วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ประวัติ เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ผู้สร้างพระสมเด็จฯ ตอนที่ 2

ประวัติ เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ผู้สร้างพระสมเด็จฯ
โดย ตรียัมปวาย

••••••••••••••••••••••••••••
สมณศักดิ์
••••••••••••••••••••••••••••
รูปเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ถ่ายขณะครองสมณศักดิ์ที่พระเทพกวี พัดแฉกทางด้านซ้ายคือ พัดยศตำแหน่ง พระราชาคณะชั้นเทพในสมัยนั้น และพัดด้านขวาคือพัดรองแบบเก่าที่ใช้กัน ในสมัยนั้น มีลักษณะเป็นทรงป้าน และงุ้ม ไปทางด้านหลัง (มิใช่พัดงาสานดังที่บาง ท่านเข้าใจ) สามเณรที่ถือพัดนั้นเข้าใจว่า พระธรรมถาวร"จนฺทโชติ"(ช่วง สิงหเสนี) ศิษย์ซึ่งใกล้ชิดที่สุด รูปนี้เข้าใจว่า ถ่ายที่ บ้านช่างหล่อในราวปี พ.ศ.2402

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ที่ไม่ปรากฏนายศศักดิ์ แม้เรียนรู้พระปริยัติธรรมก็ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญ และไม่ยอมรับเป็น ฐานนานุกรมในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งเป็นพระราชาคณะ ท่านทูลขอตัวเสีย เล่ากันว่า เพราะท่านเกรงว่า จะต้องรับพระราชทานสมณศักดิ์ ท่านจึงมักหลบหนีไปพักแรม ณ ต่างจังหวัดห่างไกลเนื่องๆ (ว่าโดยมากไปธุดงค์) บางทีก็เลยไปถึง ประเทศเขมรก็มี (ดูตอนประวัติการสร้างพระสมเด็จฯ ประกอบ) ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบว่าคุณธรรม ของท่านยิ่งหย่อนเพียงไร จึงทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิตติ เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๙๕ เวลานั้นท่านมีอายุได้ ๖๕ ปีแล้ว แต่จะทรง ตั้งในวันเดือนใดไม่ปรากฏ ปรากฏในหมายรับสั่งรัชกาลที่ ๔ จุลศักราช ๑๒๑๔ (พ.ศ.๒๓๙๕) เล่น ๑๘ ตอนหนึ่งความว่า "...อนึ่ง เพลาเช้า ๓ โมง นายพันตำรวจวังมาสั่งว่า ด้วยพระประสิทธิศุภการรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสั่งว่าทรงพระราช ศรัธาให้ถวายนิตยภัตน์พระธรรมกิตติ วัดระฆังฯ เพิ่มขึ้นไปอีก ๒ บาท เข้ากับเก่าใหม่เป็นเงินเดือนถวายพระธรรมกิตติอีก ๒บาท ตั้งแต่เดือนยี่ ปีชวด จัตวาศก ไปจนทุกเดือนทุกปีอย่าให้ขาดได้....."

ในตอนพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระธรรมกิตติ มีเรื่องเกร็ดเล่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสถามเจ้าพระคุณ สมเด็จฯว่า "เมื่อในรัชกาลที่ ๓ ทำไม่ท่านจึงหนี ไม่ยอมรับยศศักดิ์ ต่อที่นี้ทำไมจึงยอมรับไม่หนีอีก" ท่านถวายพระพรว่า "รัชกาลที่ ๓ ไม่ได้ ทรงเป็นเจ้าฟ้า (คือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้เป็นเจ้าฟ้าลูกยาเธอ เป็นแต่พระองค์เจ้า) เป็นแต่เจ้าแผ่นดินเท่านั้น ท่านจึงพ้น ส่วนมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า เป็นทั้งเจ้าฟ้าและเจ้าแผ่นดินท่านจะหนีไปทางไหนพ้น" เราย่อมทราบได้ว่านี่ไม่ใช่เหตุผล แต่เจ้าพระคุณ สมเด็จฯ ได้ใช้ปฏิภาณตอบเลี่ยงไปในทำนองตลกได้อย่าง งดงามกล่าวกันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระสรวล ไม่ตรัสว่า กระไร (และคงจะเป็นเพราะไม่ทรงทราบว่าจะตรัสว่ากระไรดีกระมัง-ผู้เขียน) แล้วโปรดให้มาครองวัดระฆังฯ (วัดนี้เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรี อยุธยา เดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ขึ้นครองราชย์ ทรงแต่ตั้งสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระพุฒาจารย์ และ พระพิมลธรรม (ไม่ทราบนามทั้ง ๓ องค์) ให้ทรงสมณศักดิ์ตามเดิม (ถูกพระเจ้ากรุงธนฯ ถอด) และให้สมเด็จพระสังฆราช มาครองวัดบางหว้า ใหญ่ ทรงให้รื้อตำหนักทองของพระเจ้ากรุงธนฯ ไปปลูกเป็นกถฏถวายสมเด็จพระสังฆราชและทรงปฏิสังขรณ์ทั่วๆ ไป เสร็จแล้วทรงเปลี่ยน นามวัดว่า วัดระฆังโฆสิตาราม ดังปรากฏสืบมาทุกวันนี้) ครั้นเสร็จพระราชพิธีแล้ว ท่านก็ออกจากพระบรมมหาราชวังข้ามไป วัดระฆังฯ หอบ เครื่องไทยธรรม ถือพัดยศและย่ามมาเอง ใครจะรับก็ไม่ยอมส่งให้ เที่ยวเดินไปรอบวัดร้องบอกกล่าวดังๆว่า "ในหลวงท่านให้ฉันมาเป็น สมภารวัดนี้จ๊ะ" พวกพระเณรและคฤหัสถ์ที่มาคอยรับต่างพากันเดินตามท่านไปเป็นขบวน เมื่อบอกกล่าวเขารอบๆวัดแล้ว ท่านจึงขึ้นกุฏิ (มิใช่เป็นการโอ้อวดหรือปิติยินดี แต่เป็นการแฝงไว้ซึ่งอัจฉริยภาพอันหนึ่งที่มองโลกไปในแง่แห่งความขบขัน คือหนีการแต่งตั้งไม่พ้น-ผู้เขียน) ต่อมาอีก ๒ ปี ถึงปีชวล พ.ศ. ๒๓๙๗ ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระเทพกวีครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) วัดสระเกศมรณภาพ จึงทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เป็นสมเด็จพระพุฒจารย์องค์ที่ ๕ ในกรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวตามลำดับดังนี้ คือ ๑. สมเด็จพระพุฒจารย์ (ไม่ทราบนามเดิม) อยู่วัดอมรินทร์ (ซึ่งครั้งนั้นเรียกว่าวัดบางว้าน้อย) ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์กล่าวว่า ต้องถูกถอดถูกเฆี่ยนด้วยไม่ยอมถวายบังคมพระเจ้ากรุงธนบุรี ถึงรัชกาลที่ ๑ จึงโปรดให้เป็นสมเด็จพระพุฒจารย์ตามเดิม ๒. สมเด็จพระพุฒจารย์ (อยู่) วัดระฆังฯ ๓. สมเด็จพระพุฒจารย์ (เป้า) วัดอินทาราม (เดิมเรียกวัดบางยี่เรือใต้) ๔. สมเด็จพระพุฒจารย์ (สน) วัดสระเกศ (เดิมเรียกวัดสะแก) ๕. สมเด็จพระพุฒจารย์ (โต) วัดระฆัง ฯ

ฯลฯ

เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีชวด จุล. ๑๒๒๖ ตรงกับวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๐๗ มีสำเนาประกาศที่ทรงตั้งดังนี้

คำประกาศ

ศิริศุภมัศดุ พระพุทธศาสนากาล เป็ฯอดีตภาคล่วงแล้ว ๒๔๐๗ พรรษา ปัจจุบันกาล อนุทรสังวรวัจฉรบุษยมาสสุกรปักษ์ นวมี ดิถีครุวาร บริเฉทกาลกำหนด พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ ฯลฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า พระเทพกวีมีพรรษายุกาลประกอบด้วยรัตตัญญูมหาเถรธรรมยั่งยืนมานาน และมีปฏิภาณปรีชาตรีปิฎกกลาโกศล และฉลาด ในโวหารนิพนธ์เทศนาปริวัตรวิธี และทำกิจในสูตรนั้นด้วยดีไม่ย่อหย่อน อุตสาหะสั่งสอนพระภิกษุสามเณรโดยสมควร อนึ่ง ไม่เกียจคร้านในราชกิจบำรุงพระบรมราชศรัทธาฉลองพระเดชพระคุณเวลานั้น สมควรที่จะเป็นอรัญญิกมหาสมณคณิศราจารย์ พระราชาคณะผู้ใหญ่ มีอิสริยศยิ่งกว่าสมณนิกรฝ่ายอรัญวาสี เป็นอธิบดีครุฐานิยพิเศษ ควรสักการบูชาแห่งนานาบริษัท บรรดานับถือพระพุทธศาสนาได้ จึงมีพระบรมราชโองการมาณพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่ง ให้สถาปนาพระเทพกวี ศรีวิสุทธินายก ตรีปิฎกปรีชา มหาคณิศร บวรสังฆราชคามวาสี เลื่อนที่ขึ้นเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปีชา วิสุทธิศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณ ศิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศร สมณนิกรมมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศลวิมลศีลขันธ์ สถิต ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวง มีนิจภัตรราคาเดือนละ ๕ ตำลึง มีฐานานุศักดิ์ควรตั้งฐานานุกรม ได้ ๘ รูป คือ

พระครูปลัด มีนิจภัตรราคาเดือนละ ๑ ตำลึง ๒ บาท
พระครูวินัยธร ๑
พระครูวินัยธรรม ๑
พระครูสัทธาสุนทร ๑
พระครูอมรโฆสิต ๑
พระครูสมุห์ ๑
พระครูใบฎีกา ๑
พระครูธรรมรักชิต ๑

ถึงเดือนยี่ในปีชวดนั้น จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานหิรัญบัตร (มีข้อควรสังเกตอย่างหนึ่ง คือ เดิมสมเด็จพระราชาคณะได้รับพระราชทาน หิรัญบัตรต่อมา เห็นจะเป็นในรัชกาลที่ ๕ จึงเปลี่ยนเป็นพระราชทานสุพรรณบัตร อนึ่งประเพณีทรงตั้งสมณศักดิ์แต่ก่อนเป็นแต่พระราชทาน พัดยศ ส่วนสัญญาบัตรนั้นพระราชทานต่อมาภายหลัง) กล่าวไว้ในหมายรับสั่ง (หมายรับสั่งรัชกาลที่ ๔ จุล. ๑๒๒๖ (พ.ศ. ๒๔๐๗) เล่น ๒๐) ดังนี้

"ด้วยพระศรีสุนทรโวหารรับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสั่งว่า จะได้พระราชทานหิรัญบัตร สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆังโฆสิตาราม ณ วัน ๕ ๙ฯ ๒ เวลาเช้า ๓ โมง อนึ่งให้ราชยานจัดเสลี่ยงงา ๒ เสลี่ยง ไปคอยรับหิรัญบัตร ที่พระที่นั่งสุกไธศวรรย์ ไปลงเรือม่านที่ท่าขุนนางเสลี่ยง ๑ ให้ทันเวลา อนึ่งให้อภิรุมจัดสัปทนใบกั้นหิรัญบัตรที่พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ อันไปส่งที่ท่าเรือให้ทันเวลา อนึ่ง ให้พันพุฒ พันเทพราชจ่ายเลขให้ฝีพายๆ เรือม่านลายส่งหิรัญบัตรให้พอลำ ๑ อย่าให้ขาดได้ตามคำสั่ง"

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ตั้งแต่เป็นพระราชาคณะมา แม้จนเมื่อเป็นสมเด็จพระราชคณะแล้ว ท่านก็ประพฤติแปลกฯ ตามใจของท่านอยู่ อย่างเดิม เรื่องที่ประพฤติแปลกๆ นั้นจะได้ประมวลให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษาในตอนต่อไปข้างหน้านี้
••••••••••••••••••••••••••••
การก่อสร้าง
••••••••••••••••••••••••••••

เรื่องประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ที่เกี่ยวกับการก่อสร้างนั้น ปรากฏว่าท่านได้สร้างถาวรวัตถุไว้หลายแห่งหลายอย่าง และมักจะชอบ สร้างของที่แปลกๆ และโตๆ กล่าวกัว่า เพื่อจะให้สมกับนามของท่านที่ชื่อโตกล่าวเฉพาะปูชนียวัตถุที่สร้าง เป็นอนุสรณ์เนื่องในตัวท่าน คือ สร้างพระนอนใหญ่ที่วัดสะดือ (วัดสะดือ เดิมตั้งอยู่ที่หนึ่งในตำบลท่างาม (ที่เรียกกันว่าวัดสะดือเพราะมีต้นสะดือใหญ่อยู่ในวัดต้นหนึ่ง) เมื่อ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้มาสร้างพระนอนใหญ่ ณ ที่อีกแห่งหนึ่งในตำบลเดียวกันทางด้านตะวันออกไม่ห่างนัก วัดสะดือจึงย้ายมาตั้งที่บริเวณ พระนอนใหญ่นั้น เรียกตามตำนานว่าวัดท่างาม ภายหลังสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาศพระพุทธบาทได้เสด็จขึ้นที่ท่างาม นี้สองครั้ง แต่นั้นมาจึงเรียกท่าหลวงและนามวัดก็เปลี่ยยนเป็น "วัดท่าหลวง" ตามนามเดิมมาจนทุกวันนี้) เหนือท่าเรือพระพุทธบาท จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยาองค์หนึ่ง เป็นที่ระลึกว่าท่านได้เกิดที่นั่น สร้างพระนั่งโต (องค์เดิม) (องค์ที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดให้ สร้างใหม่ เป็นของหลวงดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้า) ที่วัดไชโย จังหวัดอ่างทององค์หนึ่งเป็นที่ระลึกว่าท่านได้สองนั่งที่นั่น และสร้างพระ ยืนใหญ่วัดอินทรวิหาร จังหวัดพระนคร องค์หนึ่งเป็นที่ระลึกว่าท่านสอนยื่นเดินได้ที่นั่น จะพรรณาต่อไปโดยลำดับ

พระนอนใหญ่วัดสะดือ ตามคำบอกเล่าของพระอุปชฌาย์บัตร (พระอุปัชฌาย์บัตรเล่าว่า การก่อสร้างพระนอนใหญ่ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ให้พวกทาสในตำบลไก่จนและในตำบลอื่นๆ บ้างไปทำการก่อสร้าง เมื่อสร้างพระสำเร็จแล้วท่านได้ปล่อยทาสเหล่านั้น ให้พ้นจาก ความเป็นทาส ทุกคน และว่าได้ก่อเตาเผาอิฐกันที่บริเวณหน้าพระนอนใหญ่นี้ เคยมีซากเตาปรากฏอยู่ แต่ได้รื้อไปนานแล้ว) จันทโชติ ว่าเริ่มสร้างเมื่ออายุท่าน (พระอุปัชฌาย์บัตร) ได้ ๕ ขวบ ท่านเกิดปีชวด พ.ศ. ๒๔๐๙ จึงสันนิษฐานว่าเห็นจะสร้างในปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓ เป็นพระก่ออิฐถือปูนยาว ๑ เส้น ๕ วา สูง (จากพื้นถึงพระรัศมี) ๘ วา ฐานยาว ๑ เส้น ๑๐ วา กว้าง ๔ วา สูง๒ ศอก องค์พระโปร่ง เบื้องพระปฤษฎางค์ทำเป็นช่องกว้าง ๒ ศอก สูง ๑ วา ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง (ข้าพเจ้าได้ถามพระอุปชฌาย์บัตรว่า เขาว่าพระนอนใหญ่ นี้ต้องอยู่ กลางแจ้งทำหลังคาไม่ได้ เพราะฟ้าฝ่าจริงหรืออย่างไร ท่านว่าความจริงไม่เป็นเช่นนั้นเดิมพระองค์นี้ประดิษฐานอยู่ภายในศาลาโถง เสาก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกะเบื้องไทย ต่อมาศาลานั้นเก่าชำรุดหักพังลงมาจึงให้รื้อเสียยังมีซากเสาอิฐ ทางบริเวณด้านพระบาทปรากฏอยู่ เมื่อปฏิสังขรณ์ครั้งหลังไม่ได้สร้างศาลาใหม่ พระนอนใหญ่จึงอยู่ กลางแจ้ง) ที่ริมคูวัดด้านิทศตะวันออก หันพระพัตร์ไปทางทิศตะวันตก (ความปรากฏใน จดหมายเหตุเรื่องเสด็จประพาศต้นในรัชกาลที่ ๕ ครั้งที่ ๒ ว่า "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จ และขึ้นเสวยกลางวัน ที่วัดสะดือ ซึ่งในเวลานั้นเรียก "วัดท่างาม" เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๕ (พ.ศ.๒๔๔๙) พระอุปชฌาย์บัตรได้อธิบายว่า สมเด็จ พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาศคราวนั้น ได้เสด็จขึ้นทรงทำอาหารและเสวยที่ตรงบริเวณใต้พระเศียรพระนอนใหญ่นี้) พระนอนใหญ่นี้ตั้งแต่ สร้าง มาเห็นจะยังไม่มีใครปฏิสังขรณ์เลย องค์พระและสิ่งก่อสร้างชำรุดทรุดโทรมมาก ต่อมาถึงปีจอ พ.ศ.๒๔๖๕ พระอุปัชฌาย์บัตร ได้จัดการบูรณะปฏิสังขรณ์จนสำเร็จเรียบร้อย ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ การปฏิสังขรณ์นั้นก็อยู่ค่อนข้างจะประหลาด กล่าวคือ พระอุปัชฌาย์บัตร จันทรโชติ เล่าให้ฟังว่า ท่านลงมือทำเอง อาศัยนายเรือกับภริยา (ไม่ทราบนาม) อยู่ตำบลวังแดง (อยุธยา) เป็นผู้ช่วย ใช้เงินส่วนตัว ของท่านทั้งสิ้น ไม่ได้บอกบุญเรี่ยไรใครเลย เป็นแต่พวกชาวบ้านที่มีใจศรัทธาได้จัดซื้อหาอิฐปูนทรายมาช่วยท่านเท่านั้น ปฏิสังขรณ์อยู่ ๔ ปีจึงสำเร็จ (เมื่อปีฉลู พ.ศ.๒๔๖๘) ว่าสิ้นปูนขาวถึง ๖๕ เกวียน เฉพาะพระเศียรนั้นต้องใช้ปูนขาวถึง ๑๐ เกวียน แต่จะสิ้นเงินเท่าใด ไม่ทราบเพราะได้มาก็ทำไปไม่ได้จดไว้ เมื่อบูรณะปฏิสังขรณ์เสร็จแล้ว ต่มาจะเป็นปีใดจำไม่ได้ ท่านได้จัดการนัดสัตบุรุษมาประชุม นมัสการและปิดทองในกลางเดือน ๑๒ มีประชาชนท้องถิ่นและตำบลใกล้ไกลพากันมานมัสการ และเที่ยวเตร่กันอย่างคับคั่ง และล้นหลาม เลยเป็นงานนักขัตฤกษ์ประจำสืบมาจนทุกวันนี้

พระพุทธรูปใหญ่วัดไชโยวรวิหาร พระนามว่า "พระพุทธพิมพ์" (เจ้าอาวาสวัดไชโย มักมีราชทินนามว่า "มหาพุทธพิมพาภิบาล" และโดยมากเป็นพระครู) พระนามนี้เห็นจะพระราชทานในรัชกาลที่ ๕ ด้วยวัดไชโยเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลนั้นดังจะกล่าวในตอนต่อไป เป็นพระก่ออิฐถือปูนปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๘ วา ๗ นิ้ว สูง ๑๑ วา ๑ศอก ๗ นิ้ว สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ เดิมสร้างประพาศมณฑลอยุธยา เมื่อปีขาลพ.ศ. ๒๔๒๑ เสด็จขึ้นทอดพระเนตรพระโตนี้ มีพระราชดำรัสว่า "พระใหญ่ที่สมเด็จพระพุฒจารย์โต ส้รางนี้ ดูหน้าตารูปร่างไม่งามเลย แลดูที่หน้าวัด ปากเหมือนขรัวโตไม่มีผิด ถือปูนขาวไม่ได้ปิดทองทำนองท่านจะไม่คิดปิดทองจึงได้เจาะท่อน้ำไว้ที่พระ หัตถ์"

ต่อมาเจ้าพระยารัตนบดินทรเดชา (รอด กัลยาณมิตร) ที่สมุหนายก ได้จัดการสร้างวัดไชโยใหม่พร้อมทั้งพระอุโบสถ และวิหารพระโต กล่าวไว้ในหนังสือ "ระยะทางเสด็จประพาศมณฑลอยุธยา" เมื่อปีขาล พ.ศ.๒๔๒๑ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ ว่าดังนี้

"......วัดไชโยนี้ เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร) ที่สมุหนายก มีศรัทธาสร้างใหม่พร้อมทั้งพระอุโบสถและวิหารพระโต แต่เมื่อกระทุ้งรากวิหาร พระพุทธรูปใหญ่ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต สร้าง ทนกระเทื่อนไม่ได้ พังลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสร้างพระโตใหม่เป็นหลวง (ตามแบบอย่างพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับสร้างพระโต วัดกัลยาณมิตร ช่วยเจ้าพระยา นิกรบดินทร์ (โต ต้นสกุลกันยาณมิตร) ผู้เป็นบิดาของเจ้าพระยารัตนบดินทร์มาก่อน) แล้วทรงรับวัดไชโยเป็นพระอารามหลวงแต่นั้นมา

พระยื่นวัดอินทรวิหาร เป็นพระก่ออิฐถือปูนปางอุ้มบาตร์ เรียกกันว่า "หลวงพ่อโต" สร้างในรัชกาลที่ ๔ แต่สร้างได้เพียงครึ่งองค์ สูงเพียงพระนาภี การค้างอยู่ช้านานต่อมาจะเป็นปีใดไม่ปรากฏ พระครูธรรมานุกูล (หลวงปู่ภู) เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร ได้จัดการสร้าง เพิ่มเติม แต่ยังไม่สำเร็จสมบูรณ์ ถึงปีวอก พ.ศ. ๒๔๖๓ พระครูสังฆบริบาล (แดง) เจ้าอาวาสได้ทำการก่อสร้างต่อมา แต่ก็สำเร็จ เรียบร้อยแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น กล่าวไว้ในจารึกดังนี้ (ศิลาจารึกนี้ตั้งอยู่ แถวบริเวณพระโตวัดอินทรวิหาร ด้านทิศตะวันออก)

"ศุภมัสดุพระพุทธศาสนากาลล่วงได้ ๒๔๖๓ ปีจอสัมฤทธิศก พระครสังฆบริบาล (แดง) ได้ลงมือทำการปฏิสังขรณ์เมื่อเดือน ๑๑ ณ วันพฤหัสบดี แรม ๑ ค่ำ ประวัติเดิมของพระครูสังฆบริบาล อุปสมบทที่แขวงตะนาว เมื่ออุปสมบทแล้วได้มาสร้างวัดเจาคั่นบันได ที่จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ แล้วมาเล่าเรียนศึกษาพระธรรมวินัย ณ สำนักวัดบวรนิเวศ ในพระบารมีสมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระยาวชิรญาณโรรส ๕ พรรษา เมื่อเสด็จสิ้นพระชนม์แล้วจึงได้มาทำการปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปองค์โตนี้ พร้อมด้วยเจ้าฟ้า นายกนายิกา ราษฎรจนถึงกาลบัดนี้ สิ้นเงินราได้รายจ่ายไปในการปฏิสังขรณ์เป็นเงินประมาณ ๕ หมื่นบาทเศษ ประวัติเดิมของพระพุทธรูปโตองค์นี้ ซึ่งทมี (พระ) นามว่า พระศรีอริยเมตตรัยนี้ คือสมเด็จพระพุฒาจารย์โตเป็นผู้ก่อสร้างไว้แต่รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรันตโกสินทร์ ได้ครึ่งองค์ สูง ๙ ว่าเศษยังไม่สำเร็จ ไม่ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๓ ท่านพระครูธรรมานุกูล (ท่านอธิการภู) ผู้ชราภาพ ๙๔ พรรษา ๗๐ เศษ ซึ่งยกเป็นกิตติมศักดิ์อยู่ในวัดอินทรวิหาร ได้จัดการปฏิสังขรณ์ต่อมา (แต่ก่อน) แต่ก็ยังไม่เป็นผลสำเร็จ ท่านจึงมอบฉันทะให้พระครูสังฆบริบาลปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ (แต่บางส่วนเช่น พระกร เป็นต้น) ว่าด้วยการปฏิสังขรณ์ เดิมองค์พระรกร้างมีต้นโพธิ์และต้นไทรขึ้นปกคลุม จึงได้ทำการเปลี่ยนแปลงให้ แข็งแรง ส่วนข้างในองค์พระผูกเหล็กเป็นโครง ภายนอกหล่อคอนกรีตด้วยปูนซีเมนต์ เบื้องหลังทำเป็นวิหารหล่อคอนกรีต เป็นพระยืนพิง พระวิหารสูงเป็นชั้นๆ ได้ ๕ ชั้น ถึงพระเกศ ขาดยอดพระเมาลี และมีพระจุฬามณีเจ็ดสถาน เพื่อให้เป็นที่ระลึกและนมัสการแห่งเทพยดา และมนุษย์ทั้งหลายสิ้นกาลนานทุกวันเสมอไปในพระพุทธศาสนา

ขออำนาจแห่งพระศรีรัตนตรัย จงดลบัลดาลให้เจ้าฟ้าเจ้านาย อำมาตย์ คฤหบดี และราษฎรที่เป็นศาสนูปถัมภก ซึ่งตั้งจิตเป็นทายก ทายิกทั้งหลาย จงมีความเจริญสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลชนมายุสุขทุกประการ มีแต่ความเกษมสำราญนิราศภัยในปัจจุบัน และอนาคต ทั่วกันเทอญฯ"

ครั้นถึงปีชวด พ.ศ. ๒๔๖๗ (ความตอนนี้ ปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่อง "ประวัติหลวงพ่อโต" วัดอินทรวิหาร พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐) พระครูอินทรสนาจารย์ (เงิน อินฺทสโร) เมื่อยังเป็นพระครูสังฆรักษย์ย้ายจากวัดปรินายกมาเป็นเจ้าอาวาส วัดอินทรวิหารได้จัดการก่อสร้าง ต่อมา โดยเป็นประธานบอกบุญเรี่ยไรจากประชาชนทั่วไปผู้ช่วยเหลือที่เป็นกำลังสำคัญ ของท่านพระครูอินทรสนาจารย์ ที่ควรกล่าวนาม ให้ปรากฏคือ เจ้าคุณและคุณหญิงปริมาณสินสมรรถพระประสานอักษรกิจ สิบเอกอินทร์ พันธุเสนา และนางพลัด พันธุเสนา พระครูอินทรรสนาจารย์ ทำการก่อสร้างอยู่ ๔ ปีจึงสำเร็จบริบูรณ์ (ไม่ทราบว่าสิ้นเงินเท่าใด) มีงานสมโภชเมื่อวันที่ ๔-๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๑ ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๗๒ ทางจัดได้จัดให้มีงานนมัสการและปิดทอง และจัดเป็นงานประจำปีสืบมา (ตามปรกติมีงาน ในเดือนมกราคม) พระโตนี้สูง ๑๖ วาเศษ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง

นอกจากสร้างพระพุทธรูปใหญ่เป็นอนุสรณ์ดังกล่าวแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยังได้สร้างถาวรวัตถุสถานอื่นๆ อีกหลายอย่าง คือ สร้างกุฎเล็กๆ ไว้ที่วัดอินทรวิหาร ๒ หลัง ทางด้านทิศใต้ ให้โยมผู้หญิงและโยมผู้ชายปั้นด้วยปูนขาวอยู่ในกุฎนั้นด้วย แต่รูปนั้นหักพัง เสียนานแล้ว

สร้างศาลาไว้หลังหนึ่งที่ปากคลองวัดดาวดึงส์ อยู่ในน้ำข้างอูซุงของหลวง กว้างราว ๕ วาเศษ ในศาลานั้นมีอาสน์สองฆ์อยู่ด้านใต้ ที่กลางศาลามีธรรมาส์ ๒ ธรรมมาสน์ศาลานี้อยู่ติดกับบ้านท่านราชพิมลฯ เป็นอุปฏฐาก ท่านไปบิณฑบาตที่ไหนมาแล้วก็ไปแวะฉัน ที่ศาลานี้เนืองๆ ฉันแล้วก็ขึ้นธรรมาสน์เทศน์ มีสัตบุรุษมาฟังกันมาก เมื่อท่านราชพิมลฯถึงแก่กรรมแล้ว ท่านก็เหินห่างไปไม่ใคร่ได้มา ที่ศาลานี้ ครั้นต่อมาท่านไหสร้างศาลาไว้อีกหลังหนึ่งอยู่ในละแวกบ้านลาว(ในรัชกาลที่ ๑ เวียงจันทร์ขึ้นกับไทย ฝ่ายไทยได้นำลาวเชลย มามาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ตำบลนี้ซึ่งเดิมเรียกว่าตำบลไร่พริกให้เป็นที่อยู่ ของพวกเชลย เหล่านั้นสืบมา) ข้างตรอกวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหมมุงด้วยจาก เป็นหอฉันของท่านเหมือนหลังก่อน นายเกือบเป็นอุปัฏฐาก

สร้างวิหาร ๑ หลัง ใกล้ศาลาหลังที่กล่าวมา วิหารนั้นกว้างประมาณ ๓ วา ยาวประมาณ ๕ วาเศษ ฝาผนังก่อด้วยอิฐถือปูน หลังคามุงจาก ในวิหารนั้นก่อพระพุทธรูปด้วยอิฐปูนองค์หนึ่ง หน้าตักกว้าง ๒ ศอก หันพระพักตร์เข้าผนังด้านตะวันออก องค์พระห่างฝาผนัง ๑ ศอก ทางด้านตะวันตกนั้นมีเจดีย์ก่อด้วยอิฐถือปูนองค์หนึ่ง ฐานล่างกว้างประมาณ ๒ ศอก ห่างจากผนังราว ๑ ศอกเศษ วิหารนี้ ท่านควรจะสร้างไว้วัดใดวัดหนึ่งท่านห็ไมาสร้างท่านไปสร้างไว้ในละแวกบ้านซึ่งไม่ควรจะสร้าง ต่อมาทางการ ได้ตัดถนนมาทางสามเสน มาทางวิหาร วิหารก็ถูกรื้อหมด วิหารมีพระพุทธรูปเป็นเจ้าของ พระพุทธรูปก็หันพระพักตร์เข้าผนังเสียดูประหนึ่ง ท่านจะทราบล่วงหน้า ว่าวิหารนี้จะถูกถนนทับ จึงแกล้งสร้างไว้ดูเล่นฉะนั้น

สร้างพระโตนั่งกลางแจ้ง ที่วัดพิตตะเพียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาองค์หนึ่ง และสร้างพระยืนที่วัดกลาง ตำบลคลองข่อย ใต้โพธารามแขวงจังหวัดราชบุรีองค์หนึ่ง ตามที่ได้ฟังมาว่าที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ สร้างพระยืนที่วัดกลางนั้น เดิมเป็นป่ารกมาก ท่านเอาเงินสลึง ชนิดกลมมาแต่ไม่ราบ เป็นอย่างเก่าโปรยเข้าไปในป่านั้น ไม่ช้าป่านั้นก็เตียนโล่งหมด ท่านก็ทำการสร้างได้สะดวก (เข้าใจว่าท่านโปรยเงิน เข้าไปในป่า แล้วจึงมีชาวบ้านมาถางป่าเพื่อค้นหาเงินจึงทำให้ป่าเตียน)

สร้างพระเจดีย์นอน ที่หลังโบสถ์วัดละครทำ ตำบลบ้านช่างหล่อ จังหวัดธนบุรี ๒ องค์ นัยว่ามีผู้ลักลอบทำลายด้วยประสงค์จะ ค้นหาพระสมเด็จฯ คงปรากฏอยู่แต่องค์ทางด้านเหนือ ซึ่งในเวลานี้ชำรุดทรุดโทรมมาก (เมื่อพ.ศ.๒๔๘๑ ที่วัดระฆังฯ มีงานปิดทองรูปหล่อ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ และประกวดพระเจดีย์ทราย นายเปลื้อง แจ่มใส บ้านช่องหล่อได้ก่อพระเจดีย์ทรายนอนองค์หนึ่งเข้าประกวด เขียนป้าย ว่า "พระเจดีย์นี้จำลองแบบอย่างพระเจดีย์นอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ที่วัดละครทำ" กล่าวกันว่า คณะกรรมการตัดสินให้ได้รับรางวัลที่ ๑ ดูเหมือนจะเป็นประเภทขบขัน) จนไม่สามารถจะทราบได้ว่ากว้างยาวเท่าใด มลเหตุที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะสร้างพระเจดีย์นอนนั้น เล่ากัน ว่าเกิดแต่ท่านได้ปรารภว่า ในชั้นเดิมพระเจดีย์ที่สร้างกันนั้นเป็นที่สำหรับบรรจุพระธรรม เช่นคาถาแสดงอริยสัจจ์-เย-ธมฺมา เหตุปฺปภว่า.... ฯลฯ เรียกว่าพระธรรมเจดีย์ (ในหนังสือตำนานพุทธเจดีย์ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงรานุภาพ กล่าวว่า มูลเหตุแห่งธรรมเจดีย์ นั้น ในตำราไม่ได้กล่าวถึงเรื่องตำนาน แต่มีโบราณวัตถุปรากฏเป็นเค้าเงื่อนพอสันนิษฐานมูลเหตุที่เกิดขึ้นว่า คงจะอาศัยพระพุทธบรรหาร ซึ่งทรงแสดงแก่เหล่าเทวา พระสาวก เมื่อก่อนเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน ว่าพระธรรมจะแทนพระองค์ต่อไป ดังนี้ เมื่อล่วงพุทธกาลมาแล้ว ผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาบางพวกอยู่ห่างไกลพระธาตุเจดีย์ และพระบริโภคเจดีย์ที่มีอยู่ในครั้งนั้น จะไปทำการสักการะบูชาได้ด้วยยาก ใคร่จะมีเจดีย์สถานที่บูชาบ้าง จึงมีผู้รู้พระบรมพุทธาธิบายแนะนำให้เขียนพระธรรมลงเป็นตัวอักษรประดิษฐาน ไว้เป็นที่บูชา โดยอ้าง พระพุทธบรรหารที่ตรัสว่า ธรรมจะแทนพระองค์นั้น จึงเกิดมีประเพณีสร้างธรรมเจดีย์ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง) แต่พระเจดีย์ที่สร้างกัน ในสมัยชั้นหลัง ต่อมา ความประสงค์มาแปรเป็นเพื่อบรรจุอัฏฐิธาตุของสกุลวงศ์หรืออุทิศให้ผู้ตาย แม้ได้บรรจุปูชนียวัตถุทำนองในพระศาสนา ไว้ด้วยก็ไม่นับ ว่า เป็นพระเจดีย์ในพุทธศาสนา จัดเป็นอนุสาวรีย์เฉพาะบุคคล การที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ สร้างพระเจดีย์นอนนั้น เป็นปริศนาอันหนึ่ง ซึ่งหมายความว่า ต่อไปเบื้องหน้าจะไม่มีใครสร้างพระธรรมเจดีย์อีกแล้ว (ประวัติเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ตั้งแต่หน้า ๒๑๔ เป็นต้นมาถึงตอนนี้ คัดมาจากต้นฉบับของหนังสือ "ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต" ของท่านมหาเฮง วัดกัลยาณ์ฯ แต่ดัดแปลงเป็นบางตอนเพื่อความเหมาะสม ท่านผู้สนใจโปรดรอคอยฟังกำหนดการพิมพ์จำหน่าย หนังสือที่กล่าวนี้เป็นหนักฐานที่มีค่าควรแก่การศึกษา ได้กล่าวชีวประวัติ ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไว้โดยละเอียด)

ที่มา : http://www.soonphra.com/geji/putachan/index2.html

ไม่มีความคิดเห็น: