ความ เชื่อและศรัทธา เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกชาติทุกภาษา มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ฉะนั้นจึงปรากฎว่า มีรูปลักษณ์เครื่องรางต่าง ๆ อยู่คู่กับมนุษย์มา ทุกยุคทุกสมัย เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นเครื่องบำรุงขวัญ และกำลังใจ บางครั้งคนที่อยู่ในที่คับขัน อยู่ในระหว่างอันตราย เมื่อนึกถึงสิ่งที่ตนศรัทธา และยึดมั่น เป็นที่พึง ก็ทำให้มีสติมีความมุ่งมั่น ที่จะต่อสู้ฝ่าฟัน ให้พ้นอุปสรรค และอันตราย และด้วยกำลังใจที่เกิดขึ้น ทำให้บรรลุถึงความสำเร็จ ด้วยเหตุนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนอยู่ในสมัยใด จึงชอบที่จะมีเครื่องรางไว้สำหรับตัว |
![]() |
ครั้น เมื่อมนุษย์มีศาสนาเป็นเครื่องนำทางชีวิต ความเชื่อและศรัทธา ที่มีอยู่แต่เดิม ก็พัฒนาเป็นสัญลักษณ์ มีรูปแบบที่เป็นศิลปะมากขึ้น กล่าวเฉพาะ ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ต่างนิยม ไปบูชายังสถานที่ พระพุทธองค์ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ได้พากันไปปีละมาก ๆ บรรดาพุทธศาสนิกชน ที่ไปยังสังเวชนียสถานดังกล่าว ก็ชอบหาสิ่งที่เป็นปูชนียวัตถุ นำกลับไปบูชา ที่บ้านเมืองของตน พวกชาวเมือง ที่อยู่ในเจดียสถานนั้น ๆ จึงได้คิดทำพระพิมพ์ขึ้น สำหรับจำหน่าย ในราคาที่ไม่แพง ปรากฎว่า มีผู้นิยมยินดีซื้อหากันทั่วไป การสร้างพระพิมพ์ จึงได้มีแพร่หลายมากขึ้น |
![]() |
ส่วน การสร้างพระพิมพ์ ในประเทศไทยนั้น แต่เดิมไม่มีความประสงค์ จะสร้างเพื่อจำหน่าย เหมือนดังกล่าวข้างต้น พุทธศาสนิกชนคนไทย สร้างพระพิมพ์ขึ้น เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา ให้ถาวร จึงสร้างพระพิมพ์เป็นจำนวนมาก ฝังไว้ในพระเจดีย์ โดยถือว่า เมื่อพระเจดีย์ล้มสลาย หายสูญไปแล้ว ภายหลังมีใครไปขุดพบพระพิมพ์ ที่สร้างไว้ ก็จะได้รู้ว่า พระพุทธศาสนา เคยประดิษฐานในที่นั้น เป็นเหตุให้น้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณสืบต่อไป |
![]() |
ภาย หลังผู้ที่สร้างพระพิมพ์ เป็นผู้ที่บำเพ็ญตบะมีพลังจิต ได้คิดสรรหาวัตถุ ที่เป็นมงคล มาทำพระพิมพ์ และอธิษฐานจิต แผ่พลังให้สถิตอยู่ในพระพิมพ์นั้น ๆ ครั้นเมื่อมีเหตุร้ายต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น เกิดโรคภัยไข้เจ็บ หรือเกิดศึกสงคราม คนทั้งหลายที่นับถือพระพุทธศาสนา ระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นที่พึ่ง ก็หาพระพิมพ์ขนาดเล็ก ติดต้วไว้ ทำให้เกิดขวัญกำลังใจ จึงเกิดศรัทธา เชื่อถือเป็นพระเครื่อง สำหรับคุ้มครองให้พ้นจากภยันตรายต่อมา แม้ไม่ได้มุ่งหวัง ในเรื่องคงกะพันชาตรี แต่พระเครื่องที่สร้างขึ้น เป็นสัญลักษณ์ แทนพระพุทธเจ้า และสร้างจากสิ่งที่เป็นมงคล ผู้ที่เคารพกราบไหว้ และปฏิบัติตามคำสอน ของพระพุทธองค์ ก็ย่อมเกิดสิริมงคล แก่ตนเองเช่นเดียวกัน |
ที่มา : http://angsila.cs.buu.ac.th/~it471452/phrathai/page1.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น