วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

พระเครื่องเบญจภาคี ชุด พระผงสุพรรณ

พระผงสุพรรณ
วัดพระศรีมหาธาตุ เป็นต้นกำเนิดของพระเครื่องหนึ่งใน เบญจภาคี อันลือลั่นนั้นตั้งอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอารามเก่าแก่ปรากฏพระปรางค์ องค์ประธานตั้งโดดเด่นเป็นสง่า พระอารามแห่งนี้ถูกทอดทิ้งรกร้างอยู่เป็นเวลานานประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๖ มีชาวจีนเข้าไปหักร้างถางพงทำสวนผักในบริเวณวัด และทำการขุดองค์พระปรางค์ประธาน พบแก้วแหวนเงินทองสมัยโบราณเป็นจำนวนมาก จนข่าวกรุแตกกระจายไป ลุงเจิม อร่ามเรือง นักขุดพระชื่อดังในสมัยนั้นได้ดำเนินการขุดต่อ พบพระผงสุพรรณ พระกำแพงศอก พระมเหศวร พระสุพรรณยอดโถ พระสุพรรณหลังผาน ตลอดจนพระเนื้อชินต่างๆ รวมทั้งแผ่นจารึกลานทองหลายแผ่นซึ่งลุงเจิมได้ทำการหลอมขายจนหม


ข่าวการลักลอบขุดกรุทราบถึงคณะกรรมการเมืองพระยาสุทรบุรี (อี้ กรรณสูต) เจ้าเมืองสุพรรณบุรี เห็นว่าปล่อยทิ้งไว้ราษฎรคงจะแห่กันไปสร้างความเสียหายต่อสมบัติของชาติ จึงได้เชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงสนพระทัยทางโบราณคดี และกำลังค้นหาที่ตั้งของเจดีย์ยุทธหัตถีในเขตเมืองสุพรรณบุรีอยู่ เป็นองค์ประธานเปิดกรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. ๒๔๕๖
ซึ่งเรื่องราวของการเปิดกรุเป็นทางการในครั้งนั้น ปรากฏในพระนิพนธ์ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งกล่าวถึงการค้นพบเจดีย์ยุทธหัตถีของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว และการถวายพระผงพสุพรรณ พระกำแพงศอก และพระพิมพ์ต่างๆ แด่พระองค์ดังความว่า........เมื่อทรงสักการบูชาพระเจดีย์แล้ว (พระเจดีย์ยุทธหัตถี) พระยาสุนทรสงคราม (อี้ กรรณสูต บรรดาศักดิ์ก่อนเป็นพระยาสุนทรบุรี) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี นำสิ่งของโบราณต่างๆทูลเกล้าถวาย สิ่งของซึ่งพบที่ดอนเจดีย์เมื่อฉาบดินและแผ้วถางทางรับเสด็จคราวนี้ คือยอดธงชัย เป็นรูปวชิระทำด้วยทองสัมฤทธิ์ยอด ๑...นอกจากสิ่งของที่ได้ที่ดอนเจดีย์ พระยาสุทรสงครามได้นำพระเครื่องซึ่งพบในกรุที่วัดพระธาตุในเมืองสุพรรณบุรี เมื่อจวนจะเสด็จคราวนี้ ทูลเกล้าถวายเป็นพระพุทธลีลาหล่อพิมพ์ด้วยโลหะธาตุอย่างหนึ่ง พระพุทธรูปมารวิชัย พิมพ์ด้วยดินเผาอย่างหนึ่ง อย่างละหลายร้อยองค์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานแจกแก้เสือป่า ลูกเสือ ทหารและตำรวจ บรรดาที่โดยเสด็จครั้งนี้โดยทั่วกัน...
ในการเปิดกรุครั้งนี้ ได้พบพระพิมพ์ต่างๆเป็นจำนวนมากและได้พบแผ่นจารึกลานทองภาษขอม ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแปลไว้ กล่าวถึงการสถาปนาพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ โดยกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา และได้รับการปฏิสังขรณ์โดยพระราชโอรสซึ่งมีข้อความคล้ายคลึงกับแผ่นลานทอง ซึ่พบที่ยอดนพศูลองค์พระปรางค์ซึ่งแปลโดยนายฉ่ำ ทองคำวรรณ

พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่ พระผงสุพรรณพิมพ์หน้ากลาง
พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี นับเป็นพระเครื่องเลื่องชื่อ ถูกบรรจุอยู่ในชุด เบญจภาคี แม้จะเป็นเนื้อดินเผาแต่สาเหตุที่เรียกว่า ผงสุพรรณ ก็เนื่องจากการค้นพบจารึกลานทอง กล่าวถึงการสร้างจากผงว่านเกสรดอกไม้อันศักดิ์สิทธิ์ จึงได้รับการเรียกขานกันว่า ผงสุพรรณ เรื่อยมา โดยสามรถจำแนกออกได้เป็น ๓ พิมพ์ ได้แก่
๑. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่
๒. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง
๓. พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม


พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าหนุ่ม



ที่มา : http://angsila.cs.buu.ac.th/~it471452/phrathai/page2-2.html

ไม่มีความคิดเห็น: