาน วัดอ้ายเขียว และครูฆราวาสชื่อ นายหีต ชาวอำเภอสวี จังหวัดชุมพร จนทางรัฐบาลต้องการให้ศึกษาแก่เยวชนไทยเป็นแบบแผนที่แน่นอน จึงได้สร้างโรงเรียนขึ้นตามที่ต่างๆ ขุนพันธ์ฯ จึงได้เข้าเรียนที่วัดพระนคร จนกระทั่งจบชั้นประถม จึงได้เข้าเรียนต่อมัธยมที่โรงเรียนวัดท่าโพธิ์ (ปัจจุบันคือโรงเรียนเบญจมราชูทิต)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ได้เข้ามาอยู่ใน กรุงเทพฯ พักอยู่กับพระอาจารย์พลับ วัดราชผาติการาม เรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนเบญจมบพิตร

ขณะที่เรียนมัธยมปลาย เริ่มสนใจวิชาไสยเวท โดยเริ่มศึกษากับหลวงพ่อปาน วัดอ้ายเขียว และได้ศึกษาเพิ่มเติมจากหมื่นตาหมอพลับ และได้ไปเรียนกับ พระสังฆบริบาล (ม.ร.ว. ศรีทัศนาเรณู) วัดบวรนิเวศ ภายหลังได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยที่ห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม (โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพรานในปัจจุบัน) กระทั่งจบออกมาเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกงานที่จังหวัดสงขลา

ขณะที่ท่านทำงานอยู่ที่สงขลา ชื่อเสียงของโจรต่างๆ ในเมืองพัทลุงกำลังโด่งดัง ควบคู่มากับชื่อเสียงของ สำนักเขาอ้อ คนใต้ส่วนใหญ่จะเคยได้ยินกิตติศัพท์ของสำนักเขาอ้อทั้งนั้น ในฐานะที่สำนักเขาอ้อ เป็นตักศิลาของเมืองใต้ โดยเฉพาะมีชื่อเสียงทางด้านไสยเวทพุทธาคม มีศิษย์ทั้งบรรพชิต และฆราวาสมากมาย แต่ในขณะนั้นทางสำนักเขาอ้อ ออกดังทางด้านเสียหาย ในฐานนะให้ความรู้พวกโจรผู้ราย เพราะโจรผู้ร้ายขณะนั้นล้วนมีวิชาความรู้มีวิชาดี คงกระพันชาตรี ล่องหนกำบังกายได้ สร้างปัญหาให้ตำรวจไม่สามารถจำกุมได้ เป็นที่พูดกันว่าโจรเหล่านี้มีวิชาอาคมดี ลือกันว่าลำเรียนมาจากสำนักเขาอ้อ

กิตติศัพท์ของโจรที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นศิษย์สำนักเขาอ้อ สร้างความสนใจให้นักเรียนนายร้อยตำรวจบุตร์ เป็นอย่างมาก จึงมีควาทคิดที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ในท้องที่พัทลุง เมื่อเรียนจบจึงขอบรรจุไปประจำที่จังหวัดพัทลุง โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ

1. ต้องการไปปราบปรามโจรผู้ร้าย

2. ต้องการไปฝากตัวเพื่อศึกษาไสยเวทในสำนักเขาอ้อ

เมื่อ ว่าที่ร้อยตำรวจตรีบุตร์ ไปอยู่ที่พัทลุงใหม่ๆ ปรมาจารย์ทองเฒ่า เพิ่งมรณภาพลง เจ้าสำนักใหม่ยังไม่ได้แต่งตั้ง มีอาจารย์ปาล รักษากาลแทนอยู่

เมื่อท่านไปอยู่ที่พัทลุงแล้ว ได้ออกปราบโจรผู้ร้ายที่ลือกันว่ามีอาคมเข้มขลังหลายคน ทำให้ได้ประจักษ์ในคุณของไสยศาสตร์ ยิ่งเกิดความสนใจที่จะเป็นศิษย์วัดเขาอ้อ ให้ได้

ภายหลังได้ปราบโจรตัวฉกาจคนหนึ่งของพัทลุงได้คือ เสือสังข์ จึงมีโอกาสเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์สำนักเขาอ้อ โดยการแนะของนายครั่ง เหรียญขำ ซึ่งมีความสนิทสนม กับพระอาจารย์เอียด เจ้าอาวาส วัดดอนศาลา ศิษย์เอกของสำนักเขาอ้อ

เมื่อแจ้งความประสงค์ ในความต้องการเรียนไสยเวทให้พระอาจารย์เอียดทราบว่าต้องการศึกษาวิชาเพื่อนำไปปราบโจร พระอาจารย์เอียดเห็นด้วย แต่การปราบปรามเป็นการเข่นฆ่าทำลายล้างชีวิต ท่านเป็นบรรพชิต ไม่สมควรเข้าไปมีส่วนในเรื่องนี้ ท่านจึงส่งไปศึกษาวิชากับศิษย์ฆราวาสชื่อ อาจารย์นำ แก้วจันทร์ ซึ่งเป็นกุศโลบายของพระอาจารย์เอียด คือ ขณะนั้นอาจารย์นำ มีชื่อเสียง เป็นที่เกรงขามของเหล่าโจรผู้ร้าย โจรเมืองพัทลุงแทบทุกคนรู้จักอาจารย์นำเป็นอย่างดี และอาจารย์นำรู้เส้นสายทิศทางของโจรเหล่านั้นเป็นอย่างดี พวกโจรเมื่อทราบว่ามีตำรวจเป็นศิษย์อาจารย์นำ ก็คงจะเกรงขามบ้าง เพราะต่างก็ประจักษ์ในวิทยาคุณของอาจารย์นำ เป็นอย่างดี

ภายหลังจากท่านได้เป็นศิษย์ของอาจารย์นำเรียนวิชาพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะสายฆราวาสพอสมควร ก็ได้มาเรียนต่อกับพระอาจารย์เอียดที่วัดดอนศาลา และพร้อมกันนั้นก็ได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ปาล ซึ่งเป็นเจ้าสำนักเขาอ้อ และผ่านพิธีต่างๆ ครบถ้วนตามประเพณีการเป็นศิษย์ของสำนักเขาอ้อ อาทิ ลงยันต์กินน้ำมันงา อาบน้ำว่าน เป็นต้น

เพราะเข้าเป็นศิษย์ของสำนักเขาอ้อ ในภาวะที่สำนักเขาอ้อกำลังจะเสื่อมโทรมลง ขุนพันธ์ฯ จึงได้ร่วมกับขณะศิษย์ของสำนักเขาอ้อ ทั้งสายบรรพชิต และฆราวาส ช่วยกันฟื้นฟู สำนักเข้าอ้อขึ้นมาอีกครั้ง พิธีกรรมหลายอย่างที่เกือบสูญหายไปก็ถูกนำกลับมาเป็นประเพณีปฎิบัติอีกครั้ง

ในปี พ.ศ. 2479 ท่านได้ย้ายไปเป็นหัวหน้ากองตรวจประจำกองกำกับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำ คือสงขลา ภารกิจปราบปรามโจรผู้ร้ายครั้งสำคัญและทำให้ท่านมีชื่อเสียงมาก คือการปราบผู้ร้ายทางการเมืองนราธิวาส จนได้ ฉายาจากชาวไทยมุสลิม รายอกะจิ และได้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจเอกต่อมา

ในปีพ.ศ. 2485 ได้ย้ายไปเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปราบปรามโจร หลายราย รายสำคัญ เสือสายและเสือเอิบ หลังจากนั้นท่านได้ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดในภาคอื่น

ในปี พ.ศ. 2488 ได้ย้ายไปเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดพิจิตร ปฎิบัติหน้าที่มีความดีความชอบเรื่อยมา และได้ปราบโจรผู้ร้ายมากมาย จึงได้พระราชทานยศ พันตำรวจตรี

ในปี พ.ศ. 2489 ได้ย้ายไปเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท ไปปราบโจรผู้ร้ายหลายคนเช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ และเสือมเหศวร เป็นต้น ขุนพันธ์ฯ ได้รับคำสั่งให้ไปสกัดโจรร้ายที่แตกเข้ามาทางชัยนาท ครั้งนั้น ท่านได้ใช้ดาบเป็นอาวุธ คู่มือ แทนที่จะใช้ปืนยาวเป็นอาวุธ โดยใช้ถุงผ้าแดงห่อฝักและด้าม ประชาชน จึงขนานนามท่านว่า ขุนพันธ์ดาบแดง ท่านอยู่ชัยนาท 3 ปี ปราบปรามเสือร้ายจนสงบลง จึงถูกย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกำแพงเพชรตามลำดับ

ด้วยความดีความชอบในหน้าที่ราชการท่าน จึงได้รับพระราชทานเลื่อนยศ พันตำรวจโท ใน ปี พ.ศ. 2493 จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 จังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่ง พ.ศ. 2503 จึงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 และได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตำรวจตรี จนกระทั่งเกษียณอายุ ในปี พ.ศ. 2503

ประวัติการทำงานด้านต่างๆที่ท่านได้สร้างเกียรติประวัติมากมาย นับได้ว่าท่านได้เป็นมือปราบคนสำคัญคนหนึ่งในเมืองไทย แม้เกษียณอายุแล้ว ท่านยังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรค ประชาธิปัตย์ ในปี พ.ศ. 2516

ทางด้านครอบครัวของท่าน ภรรยาชื่อนางเฉลา ตอนนั้นท่านมีอายุ 30 ปี ขณะรับราชการที่พัทลุง มีบุตรด้วยกัน 8 คน และต่อมาภรรยาท่านได้เสียชีวิต จึงได้มีภรรยาใหม่ชื่อ สมสมัย มีบุตรด้วยกัน 4คน

ท่านขุนพันธ์ได้ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบด้วยโรคชรา เวลา 23.27 น. ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2549 สิริอายุรวม 108 ปี ณ.บ้านพักเลขที่ 764/5 ซอยราชเดช ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ได้มีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ ศาลาร้อยปี วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร นครศรีธรรมราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบไม้ลงลายทองพร้อมพวงมาหลวง ประดับพระปรมาภิไธย พระบรมวงศาทุกพระองค์ ต่างมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพวงมาลาเช่นกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ เป็นองค์ประธาน ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช ณ เมรุฯ สนามหน้าเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ยังความปราบปลื้มแก่ทายาทและพสกนิกรเป็นล้นพ้น นับเป็นการปิดตำนานอันยิ่งใหญ่ของจอมขมังเวทระดับ ท่านขุน คนสุดท้ายของประเทศไทย

วัตถุมงคลยอดนิยม องค์จตุคามรามเทพ

จากบันทึกของผู้ก่อตั้งศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ผมสรุปพออ่านเข้าใจได้โดยย่อพอเข้าใจได้ เพื่อได้ให้ท่านผู้ที่สนใจทราบเรื่องเกี่ยวกับวัตถุมงคล องค์จตุคามรามเทพที่กำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และกำลังได้รับความนิยมเทียบเท่าพระยอดนิยมในปัจจุบัน มูลเหตุในการที่ทำให้มีผู้คนสนใจองค์จตุคามรามเทพนั้นส่วนใหญ่จะมาจากการ บอกเล่าถึงพุทธคุณที่ประสบมาจากตัวเองและบอกต่อกันมาจนทำให้ปัจจุบันราคา สูงมากในปัจจุบันในเรื่องราคาที่เปิดให้เช่านั้นก็แรงน่าดู คนที่สนใจเช่ามาบูชาพระส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญของพิธิกรรมในการปลุกเสก หรือเรียกกันในหมู่เซียนว่า พิธีใหญ่ และพระที่ปลุกเสกเป็นท่านอาจารย์ใดส่วนที่สำคัญไม่น้อยก็คือความคมชัดและ ความสวยสมบูรณ์ โดยเฉพาะประเภทที่สร้างน้อย


องค์จตุคามรามเทพคือใคร

มีผู้เชี่ยวชาญให้คำอธิบายว่าจตุคามรามเทพ หรือ จันทรภาณุ เป็นเทวดารักษาเมือง หรือเทพประจำหลักเมือง หรือเจ้าพ่อหลักเมืองนครศรีธรรมราช เป็นผู้ซึ่ง “ตั้งดิน” ตั้งฟ้า “สถาปนากรุงศรีธรรมโศก”ศูนย์กลางแห่งศรีวิชัย

ความตามคติธรรมพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน สาขาหนึ่งเชื่อว่ามนุษย์ทุกรูปทุกนาม ต้องเวียนว่ายตายเกิดท่ามกลางความทุกข์ การจะข้ามวัฎสงสารก็จะต้องยึดถือเพียรภาวนาและยึดถือตามหลักธรรมของพุทธองค์หากผู้ใดตั้งฟฎิธานแน่วแน่ อุทิศตนชาวยเหลือช่วยเหลือขจัดความทุกข์ยากของมนุษย์

บำเพ็ญบารมี หกประการ คือทาน บารมี ศีลบารมี ขันติบารมี วิริยะบารมี ธยานบารมี(ญานบารมี) และปัญญาบารมีครบถ้วนแล้วบุคคลนั้นจะสำเร็จเป็นเทวโพธิสัตว์หรือคฤหโพธิสัตว์ และหากมีการสร้างบารมีสูงขึ้นอีกสี่ประการประกอบด้วย อุปปายบารมี ปณิธานบารมี พลบารมี และชญานบารมี ผู้นั้นจะสำเร็จเป็นเทวโพธิสัตว์ผู้ทรงฤทธานุภาพอันยิ่งใหญ่ สามารถบังคับฟ้าดิน สำแดงอิทธิฤทธิ์ให้เห็นเป็นร่างธรรม อันจักรช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นจากภัยภิบัติ และพ้นทุกข์ทั้งปวง จะก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นในชีวิต

องค์จตุคามรามเทพถึงแล้วถึงความสามารถแกล้วกล้าเจนจบสรรพศาสตร์ทั้งปวง บำเพ็ญบารมี ถึงพรมโพธิสัตว์ จึงทรงอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ไพศาลจนได้รับนามาภิไธยราชฐานันดรว่า “จันทรภาณุ” ผู้มีอำนาจดังพระอาทิตย์ และพระจันทร์ ถืออาญาสิทธ์รูปราหูอมจันทร์ และวัฎจักร 12 นักษัตร เป็นสัญญลักษณ์ อันเป็นตราประจำเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ในปัจจุบัน

องค์จตุคามรามเทพ มีบริวารทหารกล้าสี่คน ประกอบด้วย พญาชิงชัย พญาหลวงเมือง พญาสุขุม และพญาโหรา เป็นกำลังหลักในการปราบปรามพวกพาหมณ์ที่ปกครองเมืองตามพรลิงค์อยู่ก่อน เมือได้เมืองมาแล้วก็ได้สร้างพระบรมธาติเจดีย์ สถาปนาเมืองสิบสองนักษัตร หรีอ กรุงศรีธรรมโศกฝังรากฐานพระพุทธศาสนา จนได้รับพระเกีรยติว่า “พญาศรีธรรมาโศกราช” ภายหลังท่านเป็นเทวดารักษาเมือง สถิตอยู่ ณ. รูปจำหลักที่บานประตูไม้ทั้งสองข้างทางขึ้นลานประทักษิณรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชนั่นเอง ส่วนบริวาณทั้งสี่ก็เป็นเทวดารักษาเมืองประจำทิศของเมืองเช่นกัน เมื่อสร้างหลักเมืองอันงดงามที่ปรากฎอยู่ทุกวันนี้ องค์จตุคามรามเทพและบริวาณนี้เองที่ได้แสดงความอัศจรรย์ให้ปรากฎด้วยการประทับทรง หรือ ผ่านร่าง มาบอกกล่าวให้สร้างหลักเมืองแก้อาถรรพณ์ดวงเมืองที่พวกพราหมณ์ ได้ฝังใจจนทำให้บ้านเมืองไม่ปกติสุข ผู้คนแก่งแย่งชิงดีกันจนหาความสงบสุขไม่ได้

ส่วนเทวดารักษารอบเมืองโดยรอบศาลนั้นแบ่งออกเป็น สามแนว ดังนี้
แนวที่หนึ่ง (ระดับล่าง)เป็นเทวดารักษาทิศ เทวดา เทวดารักษาทิศเหนือชื่อท้าวกุเวร
เทวดารักษาทิศใต้ชื่อท้าวท้าววิฬุนหก เทวดารักษาทิศตะวันออกชื่อธตรฐ และเทวดารักษาทิศตะวันตกชื่อท้าวท้าววิฬุรปักษ์

แนวที่สอง (ระดับกลาง) เป็นจตุโลกเทพคือพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระพรหมเมืองและพระบันดาลเมือง

แนวที่สาม (ระดับสูง) จะประกอบด้วย ห้าพระองค์ในจักรวาลของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานคือพระไวโรจน พุทธเจ้าอยู่ตรงกลาง พระอักโษภยพุทธเจ้าอยู่ด้านตะวันออก พระอมิตาภะพุทธเจ้าอยู่ด้านตะวันตกพระรัตนสมภพพุทธเจ้าอยู่ด้านทิศใต้ และพระอโมฆะสิทธิพุทธเจ้าอยู่ด้านเหนือ

ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
จุดกำเหนิดศาลหลักเมืองคือ องค์จตุคามรามเทพ และบริวาร ตามที่กล่าวข้างต้น ได้แสดงความอัศจรรย์ให้ปรากฎด้วยการประทับทรง หรือ ผ่านร่าง มาบอกกล่าวให้แก่ พันตำรวจเอก สรรเพชญ ธรรมาธิกุล (ยศของท่านในขณะนั้น) ซึ่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธร จังหวัดนครศรีธรรมราชในตอนนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขดวงเมืองที่พวกพรารหมณ์ ได้สาปแช่งใว้ให้บ้านเมืองไม่ปรกติสุข และแก่งแย่งชิงดีกัน โดยเริ่มตั้งแต่ ปลายปี 2528 เป็นต้นมา จนแล้วเสร็จเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2543 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็ตพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จฯ มาทรงเปิดอย่างเป็นทางการ

ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชอันเป็นที่ประดิษฐานหลักเมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช ปลูกสร้างในที่ดิน ของราชพัสดุ บริเวณทิศเหนือของสนามหน้าเมือง เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่
อาคารหลักประกอบด้วยอาคาร ห้าหลัง หลังกลางคือศาลหลักเมือง ส่วนอาคารเล็กอีก สี่หลัง ถือเป็นบริวารประจำทิศ ทั้ง สี่ เรียกว่าศาลจตุโลกเทพ ประกอบด้วย พระเสื้อเมือง,พระทรงเมือง,พระพรหมเมือง,พระบันดาลเมือง
เป็นที่เคารพกราบไหว้บูชา บนบาลศาลกล่าวของชาวเมืองนครฯ และผู้สัญจรผ่านไปมา เพื่อขอพึ่งบารมีมหิทธานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์เทพเทวารักษาเมือง เสมือนศูนย์รวมใจชาวสยาม คุ่กันกับ องค์พระบรมธาตุ

ความโดดเด่นเป็นสง่าของศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
1.ฐานวงกลม เก้าชั้น
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า มนุษย์ทุกรูปทุกนามมีต้นกำเหนิดมาจากดินเมื่อถึงการดับขันธ์ก็จะสลายกลาย เป็นดินจึงกล่าวเตือนสติใว้เสมอว่างมงคลคาถาเก้าประการเท่านั้นจะช่วยให้ มนุษย์ซึ่งเวียนว่ายตายเกิดนี่มีดวงตาที่เห็นธรรม ทั้งเป็นความความบอกเป็นนัยว่า หลักเมืองที่สร้างขึ้นนี้ สถิตอยูในรัชกาลที่ ๙

2.ลวดลายมงคลเล็ก
การสร้างจากความเชื่อที่ว่าทุกคนที่เกิดมาดูโลกไม่ว่าจะยากดีมีจนล้วนแล้วย่อมเป็นทารกที่สะอาดบริสุทธิ์ เสมือนผ้าขาวไม่มีรอยปรนเปื้อน แต่เมื่อเวลาผ่านไปสังคมและสิ่งแวดล้อมมีส่วนทำให้ความสะอาดและบริสุทธิ์ แปรเปลี่ยนไป

3.ลวดลายดอกและใบลำโพง
การสร้างจากความเชื่อที่ว่าเมื่อมนุษย์เติบโตขึ้นมาย่อมถูกครอบงำด้วยกิเลส ตัณหาและสภาพแวดล้อมจะทำให้พฤติกรรมมนุษย์เปลี่ยน เปรียบกับดอกลำโพงพันธุ์ไม้พื้นเมืองที่มีพิษ จะสามารถครอบงำมนุษย์เพิ่มขึ้นตามสภาพแวดล้อมที่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลส

4.ลวดลายเล็บช้างและน่องสิงห์
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า บนเส้นทางความดีและความชั่ว เมื่ออยู่ในวัยเยาวน์พ่อแม่ย่อมเป็นคนอบรมสั่งสอนไม่ให้หันเหไปในทางที่ไม่ดีไม่งาม

5.ลวดลายโดกลำโพง
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า เมื่อเติบโตพ้นจากอกพ่อแม่ แล้วย่อมสามารถแยกแยะสิ่งชั่วดีที่ผ่านมาในชีวิต ซึ่งถ้าปล่อยใจให้เหมือนเสพดอกและใบลำโพง ชีวิตนั้นก็จะหาความสุขไม่ได้

6.ลวดลายขดมงคล
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่รูจักจำแนกผิดชอบชั่วดีและสามรถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยรรู้จักจำแนกแยกแยะ อะไรผิดอะไรถูก

7.ลวดลายน่องสิงห์ (ลายแรก)
การสร้างจากคววามเชื่อที่ว่า สัจธรรมเบื้องต้นที่จำแนกความดีความเลวของมนุษย์เป็นความรู้สึกเบื้องต้นสามารถนึกคิดเองได้ แต่ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ถ้าไม่มีกฤหมายบ้านเมืองบังคับ

8.ลวดลายมงคลรอบเสาร์ประดิษฐ์
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า พระรัตนตรัยอันเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งหลายจะเป็นเครื่องชี้ทางให้มนุษย์มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงพุทธศาสนา

9.ลวดลายบัวคว่ำบัวหงาย
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า องค์จตุคามรามเทพได้รู้แจ้งเห็นจริง ในสัจธรรมของพระพุทธศาสนาหยั่งถึงความดีความชั่วอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ มุ่งให้ชาวศรีวิชัยได้รับแสงแห่งพระรัตนตรัยจึงอุทิศทรัพย์ศฤงทั้งปวงสร้างพระธาตุเพื่อเป็นพุทธบูชา ปราบปรามเหล่าจันฑาล ชั่วชิมิให้ก่อความเดือดร้อนในแผ่นดิน

10.ลวดลายน่องสองห์ (ลายที่สอง)
การสร้างจากความเชื่อที่ว่าความดีความชั่วเป็นสิ่งที่เกิคควบคู่กับมนุษย์ ถึงแม้จะขนบธรรมเนียมประเพณีมาคอยอบรมสั่งสอน แต่ก็ยังมีกกลุ่มทรชน ไม่รู้บาปบุญคุณโทษ องค์ราชันจตุคามรามเทพจะสำแดงเทวอำนาจให้แก่ชาวเมืองให้เป็นไปตามทำนองครองธรรม

11.รูปพรมสี่หน้าใหญ่
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า สัญญาลักษณ์ของเทวดารักษาเมืองผู้รอบรู้สรรพศาสตร์ทั้งหลายและเขาถึงอภิธรรมสูงสุด ประกอบด้วยทิพยญาณหยั่งรู้ไตรโลก คืออดีต ปัจจุบัน อนาคตมีอำนาจเหนือชีวิตมนุษย์ สามารถสำแดงอภินิหารในร่างแปลง ประดุจดั่งพระพรหมสี่หน้า

12.รูปพรหมสี่หน้าเล็ก
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า ประดิษฐ์เป็นสัญลักษณ์ของเทวดารักษาเมืองประจำทิศน้อยทั้งสี่แสดงเป็นนัย ให้ทราบว่าไม่ว่าจะอยู่ทิศไหนไม่สามารถซ่อนเร้นให้พ้รเทวดาฟ้าดินได้

13.เปลวเพลิงยอดพระเกตุ
การสร้างจากความเชื่อที่ว่า เป็นสัญลักษณ์ ของการมีชัยชนะของชาวเมืองนครที่จะมาถึงในวันข้างหน้าบ้านเมืองจะมีแต่ความสงบสุข

บุคคลสำคัญที่จะกล่าวถึงคือ
พลตำรวจเอกสรรเพชญ ธรรมาธิกุล เป็นผู้กำกับการตำรวจภูธร จังหวัดนครศรีธรรมราชสมัยนั้นกล่าวโดยย่อ ประมาณปี 2528 พื้นที่จังหวัดนครศรีธรราราชเกิดปัญหาอิทธิพลอำนาจมืดคุกคามความปลอดภัยในชีวิตประจำของประชานชน นับวันก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ขณะนั้นรัฐบาลภายใต้การนำของฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกสิทธิ์ จิระโรจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้คัดนายตำรวจฝีมือดี เพื่อปราบปรามโจรผู้ร้าย และกลุ่มอิทธิพลต่างๆ เพื่อให้ชาวบ้านอยู่อย่างสงบสุขตำรวจฝีมือดีท่านนี้คือ พลตำรวจเอกสรรเพชญ ธรรมาธิกุล ณ.วัดนางพระยา ตำบลปากนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประมาณปลายปี 2528 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองนครศรีธรรมราช ได้สร้างความอัศจรรย์โดยการประทับทรงบอกกล่าวแก่ พลตำรวจเอกสรรเพชญ ธรรมาธิกุล ต้องการให้สร้างหลักเมือง ทำจากไม้ตะเคียนทองงอกอยู่ทางทิศเหนือของเมืองนครศรีธรรมราช

จากการประทับทรงครั้งที่ 3 จึงได้รู้ว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองนครศรีธรรมราช ที่มาประทับทรงคือ องค์จตุคารามเทพ โดยการวาดรูปชองท่านตามคำบอกเล่าผ่านร่างประทับทรง และให้เอาไปให้พลตำรวจตรีขุนพันธ์ รักษ์ราชเดช ดู ท่านจึงบอกว่ารูปนี้คือรูปของ องค์จตุคามรามเทพ ซึ่งเป็นภาพประจำเมืองนครศรีธรรมราช มาแต่โบราณเป็นพันปีแล้ว รูปของท่านได้จำหลักไว้ที่พระบรมธาตุ

อัศจรรย์ หลักเมืองนครศรีธรรมราช

1.ไม้ตะเคียนทองสำหรับแกะสลักหลักเมือง

ป็นต้นไม้จากเขายอดเหลือง ซึ่งอยู่ที่ตำบลกะหรอ อำเภอท่าศาลา(ปัจจุบันอยู่ในเขตท้องที่อำเภอนบพิตำ)มีลักษณะแปลกคือที่บริเวณรอบโคนต้นมีลักษณะเตียนโล่ง ซึ่งเรียกกันว่าลานนกหว้า หรือ ตะเคียนใบกวาดหลังจาดโค่นต้นไม้แล้ว ขณะได้ตัดต้นตะเคียนเหลือยาว สี่เมตร ต้องใช้ช้างลากจูงจากยอดเขา เมื่อชักรากตอนแรกไม้ตะเคียนไม่ยอมขยับเขยื้อน แต่เมื่อคณะตัดฟัน ได้จุดธูปบอกกล่าว ช้างก็สามรถชักรากได้ตามปรกติ

2.ในการประกอบพิธีกรรมเผาดวงชะตาเมือง

ที่ป่าช้าวัดชะเมา เวลาหลังเที่ยงคืน หนึ่งนาที เมื่อปลายปี 2528 ท่ามกลางความมืด มีแต่แสงเทียนประกอบพิธีเท่านั้น ใช้เสียงนกแสกเป็นสัญญาณจุดไฟ ทันที่ที่จุดไฟ ก็มีเสียงโหยหวน ของภูติผีในป่าช้าที่ถูกเรียกให้เป็นพยาน สร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้เข้าร่วมพิธี

3.วันที่ 3 มีนาคม 2530

เป็นวันแห่ศาลหลักเมืองที่แกะสลักและตกแต่งเสร็จแล้วลงเรือศรีวิชัยโบราณจำลอง จากบ้านพักผู้กำกับฯ ไปยังหน้าวิหารหลวง ขณะที่อัญเชิญเสาหลักเมือง ได้เกิดปรากฎการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด ณ .ที่นั้นทันที อย่างน่าอัศจรรย์ จากนั้นได้เกิดฝนตกหนักมากในเขตภูเขาต้นน้ำทางตะวันตกของเมือง เป็นเหตุให้น้ำป่าไหลเกือบล้นฝั่งคลองท่าดี และคลองท่าพรหมโลก วัวควายที่ชาวบ้านล่ามล้มตายหลายตัว ทั้งที่ช่วงนั้นเป็นน่าแล้ง

4.พิธีเบิกเนตรหลักเมือง

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2530 ขณะที่เจ้าพิธีกรรมคือ พลตำรวจตรี ขุนพันธ์ รักษ์ราชเดช กำลังทำพิธีเบิกเนตร ได้ปรากฎกลุ่มควันจางๆ ขึ้น ณ. จุดสัมผัสระหว่าง ดินสอจาร กับดวงเนตรของหลักเมือง

5.ครั้งหนึ่งในระหว่างประทับทรงของเทวดารักษาเมือง

ระหว่างที่มีการประทับทรงครั้งหนึ่ง นายสมจิตร ทองสมัคร ปรารภว่า เกิดภาวะฝนแล้งอย่างหนัก ชาวบ้านเดือดร้อน จะแก้ปัญหาอย่างไรดี ก็ได้รับคำแนะนำว่าให้นำไข่ หนึ่งฟอง ไปปาใส่ภูเขามี่เขาขุนพนมบริเวณที่เรียกว่า หน้าพระ เมื่อปฎิบัติตามคำแนะนำปรากฎว่า ไข่ยังลงไม่ถึงลานวัด ก็มีฝนโปรยลงมา แล้วฝนที่ตกครั้งนั้นตกหนักมาก และตกกระจายทั่วไป สำหรับที่กรุงเทพฯ มีฝนตกหนัก จนผู้ว่ากทม.สมัยนั้นเรียกว่าฝนพันปี นั่นเอง

6.นายยุทธนา โมรากุล หัวหน้าหมวดการทางหัวไทร กล่าวว่า

คืนวันหนึ่ง เมือ สิบสองปีก่อน ขณะที่ตนเองอยู่บ้านพักในแขวงการทางนครฯ กับครอบครัวขณะนั้นตนเองยังเป็นช่างประจำสำนักงานแขวงการทาง ได้มีคนมาตามที่บ้านบอกว่าได้มีการเข้าทรงแถวบริเวณที่ถนนบ่ออ่าง สั่งความให้มาตามตัวเองไปหา เมื่อตนเองเข้าไปก็ได้รับมอบหมายให้ออกแบบอาคารศาลหลักเมืองตอนนั้นตนเองไม่เชื่อ เพราะตนเองไม่เคยทำงานนี้มาก่อน หลังจากได้รับการลงเลขยันต์ที่ฝ่ามือ และได้รับคำแนะนำครั้งแล้วครั้งเล่า ก็ได้มาทำแบบบนกระดานเขียนแบบ เหมือนกับมีผู้มาบอกกล่าวแนะนำอยู่ตลอดเวลา องค์จตุคามรามเทพ หรือที่เรียกกันในหมู่ลูกศิษย์ว่า พ่อ ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อใดที่เขียนแบบออกมาถูกต้องตามโบราณและเขียนจนถึงยอดเสร็จสมบูรณ์แล้ว ฟ้าดินจะรับรู้ปรากฎว่า วันนั้นนั่งเขียนที่โต้ะทำงาน ทันทีที่ตนเขียนเสร็จท้องฟ้าที่เจิดจ้าตามปกติ กลับมืดครึ้มและมีฟ้าผ่าเปรี้ยง อย่างน่าอัศจรรย์ อีกครั้งหนึ่งเมื่อ คราวขุดดินบริเวณสร้างศาลปัจจุบันเพื่อลงฐานราก พบเจดีย์เก่าทรงกลม และเมื่อขุดได้ลึกกว่าสองเมตรก็พบชั้นหินปะการัง ปรากฎว่าน้ำใต้ดินทะลักขึ้นมา ทำให้ไม่สามารถทำงานต่อได้ ครั้นเมื่อปรึกษา พ่อ ก็ได้รับคำแนะนำเทคนิคพิเศษจนสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จทุกครั้ง และเมื่อทันที่ทำงานเสร็จสมบูรณ์ ก็จะเกิดปรากฎการณ์พระอาทิตย์ทรงกลดอันหมายถึงการรับรู้ของฟ้าดิน

7. เมื่อมีการประกอบพิธีกรรมใดฯ

เมื่อมีการประกอบพิธีกรรมใดๆ เกี่ยวกับศาลหลักเมือง มักจะเกิดฝนพรำๆ และฝนตกตามมาทุกครั้ง แม้กระทั่งพิธีไหว้ครู ซึ่งกระทำทุกปีในวันพฤหัสบดีแรกของเดือน หก หลังเสร็จพิธีมักจะมีฝนตกทุกครั้ง


ที่มา : http://p.moohin.com/jatukam/

ไม่มีความคิดเห็น: